banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / กะเหรี่ยง-ปกาเกอะญอ

ชาติพันธุ์ / กะเหรี่ยง-ปกาเกอะญอ

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 17 ก.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

            ปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยงสะกอ หรือ กะเหรี่ยงขาว เป็นกลุ่มชาวกะเหรี่ยงที่มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ พื้นที่แถบลุ่มน้ำต่างๆ บริเวณเทือกเขาตะนาวศรี เขตชายแดนไทย-พม่า ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด มีหลักฐานการอยู่อาศัยมานาน เป็นชนเผ่าดั้งเดิมที่อยู่อย่างกระจัดกระจายมานานกว่า 100-200 ปี ชาวปกาเกอะญอโดยทั่วไปมีรูปร่างลักษณะสูงปานกลาง สีผิวของกะเหรี่ยงมีตั้งแต่เหลืองไปจนถึงน้ำตาลคล้ำ รูปใบหน้าค่อนข้างจะแบน จมูกแบน ผมสีดำหยาบ มักเรียกตัวเองว่า ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ
            ในคู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศชุดนี้ ได้รวบรวมบรรณานุกรมหนังสือ บทความ งานวิจัย และวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ และได้คัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอมาจัดทำสาระสังเขป เพื่อเป็นแนวทางให้นักวิชาการเลือกสรรทรัพยากรสารสนเทศในกลุ่มชาติพันธุ์นี้ได้อย่างสะดวกและตรงตามความต้องการมากที่สุด



 

คำสำคัญ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

กวิน ว่องวิกย์การ

Imprint

เชียงใหม่ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545.

Collection

SAC Library-Research and Thesis-NA7115.ก56 2545

Annotation

            การศึกษามิติที่ซ่อนอยู่สำหรับเด็กที่อาศัยอยู่ในบ้าน เป็นทฤษฎีที่สามารถใช้เป็นแนวทางออกแบบบ้านที่เอื้อต่อธรรมชาติของเด็ก และยังคงมิติที่สามารถรองรับกับประโยชน์ใช้สอยของผู้ใหญ่ได้ โดยผู้เขียนได้ทำการศึกษาบ้านของกะเหรี่ยง อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ที่อยู่บริเวณท่ามกลางหุบเขา และลำน้ำแม่สุริน ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติที่สวยงาม เหมาะแก่การประกอบอาชีพทำไร่ ทำสวนทำนาเลี้ยงสัตว์ งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาถึงมิติที่ซ่อนอยู่สำหรับเด็กที่อาศัยอยู่ในบ้าน ทั้งในแง่ของพื้นที่ องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม และองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมที่อยู่ในบริเวณบ้าน ในงานวิจัยนี้ได้กล่าวถึงการเล่น ซึ่งเป็นหัวใจในโลกของเด็ก รวมทั้งยกตัวอย่างสถาปัตยกรรมที่ซ่อนมิติสำหรับเด็ก ได้แก่ หลองข้าวและเหล้าหมู อีกด้วย

อ่านต่อ...
image

Author

ธเนศ ณุวงษ์ศรี

Imprint

เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545.

Collection

SAC Library-Research and Thesis- QH541.14.ธ37 2545

Annotation

            ศึกษาเปรียบเทียบการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของเกษตรกรม้งและกะเหรี่ยงในเขตศูนย์พัฒนา โครงการหลวงอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนศึกษาปัญหาอุปสรรค ความต้องการของเกษตรกร และการวางแผนการทำงานอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ โดยพบว่าการอนุรักษ์ป่าของเกษตรกรม้ง และกะเหรี่ยงมีความแตกต่างกัน และเหมือนกันในบางส่วน เช่น กะเหรี่ยงทำงานอนุรักษ์มากกว่าม้ง อาทิ การป้องกันไฟป่า การรักษาป่า และทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันคือ ม้งจะปลูกพืชระบบเชิงเดี่ยว ส่วนกะเหรี่ยงจะปลูกพืชหมุนเวียนด้วย สำหรับปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือม้งจะมีปัญหาเรื่องการตัดไม้ทำลายป่า ส่วนกะเหรี่ยงพบปัญหาเรื่องไฟป่า และต้องการให้ทางการจัดสรรที่ดินทำกินให้มากขึ้น

อ่านต่อ...
image

Author

อิทธิพล เหมหงษ์

Imprint

เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545.

Collection

SAC Library- Research and Thesis-DS570.ช65อ63 2545

Annotation

            ศึกษาการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเยาวชนชาวเขาที่เข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และบริบททางสังคมของเยาชนเผ่ากะเหรี่ยงที่เข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในเมือง จากกลุ่มเยาวชนกะเหรี่ยงที่อยู่บ้านพักเบ็ธเลเฮมซึ่งอยู่ในบริเวณโบสถ์พระหฤทัย ภายใต้การดูแลของพระสังฆราชบาทหลวงยอแซพ สังวาล ศุระรางค์ มุขนายกมิสซังคาทอลิกเชียงใหม่ และช่วงค่ำศึกษาที่โรงเรียนผู้ใหญ่พระหฤทัย ตั้งอยู่ที่ 225 ถนนเจริญประเทศ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยในช่วง 10-15 ปีที่ผ่านมา กระแสวัฒนธรรมความเชื่อจากภายนอกชุมชนเข้ามาในรูปของ รัฐ ศาสนา การคมนาคม และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้เยาวชนจำนวนมากออกไปทำงานและเรียนข้างนอกชุมชน เยาวชนที่ออกมาอยู่ในเมืองมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตแบบใหม่ ภายใต้บริบทที่เปลี่ยนไป มีเพื่อนใหม่ กติกาใหม่ ความเชื่อแบบใหม่ ภายใต้การควบคุมดูแลของครู บาทหลวง แทนญาติพี่น้อง หรือผู้อาวุโสในหมู่บ้าน ได้รับโอกาสการศึกษาสูงขึ้น มีงานทำ มีรายได้ของตัวเอง มีความพยายามพูดภาษาไทยให้คล่อง เรียนรู้มารยาทแบบไทย เพื่อให้หางานทำง่ายได้ขึ้น

อ่านต่อ...
image

Author

วินัย บุญลือ

Imprint

เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545.

Collection

SAC Library-Research and Thesis-DS570.ก6ว63 2545

Annotation

            การศึกษาครั้งนี้ได้ประยุกต์ใช้มโนทัศน์ “ทุนทางวัฒนธรรม” ของนักวิชาการที่ชื่อ ปิแอร์ บูร์ ดิเยอ เพื่อสืบค้นถึงกระบวนการสะสมทุนเชิงสัญลักษณ์ผ่านปฏิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของปกาเกอะญอ โดยมองผ่านกิจกรรมการผลิตทางวัฒนธรรมของผู้นำชาวบ้าน เหล่านักวิชาการ และหน่วยงานภาคเอกชนต่าง ๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตทางวัฒนธรรมของชาวปกาเกอะญอ ระยะเวลาในการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ยุคด้วยกัน ได้แก่ ยุคชุมชนชาวป่า ยุคชุมชนชาวเขา และยุคชุมชนปกาเกอะญอ โดยได้ศึกษากระบวนการปรับเปลี่ยนทุนทางวัฒนธรรมและองค์ประกอบทรัพยากรทางวัฒนธรรมของชุมชนปกาเกอะญอให้เป็นเครื่องมือของอำนาจเชิงสัญลักษณ์ เพื่อท้าทายวาทกรรมของรัฐเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญาท้องถิ่น มาสู่เวทีการต่อสู้ทางการเมืองเรื่องอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ผู้เขียนได้ทำการศึกษาจากบ้านหนองเต่าในเขตอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีประชากร 90 หลังคาเรือน กว่า 500 คน

อ่านต่อ...
image

Author

ภาวดี กลับฉิ่ง

Imprint

นครปฐม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, 2545.

Collection

SAC Library-Research and Thesis-DS570.ก6ภ65 2545

Annotation

            ชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทยที่มักอยู่ในพื้นที่ระหว่างหุบเขา และไม่ห่างไกลจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ทำให้ชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงมีน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคตลอดปี แต่การนำน้ำมาใช้จะอยู่ในลักษณะของประปาภูเขา คือ นำน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำลำคลอง ห้วย หนอง คลอง บึง มาใช้โดยตรง ซึ่งน้ำที่ได้จากแห่งน้ำธรรมชาตินี้มีสารแขวนลอย จุลินทรีย์ และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ละลายน้ำได้ ดังนั้นเมื่อนำมาบริโภคเป็นเวลายาวนาน จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและเป็นอันตรายถึงชีวิต โดยผู้วิจัยจึงมุ่งศึกษาระดับการมีส่วนร่วมและระดับความรู้ ที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมของคนไทยภูเขาเผ่ากระเหรี่ยงในการปรับปรุงคุณภาพน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคจากน้ำประปาภูเขา ในพื้นที่บ้านห้วยจะกือ และบ้านห้วยไม้ห้าง ตำบลด่านแม่ละเมา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ