banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / ไทลื้อ

ชาติพันธุ์ / ไทลื้อ

Export All

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

ไทลื้อ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

บุญช่วย ศรีสวัสดิ์

Imprint

[พระนคร : ม.ป.พ., 2497]

Collection

Books: DS570.ท9บ72

Annotation

สิบสองปันนา เป็นถิ่นที่อยู่ของชนชาติไทยเผ่าหนึ่ง ซึ่งเรียกตนเองว่า “ไตลื่อ” หรือ “ไตลื้อ” อยู่ตอนใต้สุดของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ซึ่งผู้เขียนได้กล่าวถึงความเป็นอยู่ จารีตประเพณี วัฒนธรรม ศิลปกรรม
การแต่งกาย ภาษา และเรื่องราวอื่น ๆ ของชาวไตลื้อในแคว้นสิบสองปันนาไว้ เพื่อเป็นสมบัติของชาติ และให้นักศึกษารุ่นต่อไปได้ค้นคว้าเกี่ยวกับชนชาติไทยต่อไป

 

อ่านต่อ...
image

Author

รพีพร รักมนุษย์

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

Books: PL4191.ท9ร36 2528

Annotation

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบของการพูด และกฎการพูดของชาวไทยลื้อในหมู่บ้านเชียงบาน ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสังเกต และเข้าไปอยู่ร่วมในชุมชนภาษาไทยลื้อเป็นเวลา 2 เดือน เพื่อสอบถามข้อมูลทางภาษาจากชาวไทยลื้อ และได้บันทึกคำพูดของชาวไทยลื้อจากสถานการณ์การสื่อสารต่าง ๆ ด้วยเครื่องบันทึกเสียง จากการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบของการพูดในสถานการณ์การสื่อสารที่บ้าน โรงเรียน ตลาด และวัด มีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของการพูด 2) กฎการเรียกชื่อ การใช้สรรพนาม และการเลือกใช้แบบของสาร จะต้องให้เหมาะสมกับบุคคล ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามวัย เพศ ฐานะทางสังคม ความสัมพันธ์กับผู้พูด และความสนิทสนมกับผู้พูด อีกทั้งการพูดในแต่ละประเภทของสภาพการณ์การพูดและการโต้ตอบกัน จะต้องให้เหมาะสมกับบุคคล และสภาพแวดล้อมของเหตุการณ์
 

อ่านต่อ...
image

Author

เจริญ มาลาโรจน์

Imprint

กรุงเทพฯ : สาขาวิชาจารึกภาษาไทย ภาควิชาภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2529

Collection

Books: PL4251.L8จ74 2529

Annotation

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องระบบอักษรไทยลื้อ ภาษาไทลื้อและองค์ประกอบทางวรรณกรรม จากวรรณกรรมไทยลื้อเรื่อง คำขับลังกาสิบหัว เนื้อหาวิทยานิพนธ์แบ่งเป็น 6 บท โดยมีผลการวิจัย
คือ ระบบอักษรไทยลื้อ ประกอบด้วยอักษรและอักขรวิธีเป็นแบบเฉพาะตัว ประกอบด้วยอักษรแทนเสียงพยัญชนะ 43 รูป อักษรแทนเสียงสระ 20 รูป อักษรแทนเสียงวรรณยุกต์ 2 รูป เมื่อนำมาประกอบกันเป็นรูปคำจะจัดเรียงอยู่ในบรรทัดเดียวกัน การประกอบรูปคำมีโครงสร้างพื้นฐาน 7 แบบ ภาษาไทยลื้อที่ใช้ในวรรณกรรมเรื่องนี้ส่วนมากจะเป็นคำภาษาไทยมากกว่าจะเป็นคำยืมจากภาษาบาลี – สันสกฤต หรือภาษาเขมร ส่วนใหญ่มักเป็นคำพยางค์เดียว และเป็นคำที่ใช้ร่วมกันระหว่างภาษาไทยราชการของประเทศไทยกัยภาษาไทยลื้อมากกว่าจะเป็นคำเฉพาะภาษาไทยลื้อ

 

อ่านต่อ...
image

Author

ทวี สว่างปัญญางกูร

Imprint

เชียงใหม่ :โครงการล้านนา-สิบสองปันนาศึกษา, 2529

Collection

Books: PL4191.ท55

Annotation

108 คำโบราณไทลื้อ” เล่มนี้ ผู้เขียนได้คัดจากหนังสืออักษรไทลื้อใหม่และอักษรจีน
ชื่อว่า “คำโบราณภาษาไท (ไต)” “ลิ้นซ้อน ต๊าวเวิ้นซ้อโกดภ่าย” และ “ยิ่นน่านมิ่นซู้ซู้ปานเส่อ” โดย มรว. รุจยา อาภากร ผู้อำนวยการโครงการศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำมาจากมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน และมอบให้ผู้เขียนปริวรรตเป็นภาษาไทย ซึ่งหนังสือ “คำโบราณภาษาไท (ไต)” ล้านนาคดีบทความวิชาการองอาจได้รวบรวมภาษิตไทลื้อไว้ หนังสือเล่มนี้จึงเป็นหนังสือที่ทรงคุณค่าอย่างสูง

 

อ่านต่อ...
image

Author

จุฑามาศ สนกนก

Imprint

เชียงใหม่ : ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยพายัพ , 2530

Collection

Books: DS570.ท9จ73 2530

Annotation

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสังคมและวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทลื้อ และศึกษาว่าสังคมและวัฒนธรรมอะไรบ้างที่ชาวไทลื้อยังคงอนุรักษ์ไว้หรือเลิกปฏิบัติแล้ว ตลอดจนศึกษาเหตุผลที่ยังคงอนุรักษ์ไว้หรือเลิกปฏิบัติ รวมทั้งศึกษาถึงประชากรไทลื้อที่มีอายุต่างกัน การศึกษาต่างกัน มีเหตุผลในการอนุรักษ์หรือเลิกปฏิบัติต่างกันหรือไม่ โดยศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างจำนวน 148 คน ในหมู่บ้านแม่สาบ อ.สะเมิง
.เชียงใหม่ ผลการศึกษาวิจัยสรุปดังนี้ เหตุผลที่ทำให้สังคมและวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวไทลื้อเปลี่ยนแปลงไป
คือ สังคมและวัฒนธรรมนั้นไม่เหมาะกับสมัย วัฒนธรรมบางอย่างชาวไทลื้อเลิกปฏิบัติมานานแล้ว จนประชากรที่เป็นกลุ่มตัวอย่างไม่เคยพบเห็นก็มี แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีสังคมและวัฒนธรรมดั้งเดิมบางอย่างที่ชาวไทลื้อยังคงอนุรักษ์ไว้ เหตุผลสำคัญคือ เป็นวัฒนธรรมที่เคยปฏิบัติและศรัทธา เหตุผลรองลงมาคือ ทำตามประเพณี ชาวไทลื้อที่มีอายุต่างกัน ระดับการศึกษาต่างกัน มีเหตุผลในการอนุรักษ์หรือเลิกปฏิบัติตามสังคมและวัฒนธรรมดั้งเดิมแตกต่างกัน


 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ