banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / อาข่า

ชาติพันธุ์ / อาข่า

Export All

image author

รวบรวมโดย : จรรยา ยุทธพลนาวี

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

          กลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่าในประเทศไทยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ทีมีภาษาพูด ความเชื่อ วิถีชีวิต ที่มีอัตลักษณ์เป็นของตนเอง อาศัยอยู่กระจายอยู่ในพื้นที่ 7 จังหวัดทางภาคเหนือของไทย ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง แพร่ ตาก และเพชรบูรณ์ อาศัยอยู่มากที่สุดในจังหวัดเชียงราย กลุ่มอ่าข่าที่เข้ามาประเทศไทยเป็นกลุ่มแรก เข้ามาอยู่ที่ดอยตุง และบ้านดอยแสนใจ อำเภอแม่ฟ้าหลวง กลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่ามีอัตลักษณ์ของตนเอง ทั้งด้านวิถีชีวิต การประกอบอาชีพ ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม อาหาร การแต่งกาย ภาษา ที่สืบทอดต่อ ๆ กันผ่านเทศกาลและพิธีกรรมของชาติพันธุ์อ่าข่าที่เกิดขึ้นตามระบบความเชื่ออันศักดิ์สิทธ์ เกี่ยวข้องกับชีวิตและการทำมาหากิน
         มีชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่าอยู่หลายชื่อ เช่น ประเทศจีนเรียกว่าฮาหนี่ หรือไอ่หนี่ฉุ ที่ประเทศลาวเรียกว่า ก้อ ส่วนที่ประเทศพม่าและเวียดนามเรียกว่า อ่าข่า ส่วนประเทศไทยในอดีตนั้นเรียกอีก้อ แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเรียกอ่าข่าแล้ว แต่ก็ยังมีคนเรียกอีก้ออยู่ 
         คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่าในครั้งนี้ จะให้ความสำคัญกับรายการทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่าในเหนือของประเทศไทย  รวมทั้งสังคมวัฒนธรรม วิถีชีวิต และประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่า

 


อ้างอิงจาก 
ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย. "กลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่า"  เข้าถึงได้จาก https://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups/99

 

คำสำคัญ

แหล่งข้อมูล

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศ กลุ่มชาติพันธุ์โส้ ประกอบด้วยแหล่งข้อมูล ดังนี้ หนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษ (Book), บทความในหนังสือ (Book Chapter), บทความในวารสาร (Articles), สื่อโสตทัศน์ (Multimedia), ฐานข้อมูล (Database)

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

ทีวีไทย

Imprint

นครปฐม : สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล, 2556

Collection

Audio Visual Materials :CDF 000404

Annotation

สารคดีชุดอ่าข่านี้ประกอบไปด้วยเนื้อหาทั้งหมด 5 ตอน ได้แก่ โลกของอ่าข่า อ่าข่าในมายาคติ โล้ชิงช้า อ่าข่าย้อง และอ่าข่าในเมืองเชียงใหม่ เนื้อหาในแต่ละตอนสะท้อนให้เห็นแง่มุมอันหลากหลายของชาวอ่าข่าที่น่าสนใจ ทั้งความคิด ความเชื่อ และวิถีการดำเนินชีวิต ผ่านประเพณีและพิธีกรรมภายใต้เครื่องแต่งกายหลากสีสัน ชาวอ่าข่ามีถิ่นที่อยู่กระจายไปตามภูเขาสูงในมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ลาว เวียดนาม พม่า และไทย โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงรายและจังหวัดอื่นๆทางตอนเหนือของประเทศ ท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของผู้คน ไม่เพียงเฉพาะคนเมืองเท่านั้นแต่ชาวอ่าข่าที่อยู่บนยอดดอยสูงก็ได้รับผลกระทบจนทำให้มีค่านิยมและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปเช่นกัน 

อ่านต่อ...
image

Author

จะคะแต และ คารีน่า

Imprint

กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2553

Collection

Audio Visual Materials :SAC 000558

Annotation

โครงการสนับสนุนผลิตภาพยนตร์ชาติพันธุ์ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร จัดตั้งขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการทำงานมานุษยวิทยาทัศนา (Visual anthropology) โดยการจัดการอบรมการผลิตภาพยนตร์ชาติพันธุ์เพื่อสนับสนุนให้ชาวบ้านผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรมสร้างภาพยนตร์ของตนเองจังหวะชีวิตแม่ค้าอาข่า เป็นหนึ่งในภาพยนตร์จากโครงการนี้ในปีพ.ศ. 2553 ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตของหญิงอาข่าที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มในสังคมเมืองกรุงเทพมหานคร เพื่อประกอบอาชีพค้าขายสินค้าหัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ตนเองบริเวณถนนข้าวสาร ซึ่งต้องมีการปรับวิถีชีวิตให้เข้ากับสังคมและการประกอบอาชีพ ทั้งในเรื่องของอาหารการกินและการใช้ภาษา โดยจะเห็นได้ว่าชาวอาข่ากลุ่มนี้สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมใหม่ได้เป็นอย่างดี 

อ่านต่อ...
image

Author

ทีวีไทย

Imprint

กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2553]

Collection

Audio Visual Materials :CDF 000545

Annotation

าข่าในมายาคติ” เป็นสารคดีชาติพันธุ์ตอนที่ 1 จากจำนวนทั้งหมด 5 ตอนของรายการพันแสงรุ้ง ชุด อ่าข่า เนื้อหารายการเริ่มจากการทำความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่า เช่น ชื่อกลุ่มที่ควรเรียกว่า “อ่าข่า” หรือ “อาข่า” ซึ่งเป็นชื่อที่กลุ่มชาติพันธุ์นี้ใช้เรียกตนเอง ส่วนชื่อ “อีก้อ” นั้นไม่ควรนำมาใช้ และยังมีภาพมายาคติที่เกี่ยวข้องกับชาวอ่าข่าอีกหลายประการที่ถูกสร้างและผลิตซ้ำจนเป็นที่รับรู้โดยทั่วไปในสังคมรวมทั้งแวดวงวิชาการ ในขณะที่ชาวอ่าข่าพยายามโต้แย้งและค้นคว้าหลักฐานเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงกับสังคมมาโดยตลอด เช่นเรื่อง “คะจี” หรือ “มิดะ” หญิงหม้ายที่มีหน้าที่สอนเรื่องเพศให้กับเด็กหนุ่มอาข่า หรือ ลานดินบริเวณหน้าหมู่บ้านที่ถูก “คนนอก” เรียกว่า “ลานสาวกอด” และให้คำนิยามว่าเป็นลานสำหรับให้หนุ่มสาวมากอดพลอดรักกันอย่างอิสระเสรี ในขณะที่ชาวอาข่ายืนยันว่าเป็นเพียงลานวัฒนธรรมที่ชาวบ้านจะมาร้องรำทำเพลงหรือคนหนุ่มสาวมาพบปะกันแต่เพียงเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่ชาวอ่าข่าต้องประสบเนื่องจากความไม่เข้าใจกันระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์กับเจ้าหน้าที่รัฐหรือนโยบายของรัฐ เช่น สิทธิในที่อยู่อาศัย สิทธิในที่ทำกิน และสิทธิความเป็นพลเมือง ปัญหาทั้งหมดนี้ทำให้ชาวอาข่าต้องมีการรวมกลุ่มกันเพื่อพยายามแก้ไขอคติที่คนในสังคมมีต่อชาวอ่าข่า 

อ่านต่อ...
image

Author

ทีวีไทย

Imprint

กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2553]

Collection

Audio Visual Materials :CDF 000780

Annotation

รายการพันแสงรุ้ง ตอน อาข่าในเมืองเชียงใหม่ นำเสนอวิถีชีวิตของชาวอาข่าที่โยกย้ายเข้ามาทำงานในตัวเมืองเชียงใหม่ จากการสัมภาษณ์นายกสมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย พบว่าปัญหาหลักในการย้ายถิ่นจากยอดดอยลงสู่เมืองของชาวอาข่าคือการขาดแคลนที่ทำกินเนื่องจากพื้นที่ส่วนหนึ่งถูกยึดคืนเพื่อนำไปปลูกป่า และเยาวชนอาข่าในปัจจุบันที่เข้าเรียนหนังสือในระบบโรงเรียนก็ไม่ได้สืบทอดอาชีพต่อจากพ่อแม่ จึงต้องลงมาทำงานรับจ้างในเมือง หรือขายสินค้าโดยใช้อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวเพื่อหารายได้เลี้ยงชีพ นอกจากนี้สารคดียังนำเสนอรูปแบบการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายของชาวอาข่าในเมืองเชียงใหม่ โดยมีแกนนำเป็นผู้ริเริ่มความคิดและรวบรวมเงินลงทุนเพื่อที่จะสร้างหมู่บ้านอ่าข่าในเมือง ให้ชาวอาข่ากว่า 60 ครอบครัวได้เข้ามาอยู่อาศัยร่วมกัน 

อ่านต่อ...
image

Author

ทีวีไทย

Imprint

กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2553]

Collection

Audio Visual Materials :CDF 000779

Annotation

รายการพันแสงรุ้ง ตอน อ่าข่าย้อง ถ่ายทอดเรื่องราวจารีต ขนบธรรมเนียม ข้อห้ามต่างๆ ที่สืบทอดต่อกันมาของชาวอ่าข่าที่เรียกว่า อ่าข่าย้อง กลุ่มชาวอ่าข่าจาก 4 ประเทศได้แก่ ไทย พม่า จีน ลาว มีการรวมตัวกันเพื่ออภิปรายถึงความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวอ่าข่าที่เกิดขึ้นในทุกประเทศ ในการประชุมอภิปรายมีการนำวัฒนธรรมประเพณีแต่ละประเภทมาวิเคราะห์รูปแบบและร่วมกันหาทางออกให้ประเพณีเหล่านี้ได้รับการสืบสานต่อไป โดยมีการตกลงปรับเปลี่ยนจารีตประเพณีบางอย่างให้เข้ากับสภาพวิถีชีวิตในยุคปัจจุบันของชาวอ่าข่า เพื่อรักษาระบบใหญ่เอาไว้ให้ลูกหลานชาวอ่าข่าได้เรียนรู้ต่อไป 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ