banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / ไทลื้อ

ชาติพันธุ์ / ไทลื้อ

Export All

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

ไทลื้อ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

ภัทรสิน ชุปวา

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

book

Annotation

การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของการทอผ้า ตลอดจนเทคนิควิธิการและรูปแบบของผ้าทอไทลื้อบ้านแม่สาบในอดีต ตลอดจนสำรวจภูมิปัญญาช่างทอผ้าไทลื้อที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน เพื่อเสนอรูปแบบและวิธีการจัดการอนุรักษ์ผ้าทอไทลื้อ ชุมชนบ้านแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ผลการศึกษาพบว่า ในชุมชนบ้านแม่สาบ ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ยังคงเหลือช่างทอผ้าไทลื้อ จำนวน 6 คน และเก็บข้อมูลรายละเอียดของการทอผ้าไทลื้อเหล่านั้นไว้ ได้มีการประสานงานและร่วมมือกับโรงเรียนสะเมิงพิทยาคม อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ จัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนในรายวิชากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ปีการศึกษา 2557 และเริ่มทดลองใช้ในโรงเรียนสะเมิงพิทยาคม ทั้งนี้ ได้รับสนับสนุนจากช่างทอผ้าไทลื้อบ้านแม่สาบเป็นครูผู้สอน และประสานขอความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าว เพื่อการอนุรักษ์และสืบสานผ้าทอไทลื้อไว้สืบไป
 

อ่านต่อ...
image

Author

ปุณยนุช ทาอินทร์

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

book

Annotation

การศึกษาเรื่อง การจัดการความรู้ร่วมกันระหว่างเทศบาลตำบลลวงเหนือกับชุมชนไทลื้อ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 4 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาลักษณะอัตลักษณ์ของภูมิปัญญาไทลื้อ
2) เพื่อศึกษาลักษณะของวัฒนธรรมประเพณีไทลื้อที่ส่งผลต่อภูมิปัญญาไทลื้อ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานของเทศบาลตำบลลวงเหนือในการส่งเสริมและสนับสนุนภูมิปัญญาไทลื้อ และ 4) เพื่อศึกษาบทบาทของฝ่ายต่าง ๆ ในการพัฒนาภูมิปัญญาไทลื้อ ตำบลลวงเหนือ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนไทลื้อบ้านลวงเหนือ ซึ่งประกอบด้วยประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนไทลื้อ จำนวนทั้งหมด 22 คน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ พบว่า การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องใช้กระบวนการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ ซึ่งกระบวนการนี้เป็นการประมวลข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ความคิด หรือการกระทำ ตลอดจนประสบการณ์เฉพาะของบุคคล เพื่อสร้างเป็นความรู้หรือนวัตกรรมขึ้นมา แล้วจัดเก็บความรู้หรือนวัตกรรมนั้น ๆ ให้อยู่ในลักษณะของแหล่งข้อมูลที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่าย
เพื่อที่บุคคลเหล่านั้นจะได้นำความรู้ที่มีอยู่นั้นไปประยุกต์ใช้ต่อไป ซึ่งก่อให้เกิดการแบ่งปันและถ่ายโอนความรู้
และในที่สุดความรู้ที่มีอยู่จะแพร่กระจายและเกิดการไหลเวียนของความรู้อย่างกว้างขวาง ภูมิปัญญาไทลื้อบ้านลวงเหนือนั้น มีความเป็นอัตลักษณ์ทางกลุ่มชาติพันธุ์ที่ชัดเจน 4 ลักษณะ ได้แก่ ความรู้และระบบความรู้ การสั่งสมและการกระจายความรู้ การถ่ายทอดความรู้ และการสร้างสรรค์


 

อ่านต่อ...
image

Author

มาริ ซากาโมโต

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

book

Annotation

วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ ระหว่างชาวขมุกับไทลื้อผ่านวัฒนธรรมผ้าทอของไทลื้อ ในเมืองเงิน แขวงไชยะบุรี สปป. ลาว ภายใต้บริบทของความเป็น “เมือง” และ “รัฐชาติ” ผลการศึกษาพบว่า วัฒนธรรมผ้าทอไทลื้อเมืองเงิน
ได้เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในกระบวนการผลิตผ้าทอและการเลือกสรรผ้าทอที่เป็นเครื่องแต่งกาย ในอดีตภายใต้การปกครองแบบ “เมือง” มีการแลกเปลี่ยนสิ่งจำเป็นระหว่างชาวขมุกับไทลื้อ โดยชาวขมุเอาข้าวไร่ ฝ้าย วัสดุการย้อมสีมาแลกกับผ้าทอของไทลื้อและชาวขมุหยิบยืมเครื่องแต่งกายของชาวไทลื้อ เช่น ผ้าซิ่น และเสื้อมาใส่ทั้งในชีวิตประจำวันและในโอกาสพิเศษ แต่ในปัจจุบัน ทั้งชาวขมุและไทลื้อนิยมสวมเสื้อผ้าแบบสมัยใหม่และผ้าซิ่นลาวมากขึ้น จึงเกิดผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ระหว่างชาวขมุกับไทลื้อ โดยเปลี่ยนจากความสัมพันธ์แบบพึ่งพาซึ่งกันและกัน ทั้งในด้านสังคมวัฒนธรรม และเศรษฐกิจ สู่ความสัมพันธ์แบบมุ่งเน้นปัจจัยด้านเศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งนี้พบว่ามีสาเหตุหลักมาจากการกำหนดนโยบายของรัฐในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์พื้นที่แนวชายแดนไทย – ลาวที่ได้รับอิทธิพลจากทุนนิยมและบริโภคนิยมภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ภายใต้การปกครองแบบ “รัฐชาติ” โดยมีสภาพการณ์ดังกล่าว ผ้าทอไทลื้อในปัจจุบันกลายเป็นสิ่งแสดงความหมายเชิงสัญลักษณ์ ซึ่งกลุ่มชนทั้งสอง รวมถึงทางรัฐพยายามช่วงชิงความหมายของผ้าทอไทลื้อเมืองเงิน เพื่อใช้เป็นพื้นที่ทางสังคมในการนำเสนอตัวตนไปตามเงื่อนไข สถานการณ์และผลประโยชน์ กลายเป็นเครื่องมือในการต่อรองอำนาจระหว่างกลุ่มชนหรือระหว่างรัฐกับกลุ่มชน


 

อ่านต่อ...
image

Author

ฐาปนีย์ เครือระยา

Imprint

เชียงใหม่ : สำนักส่งเสริมวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2558

Collection

Books: NA7435.ห7 ฐ63 2558

Annotation

หนังสือเล่มนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลเรือนพื้นถิ่นในแถบจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ และแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นกลุ่มเรือนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สร้างให้สอดคล้องตามภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม ด้วยฝีมือช่างพื้นถิ่นที่มีความเชี่ยวชาญในรูปแบบเรือนของตนเอง เป็นประโยชน์ต่อผู้ศึกษางานสถาปัตยกรรมและผู้ที่สนใจทั่วไป ให้สามารถนำไปต่อยอดการศึกษาความรู้ในบริบทอื่น ๆ ได้ และได้รับความรู้เกี่ยวกับเรือนพื้นถิ่นในภาคเหนือมากยิ่งขึ้น
 

อ่านต่อ...
image

Author

นัทธี เมืองเย็น

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

ไม่ระบุ

Annotation

ารศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านเพื่อรวบรวมการใช้ประโยชน์จากพืชของชาวไทลื้อในหมู่บ้านแม่สาบและไทยวนในหมู่บ้านห้วยคอก ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ โดยสำรวจพืชระหว่างเดือนกันยายน 2553 ถึง เดือนธันวาคม 2554 ในบริเวณหมู่บ้าน พื้นที่เกษตร และพื้นที่ป่ารอบหมู่บ้าน สอบถามผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้สูงอายุและหมอยาสมุนไพรพื้นบ้านเกี่ยวกับชื่อพืชในภาษาท้องถิ่น ประเภทของการใช้ประโยชน์ ส่วนของพืชและวิธีการใช้ประโยชน์ เก็บตัวอย่างพืชเพื่อใช้ระบุชื่อวิทยาศาสตร์จากลักษณะทางสัณฐานวิทยา โดยอ้างอิงจากเอกสารรูปวิธานและเปรียบเทียบกับตัวอย่างพืชในหอพรรณไม้ จากการสำรวจพบพืชที่ใช้ประโยชน์ทั้งหมด 291 ชนิด ใน 100 วงศ์ 278 สกุล เป็นพืชในพื้นที่บ้านแม่สาบ 260 ชนิด และในพื้นที่บ้านห้วยคอก 171 ชนิด โดยมีพื้นที่พบในทั้งสองหมู่บ้าน 147 ชนิด สามารถแบ่งการใช้ประโยชน์ของพืชออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ อาหาร 159 ชนิด เครื่องดื่ม 9 ชนิด สมุนไพร 127 ชนิด พืชที่ใช้สร้างที่อยู่อาศัยและเครื่องมือเครื่องใช้ 27 ชนิด พืชที่ใช้ในพิธีกรรมและความเชื่อ 16 ชนิด พืชเศรษฐกิจ 8 ชนิด และพืชใช้ประโยชน์อื่น ๆ 20 ชนิด ตัวอย่างพืชที่น่าจะมีศักยภาพสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนที่น่าสนใจ คือ สุคนธรส (Passiflora quadrangularis L.) ที่น่าจะพัฒนาให้เป็นพืชเศรษฐกิจเหมือนกับเสาวรส (Passiflora edulis Sims) และผักอีหลืน (Isodon ternifolius Kudo) ที่สามารถนำมาใช้เป็นพืชเครื่องเทศให้กลิ่นหอมได้
 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ