banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / ไทลื้อ

ชาติพันธุ์ / ไทลื้อ

Export All

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

ไทลื้อ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

วิชุลดา มาตันบุญ

Imprint

กรุงเทพฯ : นันทพันธ์พริ้นติ้ง, [2560-]

Collection

Books: TX355 .ว62 ล.1

Annotation

อาหาร unseen ไตลื้อ เล่ม 1 : น้ำพริก เอาะ หลาม ต้ม และแกง” ถือได้ว่าเป็นผลงานศึกษาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติพันธุ์ไตลื้อที่รวมเอาอาหารหายากเข้าไว้ในหนังสือเล่มนี้ เพื่อให้บุคคลที่สนใจได้ศึกษาหาความรู้ จนสามารถนำไปทดลองปรุงเป็นอาหารรับประทานได้ เพราะวัตถุดิบสำหรับนำมาปรุงอาหารส่วนใหญ่หาง่าย เป็นอาหารและเป็นยาไปในตัว นำเสนอในรูปแบบที่น่าสนใจ คือมีรูปภาพวัตถุดิบสำหรับปรุงอาหารแต่ละชนิดและวิธีการทำอาหารที่เต็มไปด้วยสีสันดูเสมือนของจริง ช่วยให้ผู้อ่านจดจำและเข้าใจพืชผักแต่ละชนิดได้อย่างถูกต้องและตรงตามความเป็นจริง และยังเห็นถึงวัฒนธรรมของชาวไทลื้อในด้านการทำอาหารและการแต่งกายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

 

อ่านต่อ...
image

Author

วรรณะ วิมล

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

ปีที่ 6, ฉบับที่ 68 (ธ.ค. 2560), หน้า 32-35 :ภาพประกอบ

Annotation

บทความนี้ศึกษาถึง “ด้ำ” หรือ โคตรวงศ์ตระกูล พูดให้ง่ายสำหรับคนปัจจุบันก็คือ “นามสกุล”ของเจ้าแผ่นดิน – เจ้าฟ้า – ไท – ไต – ลาว ว่ามีด้ำอะไรบ้าง ? ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว คนไทยคงคิดว่า ชาติพันธุ์ไท เพิ่งมีการใช้ “นามสกุล” ตามอย่างฝรั่งในสมัยรัขกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่จริง ๆ แล้ว คนเผ่าไทรู้จักแยกนามโคตรตระกูลกันมานานแล้ว
 

อ่านต่อ...
image

Author

ผณินทรา ธีรานนท์

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

Books:

Annotation

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเสียงวรรณยุกต์และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการใช้คำศัพท์ในภาษาไทลื้อ จังหวัดเชียงราย จากกลุ่มอายุและความสะดวกของการคมนาคม ผู้วิจัยเก็บข้อมูลภาษาที่อำเภอเชียงของ และอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยแบ่งผู้พูดออกเป็น 6 กลุ่มอายุ ได้แก่ กลุ่มอายุ 1 – 19 ปี กลุ่มอายุ
20 – 29 ปี กลุ่มอายุ 30 – 39 ปี กลุ่มอายุ 40 – 49 ปี กลุ่มอายุ 50 – 59 ปี และกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ส่วนในการคมนาคม ผู้วิจัยเลือก 2 อำเภอ อำเภอเชียงของเป็นพื้นที่ที่มีการคมนาคมไม่สะดวก และอำเภอแม่สายเป็นพื้นที่ที่มีการคมนาคมสะดวก ผู้วิจัยใช้วิธีการทางภาษาศาสตร์ภาษาถิ่น และการนับความถี่ในการวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงศึกษาทัศนคติของผู้พูดภาษาไทลื้อ เพื่อนำมาอธิบายการเปลี่ยนแปลงของภาษาที่กำลังดำเนินอยู่ ผลการวิจัยพบว่า อายุ และความสะดวกของการคมนาคมมีผลต่อการเลือกใช้คำศัพท์และเปลี่ยนแปลงเสียงวรรณยุกต์ ผู้พูดภาษาไทลื้อที่มีอายุน้อยมีแนวโน้มใช้คำศัทพ์ภาษาไทยกลาง ส่วนผู้พูดภาษาไทยลื้อที่มีอายุมากมีแนวโน้มจะใช้ภาษาไทลื้อ และยิ่งความสะดวกของการคมนาคมมีมาก ภาษายิ่งเปลี่ยนแปลงไปมากกว่า นอกจากนั้น ผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าที่ผู้พูดภาษาไทลื้อเชียงของ มีทัศนคติที่ดีต่อภาษาของตนเองทำให้เกิดการอนุรักษ์ภาษาไทลื้อมากกว่าภาษาไทลื้อแม่สาย อีกทั้งงานวิจัยนี้ยังคัดค้านแนวคิดเชิงทฤษฎีภาษาศาสตร์สังคม เนื่องจากพบว่าคำศัพท์ที่เป็นคำศัพท์พื้นฐานสามารถเปลี่ยนแปลงในอัตราที่ช้ากว่าคำศัพท์ที่ไม่ใช่คำศัพท์พื้นฐานได้

 

อ่านต่อ...
image

Author

ศิราพร ณ ถลาง

Imprint

กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2559

Collection

http://lib.sac.or.th/Catalog/BibItem.aspx?BibID=b00090729

Annotation

หนังสือเล่มนี้รวมบทความวิจัย 4 เรื่องที่ศึกษาการแสดงอัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ของชาวไทใหญ่ ไทลื้อ ไทเขิน ในเชียงใหม่และเชียงราย และการแสดงอัตลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายจีนย่านเยาวราชผ่านบริบทของเทศกาลงานประเพณี และผ่านคติชนอีกหลายประเภท เช่น เรื่องเล่า การละเล่นการแสดง อาหาร ผ้าทอ ชุดประจำชาติพันธุ์ ทั้งนี้ บทความทั้ง 4 เรื่องนี้ศึกษาการแสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในบริบทนอกมาตุภูมิ ซึ่งคือประเทศไทย นอกจากนี้ ยังมีบทอภิปรายที่ชี้ให้เห็นบทบาทของชาติพันธุ์ในบริบทการท่องเที่ยวไทยในสื่อไร้พรมแดนในปัจจุบัน
 

อ่านต่อ...
image

Author

ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล

Imprint

เชียงราย : พิพิธภัณฑ์ลื้อลายคำ, 2559

Collection

Books: TT848 .ท424 2559

Annotation

สุริยา วงศ์ชัย มีความฝันอยากทำพิพิธภัณฑ์ผ้าทอไทลื้อ จึงมีแรงบันดาลใจในการสะสมทั้งวัตถุ
และองค์ความรู้เกี่ยวกับสิ่งทอ ตลอดจนทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง จนกระทั่งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้ก่อกำเนิดขึ้นมาจากความรักในถิ่นฐานบ้านเกิด ความภาคภูมิใจในผืนผ้าทออันเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่งดงาม
เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนและให้บุคคลที่สนใจได้มาศึกษา และเป็นการสืบทอดแก่อนุชนรุ่นหลังต่อไป

 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ