banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / กะเหรี่ยง-ปกาเกอะญอ

ชาติพันธุ์ / กะเหรี่ยง-ปกาเกอะญอ

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 17 ก.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

            ปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยงสะกอ หรือ กะเหรี่ยงขาว เป็นกลุ่มชาวกะเหรี่ยงที่มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ พื้นที่แถบลุ่มน้ำต่างๆ บริเวณเทือกเขาตะนาวศรี เขตชายแดนไทย-พม่า ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด มีหลักฐานการอยู่อาศัยมานาน เป็นชนเผ่าดั้งเดิมที่อยู่อย่างกระจัดกระจายมานานกว่า 100-200 ปี ชาวปกาเกอะญอโดยทั่วไปมีรูปร่างลักษณะสูงปานกลาง สีผิวของกะเหรี่ยงมีตั้งแต่เหลืองไปจนถึงน้ำตาลคล้ำ รูปใบหน้าค่อนข้างจะแบน จมูกแบน ผมสีดำหยาบ มักเรียกตัวเองว่า ปกาเกอะญอ จกอ คานยอ
            ในคู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศชุดนี้ ได้รวบรวมบรรณานุกรมหนังสือ บทความ งานวิจัย และวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ และได้คัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอมาจัดทำสาระสังเขป เพื่อเป็นแนวทางให้นักวิชาการเลือกสรรทรัพยากรสารสนเทศในกลุ่มชาติพันธุ์นี้ได้อย่างสะดวกและตรงตามความต้องการมากที่สุด



 

คำสำคัญ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

วินัย ศิริเสรีวรรณ

Imprint

นครปฐม : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2529

Collection

วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับพิเศษ 40 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร 2529, หน้า 87-96

Annotation

            กะเหรี่ยงเป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่มีชีวิตและนิสัยการทำมาหากินคล้ายคนไทยโบราณทั่วไป และเมื่อสังเกตจากลักษณะภายนอกแล้วจะพบว่ากะเหรี่ยงมีความคล้ายคลึงกับคนไทยมากกว่าชาวเขาเผ่าอื่น กะเหรี่ยงมีชื่อเรียกหลายอย่าง พม่าจะเรียกว่ากะเรนหรือกะวิน ไทยตอนเหนือเรียกว่ายาง ไทยทางใต้ลงมาเรียกว่ากะเหรี่ยง ส่วนชาวกะเหรี่ยงเรียกตนเองว่ายางหรือปะกะ ส่วนคำว่ากะเหรี่ยง-กะหร่าง ก็ไม่ใช่คำอุทานเล่นสนุก ๆ เท่านั้น เพราะมีชาวเขาเผ่ากะหร่างอยู่จริง แต่ต่างกับพวกกะเหรี่ยงในหลายประการ โดยในบทความนี้มีการกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างชาวกะเหรี่ยงกับกะหร่าง และมุ่งเน้นเสนอภาพชาวกะเหรี่ยงในจิตกรรมไทย ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการเขียนภาพกะเหรี่ยงเอาไว้จำนวนมาก ทั้งยังอธิบายถึงลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับกะเหรี่ยงในไทยที่มีการบันทึกไว้ โดยเรื่องเก่าที่สุดที่บันทึกไว้อย่างละเอียดคือเรื่องโคลงนิราศสุพรรณของสุนทรภู่
 

อ่านต่อ...
image

Author

Ken Manson

Imprint

Arizona : Arizona State University, 2011

Collection

Journal of the Southeast Asian Linguistic Society. (May. 2011)

Annotation

            บทความนี้เป็นการศึกษาถึงวิธีการออกเสียงและการพัฒนาการออกเสียงของภาษากะเหรี่ยงกลุ่มต่างๆ เพื่อนำมาแบ่งภาษากะเหรี่ยงออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ตามความใกล้ชิดกัน โดยภาษากะเหรี่ยงสามารถแบ่งย่อยได้เป็น 4 กลุ่ม คือ 1. peripheral ประกอบด้วย Pa’O  และPwo แสดงถึงเสียงหยุดก่อนเริ่มต้นคล้ายการสำลัก  2. Northern ประกอบด้วย Kayan Lahta, Yinbaw และYintale มีการรวมกันของเสียงสุดท้ายที่ขึ้นจมูกและการรวมกันของเสียงพยางค์สุดท้ายกับเสียงของสระเสียงยาว 3. Central ประกอบด้วย Kayah Bwe และGeba มีเสียงสระสูงกว่ากลุ่มอื่น และ 4. Southern ประกอบด้วย Sgaw Luce’s Paku Palaychi และDermuha มีการรวมกันของเสียงสุดท้ายที่ขึ้นจมูก ซึ่งที่กล่าวมาจะเน้นศึกษาเกี่ยวกับการแบ่งกลุ่มภาษากะเหรี่ยงตามวิธีการออกเสียง
 

อ่านต่อ...
image

Author

Jian Chun, Chai Podhisita

Imprint

Nakhonpathom : Mahidol University, 2008

Collection

Journal of Population and Social Studies. Vol 17 No 1 (July-December. 2008), p.115-134

Annotation

            เน้นศึกษาการเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรีโดยการทำแบบสำรวจทางสถิติเก็บข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543-2547 แล้วนำมาวิเคราะห์ให้เห็นถึงความแตกต่างของการเข้าถึงการบริการทางด้านสุขภาพระหว่างประชากร 3 กลุ่มคือคนไทย กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกิดในไทย และกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพมาจากต่างประเทศ โดยพบปัจจัยหลักที่ส่งผลกับการเข้ารับบริการด้านสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพมาจากต่างประเทศคือเรื่องของการที่มีสถานพยาบาลที่สามารถเดินทางไปได้อย่างสะดวก นอกจากนี้ยังพบปัจจัยอื่น ๆ เช่นความสามารถในการใช้ภาไทย หรือการนับถือสาสนาพุทธก็เป็นปัจจัยเสริมในเรื่องการเข้ารับบริการด้านสุขภาพเช่นกัน ทั้งนี้หากมีแก้ไขให้ทุกคนได้รับปัจจัยเหล่านี้ใกล้เคียงกันแล้วนั้น ประชากรทุกคนจะสามารถเข้าถึงและได้รับบริการทางด้านสุขภาพอย่างเท่ากัน

อ่านต่อ...
image

Author

Platz, Roland

Imprint

Singapore : Cambridge University Press, 2003

Collection

Journal of Southeast Asian Studies. vol 34, no. 3 (Oct. 2003), p.437-790

Annotation

            บทความนี้ศึกษาการกำหนดอัตลักษณ์ทางศาสนา และความเป็นชาติพันธุ์ของชุมชนกะเหรี่ยงสะกอว์ ในเขตพื้นที่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เฉพาะในเขตอำเภอแม่แจ่ม และอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ศึกษาข้อมูลช่วงปี 1999-2000 ในหมู่บ้านกะเหรี่ยงพุทธ กะเหรี่ยงคริสต์ รวมทั้งหมู่บ้านที่มีการนับถือมากกว่า 2 ศาสนา โดยอิทธิพลจากพื้นฐานทางศาสนา ความพยายามเผยแผ่ศาสนาพุทธ และคริสต์ในชุมชนกะเหรี่ยงสะกอว์นั้นมีผลต่อทัศนคติ และการผสมผสานระหว่างอัตลักษณ์ทางศาสนากับอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ว่ามีการผสมกลมกลืนหรือขัดแย้งกันในหมู่ชนที่นับถือศาสนาต่างกัน และได้เปรียบเทียบระหว่างกะเหรี่ยงสะกอว์บนพื้นฐานทัศนคติ และความสัมพันธ์ ที่มีความเชื่อตามการนับถือศาสนาต่างกันใน 3 ประเด็นหลัก คือ เครือข่ายทางสังคม นวัตกรรมทางเศรษฐกิจและการตระหนักถึงระบบนิเวศน์วิทยา และเครือข่ายศาสนาในสังคมเมือง
 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ