banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / อาข่า

ชาติพันธุ์ / อาข่า

Export All

image author

รวบรวมโดย : จรรยา ยุทธพลนาวี

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

          กลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่าในประเทศไทยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ทีมีภาษาพูด ความเชื่อ วิถีชีวิต ที่มีอัตลักษณ์เป็นของตนเอง อาศัยอยู่กระจายอยู่ในพื้นที่ 7 จังหวัดทางภาคเหนือของไทย ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง แพร่ ตาก และเพชรบูรณ์ อาศัยอยู่มากที่สุดในจังหวัดเชียงราย กลุ่มอ่าข่าที่เข้ามาประเทศไทยเป็นกลุ่มแรก เข้ามาอยู่ที่ดอยตุง และบ้านดอยแสนใจ อำเภอแม่ฟ้าหลวง กลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่ามีอัตลักษณ์ของตนเอง ทั้งด้านวิถีชีวิต การประกอบอาชีพ ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม อาหาร การแต่งกาย ภาษา ที่สืบทอดต่อ ๆ กันผ่านเทศกาลและพิธีกรรมของชาติพันธุ์อ่าข่าที่เกิดขึ้นตามระบบความเชื่ออันศักดิ์สิทธ์ เกี่ยวข้องกับชีวิตและการทำมาหากิน
         มีชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่าอยู่หลายชื่อ เช่น ประเทศจีนเรียกว่าฮาหนี่ หรือไอ่หนี่ฉุ ที่ประเทศลาวเรียกว่า ก้อ ส่วนที่ประเทศพม่าและเวียดนามเรียกว่า อ่าข่า ส่วนประเทศไทยในอดีตนั้นเรียกอีก้อ แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเรียกอ่าข่าแล้ว แต่ก็ยังมีคนเรียกอีก้ออยู่ 
         คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่าในครั้งนี้ จะให้ความสำคัญกับรายการทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่าในเหนือของประเทศไทย  รวมทั้งสังคมวัฒนธรรม วิถีชีวิต และประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่า

 


อ้างอิงจาก 
ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย. "กลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่า"  เข้าถึงได้จาก https://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups/99

 

คำสำคัญ

แหล่งข้อมูล

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศ กลุ่มชาติพันธุ์โส้ ประกอบด้วยแหล่งข้อมูล ดังนี้ หนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษ (Book), บทความในหนังสือ (Book Chapter), บทความในวารสาร (Articles), สื่อโสตทัศน์ (Multimedia), ฐานข้อมูล (Database)

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

นภาพร ราชวงศ์

Imprint

-

Collection

สุขศาลา. ปีที่ 4, ฉบับที่ 16 (ม.ค. 2555), หน้า 43-45 : ภาพประกอบ (ภาพสีบางภาพ) ISSN 1906-196X

Annotation

บทความนี้มุ่งเน้นเรื่องภูมิปัญญาการแพทย์ด้านการรักษาอาการกระดูกหักของหมอพื้นบ้านอาข่า เขียนจากประสบการณ์ของพยาบาลวิชาชีพประจำสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯดอยตุง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ที่มีโอกาสเข้าสังเกตการณ์การรักษาอาการกระดูกหักของหมอพื้นบ้าน โดยขั้นตอนการรักษามีทั้งการใช้สมุนไพร น้ำมนต์ อุปกรณ์สำหรับทำเป็นเฝือก มีการบริกรรมคาถาและการปฏิบัติตนตามความเชื่อร่วมด้วย ผู้เขียนเฝ้าติดตามอาการของกรณีตัวอย่างจนทราบข่าวว่าผู้ป่วยหายดี สามารถกลับไปประกอบอาชีพและมีความพึงพอใจกับกระบวนการรักษาแบบพื้นบ้านที่ไม่ต้องถูกเจาะขาฝังเหล็กตามวิธีการของแพทย์แผนปัจจุบัน จากกรณีตัวอย่างนี้ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำสถานีอนามัยจึงได้มีมุมมองใหม่ต่อระบสุขภาพชุมชน มีการพัฒนาการให้บริการแบบผสมผสาน เช่น ในกรณีที่กระดูกหัก เจ้าหน้าที่จะให้หมอพื้นบ้านร่วมดูฟิล์มเอ็กซ์เรย์ หากอาการไม่รุนแรงมากนักก็ให้รักษาด้วยการแพทย์พื้นบ้าน แต่หากมีอาการที่เสี่ยงต่ออันตรายก็ส่งตัวไปรักษาต่อในโรงพยาบาล นับเป็นการทำงานร่วมกับชุมชนอย่างผสมผสาน ใช้ชุมชนเป็นฐานจนเกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน 

อ่านต่อ...
image

Author

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

Imprint

กรม, 2555

Collection

Books (7th floor) DS570.อ6 ส73 2555

Annotation

หนังสือ “อีก้อ” เป็นหนึ่งในหนังสือชุด “องค์ความรู้เกี่ยวกับชาวเขา” ที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการเห็นว่าเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ จึงได้ตั้งโครงการขึ้นเพื่อค้นหา รวบรวม ประมวลผล และวิเคราะห์จากงานวิจัยต่างๆ จนได้ตีพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือทั้งหมด 9 เล่ม ในส่วนของเล่มนี้เป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับชาวเขาเผ่าอีก้อ โดยแยกเนื้อหาออกเป็น 2 เรื่อง ได้แก่ สภาพทางสังคมวัฒนธรรม ซึ่งแสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในหมู่บ้าน ข้อห้าม ข้อนิยมต่างๆที่สำคัญ และเรื่องที่สองคือ คุณค่าทางวัฒนธรรมและธรรมเนียมปฏิบัติของชาวอีก้อในด้านการประกอบพิธีกรรม ความเชื่อ และการละเล่นต่างๆ 

อ่านต่อ...
image

Author

พนาภรณ์ ศรีมูล

Imprint

-

Collection

หน้าจั่ว ฉบับที่ 26 (2554), หน้า 179-199 : ภาพประกอบ, แผนที่ ISSN 08571457

Annotation

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เรื่อง “พลวัตทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นของชาติพันธุ์อาข่า : กรณีศึกษาหมู่บ้านเหมืองแร่ ตำบลแม่คะ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่” ชาวอาข่ากลุ่มนี้นับถือศาสนาคริสต์ก่อนที่จะเคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่นี้ ดังนั้นองค์ประกอบของผังหมู่บ้านจึงต่างไปจากคติการวางผังแบบจารีตดั้งเดิมที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า การเปลี่ยนแปลงทางสถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยนี้เป็นผลมาจากการเปลี่ยนความเชื่อและศาสนา ส่งผลให้ชาวอาข่าที่นี่สร้างหมู่บ้านที่มีสภาพแวดล้อมที่ต่างออกไปจากบรรพบุรุษ  ประกอบกับวิถีชีวิตที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ทำให้ชาวอาข่าหมู่บ้านเหมืองแร่ปรับแนวคิดทางสถาปัตยกรรมให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนไป 

อ่านต่อ...
image

Author

ไพฑูรย์ พรหมวิจิตร และ อันยา โพธิวัฒน์

Imprint

เชียงใหม่ : เนรพูสีไทย, 2554

Collection

Books (7th floor) ML410.จ46พ93 2554

Annotation

คำว่า “มิดะ” เกิดขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2493 จากหนังสือชื่อ 30 ชาติในเชียงราย โดยบุญช่วย ศรีสวัสดิ์ นักมานุษยวิทยาที่ศึกษากลุ่มชาติพันธุ์อาข่าในขณะนั้น ต่อมาศิลปินเพลงชาวเหนือ จรัล มโนเพ็ชร ได้แต่งเพลงชื่อ “มิดะ” มีเนื้อหากล่าวถึงหญิงสาวผู้เป็นครูสอนเพศศึกษาให้แก่เด็กหนุ่มชาวอาข่า และมีการกล่าวถึง “ลานสาวกอด” ซึ่งเป็นที่เข้าใจในหมู่คนทั่วไปว่าคือสถานที่พลอดรักของหนุ่มสาวชาวอาข่า อย่างไรก็ดี เรื่องราวของ “มิดะ” และ “ลานสาวกอด” ยังเป็นที่ถกเถียงระหว่างกลุ่มชาวอาข่ารุ่นใหม่และกลุ่มเพื่อศิลปิน จรัล มโนเพ็ชร รวมทั้งนักวิชาการ ว่าบุคคลและสถานที่นี้มีอยู่จริงหรือไม่ หนังสือเล่มนี้ไม่เพียงแต่ตีพิมพ์ขึ้นเพื่อรำลึกถึงศิลปินผู้ล่วงลับ แต่ยังถ่ายทอดเรื่องราวของ “มิดะ” และ “ลานสาวกอด” ในมุมมองของศิลปินผู้มีจินตนาการอีกด้วย 

อ่านต่อ...
image

Author

จะคะแต และ คารีน่า

Imprint

กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2553

Collection

Audio Visual Materials :SAC 000558

Annotation

โครงการสนับสนุนผลิตภาพยนตร์ชาติพันธุ์ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร จัดตั้งขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการทำงานมานุษยวิทยาทัศนา (Visual anthropology) โดยการจัดการอบรมการผลิตภาพยนตร์ชาติพันธุ์เพื่อสนับสนุนให้ชาวบ้านผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรมสร้างภาพยนตร์ของตนเองจังหวะชีวิตแม่ค้าอาข่า เป็นหนึ่งในภาพยนตร์จากโครงการนี้ในปีพ.ศ. 2553 ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตของหญิงอาข่าที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มในสังคมเมืองกรุงเทพมหานคร เพื่อประกอบอาชีพค้าขายสินค้าหัตถกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ตนเองบริเวณถนนข้าวสาร ซึ่งต้องมีการปรับวิถีชีวิตให้เข้ากับสังคมและการประกอบอาชีพ ทั้งในเรื่องของอาหารการกินและการใช้ภาษา โดยจะเห็นได้ว่าชาวอาข่ากลุ่มนี้สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมใหม่ได้เป็นอย่างดี 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ