banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / กะเหรี่ยง-ปกาเกอะญอ

ชาติพันธุ์ / กะเหรี่ยง-ปกาเกอะญอ

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 17 ก.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

            ปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยงสะกอ หรือ กะเหรี่ยงขาว เป็นกลุ่มชาวกะเหรี่ยงที่มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ พื้นที่แถบลุ่มน้ำต่างๆ บริเวณเทือกเขาตะนาวศรี เขตชายแดนไทย-พม่า ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด มีหลักฐานการอยู่อาศัยมานาน เป็นชนเผ่าดั้งเดิมที่อยู่อย่างกระจัดกระจายมานานกว่า 100-200 ปี ชาวปกาเกอะญอโดยทั่วไปมีรูปร่างลักษณะสูงปานกลาง สีผิวของกะเหรี่ยงมีตั้งแต่เหลืองไปจนถึงน้ำตาลคล้ำ รูปใบหน้าค่อนข้างจะแบน จมูกแบน ผมสีดำหยาบ มักเรียกตัวเองว่า ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ
            ในคู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศชุดนี้ ได้รวบรวมบรรณานุกรมหนังสือ บทความ งานวิจัย และวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ และได้คัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอมาจัดทำสาระสังเขป เพื่อเป็นแนวทางให้นักวิชาการเลือกสรรทรัพยากรสารสนเทศในกลุ่มชาติพันธุ์นี้ได้อย่างสะดวกและตรงตามความต้องการมากที่สุด



 

คำสำคัญ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

สถาบันวิจัยชาวเขา

Imprint

เชียงใหม่: สถาบันวิจัยชาวเขา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541

Collection

SAC Library-Books-DS570.ช62ว72 2541

Annotation

            หนังสือเล่มนี้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับคตินิยมประเพณีและความเชื่อของชนเผ่าต่าง ๆ 11 เผ่า จากประสบการณ์การทำงานในพื้นที่ชาวเขาโดยตรงของคณะนักวิจัยสถาบันวิจัยชาวเขา ทั้งในเรื่องบุคคลสำคัญในชุมชน กลุ่มเครือญาติ กลุ่มในชุมชน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในหมู่บ้าน มารยาทต่าง ๆ ภูมิปัญญาชาวบ้าน การมีส่วนร่วมของของประชากร ข้อห้ามที่สำคัญ ตลอดจนข้อนิยม เป็นข้อมูลพื้นฐานที่เป็นคู่มือที่มีประโยชน์ต่อผู้ทำงานเกี่ยวกับชาวเขาในการเรียนรู้และทำความเข้าใจถึงวัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิตที่มีความหลากหลายของชาวเขาอย่างแท้จริง

อ่านต่อ...
image

Author

สมเกียรติ จำลอง และจันทบูรณ์ สุทธิ

Imprint

กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม, 2539

Collection

SAC Library-Book-DS570.ช62ว64

Annotation

            กะเหรี่ยงโปว์ในเขตพื้นที่ทั้งสามจังหวัดได้รับเอาวัฒนธรรมจากมอญในเรื่องตัวอักษรและอักขระวิธีมาประยุกต์ใช้เป็นภาษาเขียนของตน รับเอาพุทธศาสนามาเป็นอีกด้านหนึ่งของความเชื่อ รวมทั้งระบบการลำดับวัน เดือน ปี หรือการใช้ปฏิทินเข้ามาใช้ในวัฒนธรรมของตน การมีวัน เดือน ปีของกะเหรี่ยงโปว์จึงเอื้อประโยชน์ในการนำโครงการต่าง ๆ เข้าไปพัฒนา เพื่อจะได้เลือกช่วงเวลาให้สอดคล้องกับวันหยุดและก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุก ๆ ฝ่าย และกะเหรี่ยงมีกิจกรรมทางสังคม ทางเศรษฐกิจเกือบตลอดทั้งปี ซึ่งจะเห็นได้จากการใช้แรงงานในรอบปีเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 เดือน และวันหยุดตามจารีตประเพณีในรอบปี รายงานการวิจัยนี้เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับการใช้วัน เดือน ปี ในชีวิตประจำวัน ตามคติความเชื่อของกะเหรี่ยงโปว์ในบริเวณจังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี และสุพรรณบุรี เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ได้นำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนดำเนินงานพัฒนา ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวเขา

อ่านต่อ...
image

Author

ชูพินิจ เกษมณี

Imprint

กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์, 2539

Collection

SAC Library-Pamphlet-จุลสาร01035

Annotation

            กะเหรี่ยงมีการจัดการทรัพยากรดิน-น้ำ-ป่า มาเป็นเวลายาวนาน ชาวบ้านจึงดำรงอยู่ยังชีพและดูแลธรรมชาติอย่างสมดุล เกื้อกูลกัน ชาวบ้านใช้ระบบความเชื่อเป็นกฎหมายควบคุมการจัดการทรัพยากร ดังนั้น พื้นที่ป่าในระบบความคิดของชาวบ้านจึงมีระดับในการใช้ประโยชน์ พื้นที่ป่าบางแห่งถูกห้ามใช้เพราะมีเทพสถิตอยู่ บางแห่งใช้เก็บของป่า หาอาหารได้ โดยที่ชาวบ้านทั้งในระดับปัจเจก และระดับชุมชนมีหน้าที่รับผิดชอบร่วมกัน ความสัมพันธ์ดังกล่าวทำให้กะเหรี่ยงดำรงตนมาได้ยาวนาน มีป่าที่อุดมสมบูรณ์เขียวชอุ่มล้อมรอบหมู่บ้าน แต่การแทรกแซงจากอำนาจส่วนกลาง ทำให้การจัดการทรัพยากรของชาวบ้านมีการปรับเปลี่ยน เพราะถูกมองว่าผิดกฎหมาย มีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับชาวบ้านเปลี่ยนแปลงไป โดยผู้เขียนเน้นศึกษาในเรื่องศักยภาพในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยเฉพาะการจัดการทรัพยากรดิน-น้ำ-ป่า โดยที่มีมโนทัศน์ที่สำคัญ 3 ประการ คือ กลุ่มชาติพันธุ์ ภูมิปัญญา และทรัพยากร ซึ่งทั้ง 3 มโนทัศน์มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน

อ่านต่อ...
image

Author

สามารถ สิริเวชพันธุ์

Imprint

เชียงใหม่ : ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏเชียงใหม่, 2537

Collection

SAC Library-Books-NA7435.ส26ร61

Annotation

            ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นงานที่แผ่ขยายไปในวงกว้าง การตื่นตัวในเรื่องการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมได้เข้ามามีบทบาทช่วยส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าในการอนุรักษ์มรดกท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น ลักษณะงานพื้นบ้านจึงอยู่ได้อย่างต่อเนื่องจากรุ่นก่อนมาจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังมีความสำคัญควรค่าแก่การอนุรักษ์ หนังสือเล่มนี้จึงได้ศึกษาวิวัฒนาการและขั้นตอนการพัฒนารูปแบบต่าง ๆ ของเรือนทั้งแบบชนบท และแบบในเมืองจากในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน การเปรียบเทียบคำเรียกชื่อและความหมายของเรือน ความเชื่อด้านโหราศาสตร์ในการปลูกเรือน รวมไปถึงประเพณีการกินอยู่หลับนอน และความแตกต่างระหว่างสังคมชนบทในกลุ่มชนเผ่า ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนชาวเขากับชาวพื้นราบ โดยได้ศึกษาเรือนชนบทชาวเขาที่มีการตั้งชุมชนแบบโบราณ หรือหมู่บ้านเก่าแก่ ของชาวลัวะ กะเหรี่ยง ไทยใหญ่ และคนไทยเมือง ท้องที่อำเภอแม่สะเรียง แม่ลาน้อย ขุนยวม ในเขตอำเภอแม่ฮ่องสอน และบางท้องที่ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่
 

อ่านต่อ...
image

Author

กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม. กรมประชาสงเคราะห์. สถาบันวิจัยชาวเขา

Imprint

เชียงใหม่: สถาบัน, 2537

Collection

SAC Library-Books-HQ242.57 .ว62 2537

Annotation

            การศึกษานี้มุ่งเน้นประเด็นปัญหาการค้าประเวณีที่มีสาเหตุจากภายในชุมชนหรือหมู่บ้านชาวเขา โดยการรวบรวมประเด็นสาระสำคัญจากข้อมูลเชิงประจักษ์ในบริบทที่เกี่ยวข้องกับการค้าประเวณีของสตรีชาวเขาในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา และแม่ฮ่องสอน ทั้งนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์การค้าประเวณีในกลุ่มสตรีชาวเขา ได้แก่ ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่สร้างแรงกดดันต่อวิถีชีวิตการดำรงชีวิตของชาวเขาซึ่งได้แก่ พื้นที่ทำกิน การศึกษา ครอบครัว และยาเสพติด ปัจจัยภายในชุมชน หรือสังคมชาวเขา และสุดท้ายปัจจัยจากสังคมภายนอกคือ การรับรู้ข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับการค้าประเวณีทั้งด้านบวกและด้านลบ ซึ่งสตรีชาวเขาตอบสนองข้อมูลเหล่านี้ โดยให้เป็นทางเลือกหนึ่งในการหางานที่มีรายได้ตอบแทน
 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ