banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / ไทลื้อ

ชาติพันธุ์ / ไทลื้อ

Export All

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

ไทลื้อ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล

Imprint

เชียงใหม่ : ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2551

Collection

Books: TT848.ท425 2551

Annotation

เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนได้ประมวลมาจากประสบการณ์ในการทำวิจัยเรื่อง “ผ้าไทลื้อ : การศึกษาเปรียบเทียบ” กล่าวถึงวัฒนธรรมทการทอผ้าของชาวไทลื้อเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและใช้ในพิธีกรรม เป็นอัตลักษณ์โดดเด่นของชาวไทลื้อมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผืนผ้าทอที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ ส่วนใหญ่มาจากคลังสะสมของผู้เขียนเอง ผ้าทอไทลื้อคือผลงานทางศิลปะอันประณีต และเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ควรได้รับการอนุรักษ์และส่งเสริมสืบต่อไป
 

อ่านต่อ...
image

Author

อิสริยาภรณ์ แสงปัญญา

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

ไม่ระบุ

Annotation

การศึกษาในครั้งนี้มีจุดมุงหมายเพื่อศึกษาวิเคราะหสุภาษิตไทลื้อ ทางดานภาพสะทอนวิถีชีวิต
และการใชภาษาในสุภาษิต โดยวิธีการศึกษาคนควาแบบพรรณนาวิเคราะห ผลการศึกษาวิเคราะหพบวาสุภาษิตไทลื้อไดสะทอนภาพวิถีชีวิตของชาวไทลื้อในดานครอบครัว ดานสังคม ดานอาชีพ ดานจริยธรรม ดานปรัชญา
ดานการศึกษา ดานสุขภาพ ดานประเพณีและความเชื่อ และดานสภาพธรรมชาติซึ่งเปนวิถีชีวิตที่มีความเปนอยูเรียบงาย ผูกพันกับธรรมชาติและความเชื่อที่มีอิทธิพลของคติทางพุทธศาสนาเปนพื้นฐานในการดํารงชีวิต ซึ่งปรากฏใหเห็นในวิถีชีวิตทุกดานที่มุงแนะนําสั่งสอนใหชาวไทลื้อกระทําแตสิ่งที่ดี เลี่ยงการกระทําที่จะกอใหเกิดความไมสงบสุขในสังคม เพื่อความเปนปกแผนมั่นคงของสังคมและเกิดความเจริญรุงเรืองตอไป ดานการใชภาษาในสุภาษิตไทลื้อ พบวาสุภาษิตไทลื้อมีลักษณะการใชภาษา คือ ความยาวของสุภาษิต การใชคําซ้ำ การใชคำสัมผัส การใชคําในการสอน และการใชโวหารภาพพจน ซึ่งการใชภาษาในสุภาษิตไทลื้อดังกลาว ชวยสรางจุดเดนใหสุภาษิตไทลื้อเกิดความไพเราะสามารถเปนที่จดจําไดงาย และยังชวยใหเขาใจถึงความหมายและมองเห็นภาพ รวมทั้งจุดประสงคที่ตองการสั่งสอนหรือเนนย้ำของสุภาษิตไดดียิ่งขึ้น

 

อ่านต่อ...
image

Author

วสันต์ ปัญญาแก้ว

Imprint

กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2549

Collection

Audio Visual Materials SAC 000097

Annotation

บันทึกการบรรยายเรื่อง “การรื้อฟื้นและการสืบสานวัฒนธรรมลื้อยุคใหม่ในสิบสองปันนา”
โดย ดร. วสันต์ ปัญญาแก้ว กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของชาวไทลื้อ ในแคว้นสิบสองปันนา โดยหัวข้อในการบรรยาย
ได้คัดเลือกประเด็นที่สำคัญมาจากวิทยานิพนธ์ของ ดร. วสันต์ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการรื้อฟื้นและการสืบสานวัฒนธรรมลื้อยุคใหม่ในแคว้นสิบสองปันนา นำมาถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เข้าร่วมรับฟังการบรรยายในครั้งนี้

 

อ่านต่อ...
image

Author

บุญยงค์ เกศเทศ

Imprint

กรุงเทพฯ : หลักพิมพ์, 2549

Collection

Books: DS570.ท97บ72 2549

Annotation

ไทแคมของ” ผลงานชาติพันธุ์-ไท ชุดที่ 4 ของบุญยงค์ เกศเทศ เป็นเรื่องราวของชนเผ่าไทที่อยู่ “ริมโขง” หรือ “แคมของ” ไล่เรียงลงมาตั้งแต่ ไทลื้อในสิบสองปันนา จนบรรจบประเทศลาวตอนบน ซึ่งถือเป็นกลุ่มชาติพันธุ์-ไท ที่ใกล้ชิดติดประเทศไทย ที่อย่างน้อยก็มีสิ่งเชื่อมสัมพันธ์เป็นสายน้ำ “โขง” หรือ ลำน้ำ “ของ” อันเดียวกัน ถ่ายทอดด้วยสำนวนภาษา อ่านง่าย ชวนติดตาม พร้อมภาพประกอบสีสวยงามตลอดทั้งเล่ม
 

อ่านต่อ...
image

Author

นพดล ตั้งสกุล

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

ไม่ระบุ

Annotation

การศึกษาในครั้งนี้ ชี้ให้เห็นลักษณะของการจัดระบบทางสังคมบางประการที่ส่งผลต่อรูปแบบและการวางผังพื้นของเรือน เช่น ความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับเรือน การกำหนดพื้นที่ภายในเรือน ประเพณีของชาวไทลื้อในการแยกเรือนและการจัดระบบแรงงานในการปลูกเรือน เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้ยังส่งผลต่อการกำหนดทิศทางของการจัดวางเรือนที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่ตั้งของชุมชน ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน จนถึงระดับเรือน ซึ่งเป็นการสนับสนุนและสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดที่ว่า สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นผลิตผลทางวัฒนธรรมแห่งการอยู่อาศัยของชุมชนที่สอดคล้องกับวิถีของสังคมอย่างแท้จริง
 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ