banner image

Subject Guide

Home / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / อาข่า

ชาติพันธุ์ / อาข่า

Export All

image author

รวบรวมโดย : จรรยา ยุทธพลนาวี

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

สุชาดา ลิมป์

Imprint

-

Collection

สารคดี. ปีที่ 35, ฉบับที่ 414 (ส.ค. 2562), หน้า 134-135 : ภาพประกอบ

Annotation

สถาบันวิจัยชาวเขาร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ได้จัดแสดงพิพิธภัณฑ์บ้านชาวเขา เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้สัมผัสกับรูปแบบที่อยู่อาศัยของชาวเขาที่มีถิ่นฐานอยู่บนดอยสูงจำนวน 10 กลุ่ม ได้แก่ กระเหรี่ยง ม้ง เมี่ยน ลีซู ลาหู่ อาข่า ลัวะ ถิ่น ขมุ และมลาบรี ในบทความนี้ผู้เขียนให้ความสนใจในหมู่บ้านอาข่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประตูหมู่บ้านที่เรียกว่า “ลกข่อ” ซึ่งถือเป็นประตูศักดิ์สิทธิ์ของชาวอาข่าที่สร้างอยู่ทางด้านหน้าและด้านหลังของหมู่บ้าน เพื่อคุ้มครองปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายหรือสิ่งลี้ลับจากป่าไม่ให้เข้ามาในหมู่บ้านได้ ประตูศักดิ์สิทธิ์นี้ประดับด้วยของที่เป็นมงคลหลายอย่าง เช่น ตุ๊กตาแกะสลักชาย-หญิง  ไม้แกะสลักรูปนก หอก ดาบ และเฉลวซึ่งเป็นไม่ไผ่สานที่เชื่อว่าจะป้องกันภูติผีไม่ให้เข้าหมู่บ้าน ประตูหมูบ้านนี้ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่หากใครละเมิดหรือลบหลู่ ชาวบ้านจะต้องทำพิธีเลี้ยงผีที่ประตูเพื่อขอขมาต่อลกข่อนั่นเอง 

อ่านต่อ...
image

Author

วาสนา เพิ่มสมบูรณ์

Imprint

-

Collection

สารคดี. ปีที่ 32, ฉบับที่ 381 (พ.ย. 2559), หน้า 90-99 : ภาพประกอบ ISSN 08571538

Annotation

ผู้เขียนบทความถ่ายถอดเรื่องราววิถีชีวิตและวัฒนธรรมอาหารของชาวอาข่า ผ่านเรื่องเล่าซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ได้สัมผัสจากหมู่บ้านอาข่าในจังหวัดเชียงราย ชาวอาข่าแต่ละหมู่บ้านจะให้ความสคัญกับป่าซึ่งเป็นแหล่งอาหารหลักของผู้คนในหมู่บ้าน ในการเข้าป่าแต่ละครั้งผู้ชายจะมีหน้าที่เตรียมอุปกรณ์สำหรับเก็บของป่า ตกปลา หรือล่าสัตว์ ส่วนผู้หญิงก็มีหน้าที่จัดเตรียมเสบียงและอุปกรณ์ปรุงอาหารเพื่อทำกินในป่าระหว่างการเดินทาง นอกจากจะเข้าป่าเพื่อหาพืชผัก สัตว์น้ำ และสัตว์ป่าเพื่อนำกลับมาประกอบเป็นอาหารแล้ว ในการเดินป่าแต่ละครั้ง ชาวอาข่าที่มีความรู้ด้านยาสมุนไพร ก็จะเก็บพืชสมุนไพรเพื่อนำกลับออกมาใช้ประโยชน์ในด้านการรักษาโรคอีกด้วย การเดินเข้าไปหาของป่าของชาวอาข่าจึงเทียบได้กับการเดินซุป เปอร์มาเก็ตของคนเมืองนั่นเอง 

อ่านต่อ...
image

Author

กฤติพงศ์ จูเปาะ

Imprint

-

Collection

วารสารผู้ไถ่. ปีที่ 36, ฉบับที่ 99 (ก.ย./ธ.ค. 2558), หน้า 69-71 : ภาพประกอบ

Annotation

ข้าวเป็นหนึ่งในพืชพันธุ์ธัญญาหารที่ชาวอาข่าปลูกเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน ในการทำไร่นั้นชาวอาข่าจะบุกเบิกพื้นที่ป่าและใช้เพื่อเพาะปลูกเพียงหนึ่งหรือสองปี จากนั้นก็จะย้ายไปบุกเบิกพื้นที่ป่าแห่งใหม่ การทำไร่แบบนี้เรียกว่า “ไร่หมุนเวียน” ภูมิปัญญาการทำไร่ของชาวอาข่ามีด้วยกัน 2 รูปแบบ ได้แก่ การทำไร่แบบญ้านะ คือการบุกเบิกพื้นที่ทำไร่ด้วยการตัดโค่นต้นไม้และเผา อีกรูปแบบหนึ่งคือการทำไร่แบบญ้าเพ่อ คือการใช้พื้นที่ที่ผ่านการเพาะปลูกมาแล้วหนึ่งปีเพื่อทำไร่ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง นอกจากขั้นตอนในการทำไร่แล้ว ชาวอาข่ายังประกอบพิธีกรรมต่างๆ ควบคู่ไประหว่างที่รอผลผลิตตามความเชื่อดั้งเดิม เช่น พิธีโล้ชิงช้า พิธีเชิดชูผู้นำทางวัฒนธรรม พิธีแบ่งปันผลผลิตให้แก่ผู้นำพิธีกรรม พิธีกินข้าวใหม่ และพิธี “หมี่ จ่า คือ หมี เลอ-เออ” ซึ่งเป็นพิธีขออโหสิกรรมกับสิ่งมีชีวิตและเจ้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการทำไร่ตลอดทั้งปีที่ผ่านมา 

อ่านต่อ...
image

Author

ไพโรจน์ คงทวีศักดิ์

Imprint

เชียงใหม่ : ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2558

Collection

Books (7th floor) DS570.อ6พ94 2558

Annotation

าข่าเร่ขาย หมายถึง นบนพื้นที่สูงกลุ่มอาข่า ที่เดินเร่ขายสินค้าในเมืองเชียงใหม่ โดยเฉพาะบริเวณตลาดไนท์บาซ่า ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม การพัฒนาเศรษฐกิจ และค่านิยมของสังคมสมัยใหม่ ชี้นำให้เกิดความต้องการเงินสดในหมู่ชนบนพื้นที่สูงมากขึ้น จึงเกิดการหลั่งไหลเข้าสู่ตลาดแรงงานในเมืองและธุรกิจท่องเที่ยวที่ต้องการหาประโยชน์จากความแตกต่างทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ แม้ว่าบ่อยครั้งพวกเขาจะถูกปฏิบัติอย่างไรไมตรี ทั้งจากผู้ค้าที่มีกิจการร้านค้าอยู่ในบริเวณนั้น และจากนักท่องเที่ยวบางส่วนที่รู้สึกรำคาญกับการเสนอขายสินค้าของพวกเขา แต่ชาวอาข่าที่มีเพียงร่างกายและอัตลักษณ์ทางชาตพันธุ์เป็นทุนก็ถือได้ว่าเป็นเพียงลุ่มเดียวที่ยังคงเดินเร่ขายสินค้าในบริเวณนั้ โดยสวมใส่ชุดชาติพันธุ์และเดินเร่ขายสินค้าไปตามริมทาง 

อ่านต่อ...
image

Author

ทีวีไทย

Imprint

นครปฐม : สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556

Collection

Audio Visual Materials :CDF 000404

Annotation

สารคดีชุดอ่าข่านี้ประกอบไปด้วยเนื้อหาทั้งหมด 5 ตอน ได้แก่ โลกของอ่าข่า อ่าข่าในมายาคติ โล้ชิงช้า อ่าข่าย้อง และอ่าข่าในเมืองเชียงใหม่ เนื้อหาในแต่ละตอนสะท้อนให้เห็นแง่มุมอันหลากหลายของชาวอ่าข่าที่น่าสนใจ ทั้งความคิด ความเชื่อ และวิถีการดำเนินชีวิต ผ่านประเพณีและพิธีกรรมภายใต้เครื่องแต่งกายหลากสีสัน ชาวอ่าข่ามีถิ่นที่อยู่กระจายไปตามภูเขาสูงในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ลาว เวียดนาม พม่า และไทย โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงรายและจังหวัดอื่นๆทางตอนเหนือของประเทศ ท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของผู้คน ไม่เพียงเฉพาะคนเมืองเท่านั้นแต่ชาวอ่าข่าที่อยู่บนยอดดอยสูงก็ได้รับผลกระทบจนทำให้มีค่านิยมและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปเช่นกัน 

อ่านต่อ...

Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre Library

20 Baromaratchachonnani Rd, Taling Chan, Bangkok 10170

Tel. +662-880-9429 Ext. 3702 - 4 Fax. +662-434-6254 E-mail. library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @SAC-library หรือคลิ๊กเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library

SAC Library (8th Floor)

Mon-Fri : 8:30 am – 4:30 pm

Saturday: 9:00 am – 4:00 pm

SukKaiChai Library

Mon-Fri : 8:00 am – 18:00 pm

Saturday: 8:00 am – 17:00 pm

The library will be closed on public holidays and on the dates announced by the government.