banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / มานิ

ชาติพันธุ์ / มานิ

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศด้านชาติพันธุ์ : มานิ กลุ่มชาติพันธุ์มานิ คนในเรียกตัวเองว่า มานิ แต่บุคคลภายนอกเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มนี้แตกต่างกันอาทิ โอรัง อัสลี, เนกริโต, เซมัง, ซาไก, ชอง, มอส, ตอนกา, เงาะ, เงาะป่า เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีลักษณะทางวัฒนธรรมแบบเฉพาะที่เรียกว่า วัฒนธรรมหาของป่า-ล่าสัตว์ (hunting-Gather culture) ปัจจุบันเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยตามพื้นที่ป่าเขาในภาคใต้ของประเทศไทยตามแนวเทือกเขาบรรทัด ในพื้นที่จังหวัดตรัง สตูล สงขลา พัทลุง และยะลา และประเทศเพื่อนบ้านชายแดนภาคใต้ของไทยจากมาเลเซียถึงอินโดนีเซีย ใน subject guide ชุดนี้จะรวบรวมบรรณานุกรมหนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธุ์ และบทความเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์มานิทั้งหมดที่รวมรวมได้ เพื่อเป็นแนวทางให้นักวิจัยได้ทราบองค์ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์นี้ว่ามีทรัพยากรสารสนเทศอะไรบ้าง คำค้น มานิ , โอรัง อัสลี, เนกริโต, เซมัง, ซาไก, ชอง, มอส, ตอนกา, เงาะ, เงาะป่า, Mani , Orang Asli, Nigro-itos, Semang, Sakai , Chong, Mos, Tonga, Ngo, Ngo-pa, Senoi (Southeast Asian people) , Orang Asal (Malaysian people)

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

Charles Otto Blagden

Imprint

Kuala Lumpur : Oxford University Press, 1998

Collection

SAC Library-Books-NA1511.A73 1998

Annotation

: สรุปจากเรื่อง  Pagan Rates of Malay Peninsula ตั้งแต่ปี ค.ศ.1906 รายงานว่า ช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1890 มีงานศึกษาเกี่ยวกับชนพื้นเมืองโอรัง อัสลีในบริเวณรัฐเปรักของมาเลเซีย ซึ่งถือเป็น ความพยายามในการอธิบายวัฒนธรรมอย่างเป็นระบบของชนกลุ่มนี้ จากข้อมูลของ Walter William Skeat และ Charles Otto Blagden เกี่ยวกับลักษณะการตั้งถิ่นฐานอาศัยและลักษณะบ้านเรือนของพวกเขาพบว่า  Kedah Semang และ Pangan ที่ Ban tun เป็นกลุ่มเร่ร่อนไม่มีถิ่นฐานแน่นอน อาศัยอยู่ตามป่า และเพิงหน้าผาหิน ส่วนกลุ่มที่อาศัยตามเพิงพักที่เป็นต้นไม้ และร่มเงาของกิ่งใบไม้ เป็นประเภทพึ่งพาธรรมชาติ มีลักษณะคล้ายรังนกที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำนั้นได้แก่ Perak Semang และ Pangan ขณะที่กลุ่ม ที่มีเพิงพักร่วมกันคล้าย กระท่อมทรงกลม เป็นครอบครัวเล็กขนาด 1 ถึง 2 ครอบครัว ได้แก่  Semang of Kedah ลักษณะเหมือน long-house นอกจากนั้นยังพบว่า บางครั้ง มีรูปแบบกระท่อมยกพื้นคล้ายคลึงกับพวก Malayan  กลุ่มที่มีลักษณะเป็นบ้านและกระท่อมคือ Perak Sakai ที่สร้างตามแบบทรงมาเลย์ ตามแนวไหล่เขา มีหลังคาปกคลุมด้วยใบไม้จำพวกใบปาล์ม และ กลุ่ม Pahang Sakai เป็นกระท่อมตามภูเขาซึ่งมีระดับความสูงค่อนข้างจะมาก รูปแบบสุดท้ายเรียกว่า  Orang laut  หรือ Sea-Jakun เป็นลักษณะเฉพาะของกลุ่มชนเผ่า Sletar  ที่ครอบคลุมพื้นที่จำกัดประมาณ 30 ตารางเมตร เป็นลักษณะอาศัยในเรือเพื่อบรรทุก เก็บอาหาร จากฝั่งและป่า

อ่านต่อ...
image

Author

Leonard Y. Andaya,

Imprint

Honolulu : University of Hawai Press, 1998

Collection

SAC Library-Books- HD880.8.L36

Annotation

บทความนี้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงด้านความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจสังคม และการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของชาวโอรัง อัสลี บริเวณช่องแคบมะละกาในยุคสมัยก่อนการยึดครองของตะวันตก ชาวโอรัง อัสลีเป็นกลุ่มชนที่รู้จักกันดีในประวัติศาสตร์ของทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะชื่อเสียงด้านการเป็น “โจรสลัด” ที่คอยปล้นเรือสินค้าที่เข้ามาในช่องแคบมะละกา ความรู้เกี่ยวกับท้องทะเลทำให้พวกเขาเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รัฐสุลต่านมะละกามีความเจริญรุ่งเรืองในฐานะเมืองท่าที่เป็นศูนย์กลางการค้าในคาบสมุทรมาเลย์ โจรสลัดโอรัง อัสลีจะรับรองความปลอดภัยให้กับเรือที่เข้ามาค้าขายกับรัฐสุลต่านมะละกาเพื่อแลกเปลี่ยนกับตำแหน่ง สถานะทางสังคมและสิ่งของมีค่าจากต่างถิ่น
 

อ่านต่อ...
image

Author

Charles Otto Blagden

Imprint

Ali M. A.Rachman

Collection

SAC Library-Books- GN2.M6 1991

Annotation

บทความเรื่องนี้อยู่ภายใต้แนวคิดทางทฤษฎี Elman R. Service, Leslie A. White เกี่ยวกับวิวัฒนาการทางสังคมของมนุษย์ จากกลุ่ม ชนเผ่า อาณาจักร และรัฐ เชื่อมโยงกับการเพิ่มขึ้นของการบริโภคพลังงาน ภายใต้กลุ่มศึกษาเปรียบเทียบ จากการจัดองค์กรทางสังคมในรูปแบบที่เรียบง่ายที่สุดคือกลุ่ม Kubu Suku Terasing บนเกาะสุมาตรา ของอินโดนีเซีย และTemuan Orang Asli ของมาเลเซีย ผลการศึกษาพบว่าด้วยการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นตามระดับของกลุ่มชนเผ่า ตามวิวัฒนาการทางสังคมวัฒนธรรมจากสังคมดั้งเดิมไปสู่อารยธรรมโดย กลุ่ม Kubu มีการบริโภคพลังงานสูงกว่ากลุ่ม Temuan แสดงให้เห็นว่า สังคมที่มีการจัดระเบียบในระดับสูงต้องการพลังงานสูงกว่า
 

อ่านต่อ...
image

Author

Roy Davis Linville Jumper

Imprint

Lanham, Md. : University Press of America, c1999

Collection

SAC Library-Books-GN635.M4J83 1999

Annotation

กลุ่มชาติพันธุ์โอรัง อัสลีในมาเลเซียตะวันตกนั้น มีกิจกรรมทางการเมืองในฐานะชนกลุ่มน้อย การเคลื่อนไหวทางการเมืองของพวกเขา มีบทบาทไม่น้อยต่อรัฐบาลของมาเลเซียที่ต้องการให้โอรัง อัสลีมีความมั่นคง เช่นเดียวกับคนกลุ่มอื่นของมาเลเซียเช่น มาเลย์ จีน และอินเดีย หนังสือเล่มนี้สำรวจการมีส่วนร่วมทางการเมืองของโอรัง อัสลี นับเป็นงานวิจัยชิ้นแรก ๆ ที่พยายามทำความเข้าใจในมุมมอง ความรู้สึกเกี่ยวกับการเมืองของโอรังอัสลีจากภายในให้ปรากฏอย่างเด่นชัด การวิจัยแสดงให้เห็นแนวโน้มว่า พรรคการเมืองของมาเลเซียมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมาก แม้ไม่ได้มีความคาดหวังให้กลุ่มโอรัง อัสลีมีบทบาททางการเมืองของมาเลเซีย แต่อย่างน้อยก็สร้างให้ชาวโอรัง อัสลีเข้าไปอยู่ในสำนึกทางการเมืองของมาเลเซียได้บ้าง

อ่านต่อ...
image

Author

Nagata, Shuichi

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

Moussons no. 4(2001), p.97-112

Annotation

บทความนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลงานวิชาการด้านมานุษยวิทยาที่ทำการศึกษาวิจัยกลุ่มโอรังอัสลี ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ทางตะวันตกของประเทศมาเลเซีย โดยงานศึกษาดังกล่าวจะต้องมีปรากฏออกมานับตั้งแต่ปี ค.ศ 1989 ขึ้นไปเท่านั้น เพื่อนำไปใช้ทบทวนองค์ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับชนพื้นเมืองกลุ่มนี้ด้วยข้อมูลงานศึกษาใหม่ ๆ ที่ไม่ล้าหลังจนเกินไปนัก โดยต้นกำเนิดของกลุ่มโอรังอัสลีนั้นเริ่มต้นจากชาวเพเกิน (Pagan) ที่เข้ามาอาศัยกระจัดกระจายกันไปทั่วแหลมมลายูและกลายเป็นกลุ่มตัวอย่างของงานศึกษาวิจัยในยุคศตวรรษที่ 19 จากนั้นได้เกิดการล่าอาณานิคมโดยจักรวรรดิอังกฤษขึ้น จนเวลาล่วงเลยผ่านไปหลายร้อยปี กลุ่มชนดั้งเดิมได้กลายมาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกรัฐมาเลย์บัญญัติคำเรียกว่า กลุ่มโอรังอัสลี ซึ่งปัจจุบันกำลังประสบกับปัญหาและความเปลี่ยนแปลงนานับประการภายใต้นโยบายการพัฒนาของรัฐ กระบวนการกลายเป็นสมัยใหม่ และความพยายามเข้ามามีส่วนร่วมของบุคคลภายนอกมากขึ้น
 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ