banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / อาข่า

ชาติพันธุ์ / อาข่า

Export All

image author

รวบรวมโดย : จรรยา ยุทธพลนาวี

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

          กลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่าในประเทศไทยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ทีมีภาษาพูด ความเชื่อ วิถีชีวิต ที่มีอัตลักษณ์เป็นของตนเอง อาศัยอยู่กระจายอยู่ในพื้นที่ 7 จังหวัดทางภาคเหนือของไทย ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง แพร่ ตาก และเพชรบูรณ์ อาศัยอยู่มากที่สุดในจังหวัดเชียงราย กลุ่มอ่าข่าที่เข้ามาประเทศไทยเป็นกลุ่มแรก เข้ามาอยู่ที่ดอยตุง และบ้านดอยแสนใจ อำเภอแม่ฟ้าหลวง กลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่ามีอัตลักษณ์ของตนเอง ทั้งด้านวิถีชีวิต การประกอบอาชีพ ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม อาหาร การแต่งกาย ภาษา ที่สืบทอดต่อ ๆ กันผ่านเทศกาลและพิธีกรรมของชาติพันธุ์อ่าข่าที่เกิดขึ้นตามระบบความเชื่ออันศักดิ์สิทธ์ เกี่ยวข้องกับชีวิตและการทำมาหากิน
         มีชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่าอยู่หลายชื่อ เช่น ประเทศจีนเรียกว่าฮาหนี่ หรือไอ่หนี่ฉุ ที่ประเทศลาวเรียกว่า ก้อ ส่วนที่ประเทศพม่าและเวียดนามเรียกว่า อ่าข่า ส่วนประเทศไทยในอดีตนั้นเรียกอีก้อ แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเรียกอ่าข่าแล้ว แต่ก็ยังมีคนเรียกอีก้ออยู่ 
         คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่าในครั้งนี้ จะให้ความสำคัญกับรายการทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่าในเหนือของประเทศไทย  รวมทั้งสังคมวัฒนธรรม วิถีชีวิต และประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่า

 


อ้างอิงจาก 
ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย. "กลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่า"  เข้าถึงได้จาก https://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups/99

 

คำสำคัญ

แหล่งข้อมูล

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศ กลุ่มชาติพันธุ์โส้ ประกอบด้วยแหล่งข้อมูล ดังนี้ หนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษ (Book), บทความในหนังสือ (Book Chapter), บทความในวารสาร (Articles), สื่อโสตทัศน์ (Multimedia), ฐานข้อมูล (Database)

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

ไพโรจน์ คงทวีศักดิ์

Imprint

เชียงใหม่ : ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2558

Collection

Books (7th floor) DS570.อ6พ94 2558

Annotation

าข่าเร่ขาย หมายถึง นบนพื้นที่สูงกลุ่มอาข่า ที่เดินเร่ขายสินค้าในเมืองเชียงใหม่ โดยเฉพาะบริเวณตลาดไนท์บาซ่า ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม การพัฒนาเศรษฐกิจ และค่านิยมของสังคมสมัยใหม่ ชี้นำให้เกิดความต้องการเงินสดในหมู่ชนบนพื้นที่สูงมากขึ้น จึงเกิดการหลั่งไหลเข้าสู่ตลาดแรงงานในเมืองและธุรกิจท่องเที่ยวที่ต้องการหาประโยชน์จากความแตกต่างทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ แม้ว่าบ่อยครั้งพวกเขาจะถูกปฏิบัติอย่างไรไมตรี ทั้งจากผู้ค้าที่มีกิจการร้านค้าอยู่ในบริเวณนั้น และจากนักท่องเที่ยวบางส่วนที่รู้สึกรำคาญกับการเสนอขายสินค้าของพวกเขา แต่ชาวอาข่าที่มีเพียงร่างกายและอัตลักษณ์ทางชาตพันธุ์เป็นทุนก็ถือได้ว่าเป็นเพียงลุ่มเดียวที่ยังคงเดินเร่ขายสินค้าในบริเวณนั้ โดยสวมใส่ชุดชาติพันธุ์และเดินเร่ขายสินค้าไปตามริมทาง 

อ่านต่อ...
image

Author

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

Imprint

กรม, 2555

Collection

Books (7th floor) DS570.อ6 ส73 2555

Annotation

หนังสือ “อีก้อ” เป็นหนึ่งในหนังสือชุด “องค์ความรู้เกี่ยวกับชาวเขา” ที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการเห็นว่าเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ จึงได้ตั้งโครงการขึ้นเพื่อค้นหา รวบรวม ประมวลผล และวิเคราะห์จากงานวิจัยต่างๆ จนได้ตีพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือทั้งหมด 9 เล่ม ในส่วนของเล่มนี้เป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับชาวเขาเผ่าอีก้อ โดยแยกเนื้อหาออกเป็น 2 เรื่อง ได้แก่ สภาพทางสังคมวัฒนธรรม ซึ่งแสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในหมู่บ้าน ข้อห้าม ข้อนิยมต่างๆที่สำคัญ และเรื่องที่สองคือ คุณค่าทางวัฒนธรรมและธรรมเนียมปฏิบัติของชาวอีก้อในด้านการประกอบพิธีกรรม ความเชื่อ และการละเล่นต่างๆ 

อ่านต่อ...
image

Author

ไพฑูรย์ พรหมวิจิตร และ อันยา โพธิวัฒน์

Imprint

เชียงใหม่ : เนรพูสีไทย, 2554

Collection

Books (7th floor) ML410.จ46พ93 2554

Annotation

คำว่า “มิดะ” เกิดขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2493 จากหนังสือชื่อ 30 ชาติในเชียงราย โดยบุญช่วย ศรีสวัสดิ์ นักมานุษยวิทยาที่ศึกษากลุ่มชาติพันธุ์อาข่าในขณะนั้น ต่อมาศิลปินเพลงชาวเหนือ จรัล มโนเพ็ชร ได้แต่งเพลงชื่อ “มิดะ” มีเนื้อหากล่าวถึงหญิงสาวผู้เป็นครูสอนเพศศึกษาให้แก่เด็กหนุ่มชาวอาข่า และมีการกล่าวถึง “ลานสาวกอด” ซึ่งเป็นที่เข้าใจในหมู่คนทั่วไปว่าคือสถานที่พลอดรักของหนุ่มสาวชาวอาข่า อย่างไรก็ดี เรื่องราวของ “มิดะ” และ “ลานสาวกอด” ยังเป็นที่ถกเถียงระหว่างกลุ่มชาวอาข่ารุ่นใหม่และกลุ่มเพื่อศิลปิน จรัล มโนเพ็ชร รวมทั้งนักวิชาการ ว่าบุคคลและสถานที่นี้มีอยู่จริงหรือไม่ หนังสือเล่มนี้ไม่เพียงแต่ตีพิมพ์ขึ้นเพื่อรำลึกถึงศิลปินผู้ล่วงลับ แต่ยังถ่ายทอดเรื่องราวของ “มิดะ” และ “ลานสาวกอด” ในมุมมองของศิลปินผู้มีจินตนาการอีกด้วย 

อ่านต่อ...
image

Author

ศรีสุวรรณ วรบุตร

Imprint

เชียงใหม่ : ศูนย์สตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2552

Collection

Books (7th floor) RA644.A25ศ456 2552

Annotation

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์อาข่าพื้นที่เมืองสิงและเมืองลอง แขวงหลวงน้ำทา ประเทศลาว เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงอำนาจทางชาติพันธุ์กับเพศวิถีและการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อีกทั้งยังมีจุดประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้และนำเสนอต่อสาธารณชน โดยเน้นย้ำในประเด็นเพศวิถี เนื่องจากโรคเอดส์เป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับเพศวิถี และเพศภาวะที่สังคมสร้างขึ้น ผ่านกระบวนการขัดเกลาของสถาบันสังคม เช่น วัฒนธรรม ศาสนา เศรษฐกิจ และการเมือง โดยมีการวิเคราะห์นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศลาว ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ รวมทั้งวัฒนธรรมทางเพศของชาวอาข่าที่ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ  

อ่านต่อ...
image

Author

มูลนิธิกระจกเงา. โครงการพิพิธภัณฑ์ชาวเขาออนไลน

Imprint

เชียงราย : มูลนิธิกระจกเงา, 2549

Collection

Books (7th floor) GN495.6.ก47 2549

Annotation

หนังสือนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดการเรียนรู้กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ซึ่งประกอบไปด้วยวีดิโอซีดีจำนวน 1 แผ่น และหนังสือคู่มือการดำเนินกิจกรรมประกอบการเรียนรู้ 1 ฉบับ สำหรับเป็นแนวทางแก่ครูผู้สอนเรื่องกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียน โดยมีกิจกรรมสร้างเสริมมนุษยสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างกระบวนการยอมรับและเข้าใจสถานการณ์ปัญหาของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ปรากฎให้เห็นในสังคม เนื้อหาภายในชุดการเรียนรู้นี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ 4 กลุ่ม ได้แก่ อาข่า ลาหู่ เมี่ยน และปกาเกอะญอ นอกจากนี้คณะผู้จัดทำยังได้รวบรวมข้อมูลสถิติทางประชากร วัฒนธรรมประเพณี และแนวคิดวิเคราะห์สภาพปัญหา ตลอดทั้งปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อเปิดมุมมองที่กว้างขึ้นให้แก่ครูผู้สอนและผู้ที่สนใจโดยทั่วไป 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ