banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / มานิ

ชาติพันธุ์ / มานิ

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศด้านชาติพันธุ์ : มานิ กลุ่มชาติพันธุ์มานิ คนในเรียกตัวเองว่า มานิ แต่บุคคลภายนอกเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มนี้แตกต่างกันอาทิ โอรัง อัสลี, เนกริโต, เซมัง, ซาไก, ชอง, มอส, ตอนกา, เงาะ, เงาะป่า เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีลักษณะทางวัฒนธรรมแบบเฉพาะที่เรียกว่า วัฒนธรรมหาของป่า-ล่าสัตว์ (hunting-Gather culture) ปัจจุบันเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยตามพื้นที่ป่าเขาในภาคใต้ของประเทศไทยตามแนวเทือกเขาบรรทัด ในพื้นที่จังหวัดตรัง สตูล สงขลา พัทลุง และยะลา และประเทศเพื่อนบ้านชายแดนภาคใต้ของไทยจากมาเลเซียถึงอินโดนีเซีย ใน subject guide ชุดนี้จะรวบรวมบรรณานุกรมหนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธุ์ และบทความเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์มานิทั้งหมดที่รวมรวมได้ เพื่อเป็นแนวทางให้นักวิจัยได้ทราบองค์ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์นี้ว่ามีทรัพยากรสารสนเทศอะไรบ้าง คำค้น มานิ , โอรัง อัสลี, เนกริโต, เซมัง, ซาไก, ชอง, มอส, ตอนกา, เงาะ, เงาะป่า, Mani , Orang Asli, Nigro-itos, Semang, Sakai , Chong, Mos, Tonga, Ngo, Ngo-pa, Senoi (Southeast Asian people) , Orang Asal (Malaysian people)

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

G. William Domhoff

Imprint

Berkeley : University of California Press, c1985

Collection

SAC Library-Books- BF1078.D58 1985

Annotation

หนังสือเล่มนี้ต้องการวิเคราะห์ทฤษฎีความฝันของเซนอย (Senoi dream theory) ซึ่งเป็นผลงานของ Kilton Stewart ที่อ้างว่าเป็นผลจากการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์เซนอยในประเทศมาเลเซีย ทฤษฎีดังกล่าวได้อธิบายว่า ในสังคมที่ไม่มีลำดับขั้นจะมีการถกเถียงกันเรื่องความฝันอย่างเสรี ผู้ฝันสามารถเรียนรู้ที่จะเผชิญหน้าและควบคุม เอาชนะความรู้สึกของตนเองในสภาวะฝันแบบรู้ตัว (Lucid Dream) ได้ เพื่อคงสภาพจิตใจให้สงบและอยู่อย่างเป็นสุขในสังคม ทฤษฎีนี้ถูกนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยทางจิตใจที่ต้องเผชิญหน้ากับฝันร้ายด้วยวิธีฝันบำบัด ผู้เขียนได้โต้แย้งและอธิบายประวัติความเป็นมาและลักษณะทางชาติพันธุ์ของกลุ่มเซนอย บุคลิกและลักษณะนิสัยของ Kilton Stewart และได้สรุปว่า แม้ชาวเซนอยจะมีทฤษฎีความฝันแต่พวกเขาไม่ได้ใช้วิธีฝันบำบัดแบบที่ตะวันตกรับรู้และเข้าใจ

อ่านต่อ...
image

Author

Rosemary Gianno

Imprint

: New Haven : Academy of Arts and Sciences, 1990

Collection

SAC Library-Books-Q11.C85 1990

Annotation

ผลงานหนังสือปรับปรุงเนื้อหาจากดุษฎีนิพนธ์ที่มหาวิทยาลัยเยลเรื่อง Semelai Resin Technology ของผู้เขียน นักมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยเท็กซัสที่ สนใจเทคโนโลยีของ Semelai ที่ Tasek Bera รัฐปาหัง ชาวโอรัง อัสลีในมาเลเซีย มีภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับพืชพรรณไม้ที่ให้น้ำยางที่นำมาแปรรูปเป็นเรซิ่นได้ งานชิ้นนี้พยายามทำความเข้าใจเทคโนโลยีและนัยยะทางวัฒนธรรมของยางไม้เรซิ่น ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากจุดยืนทางเศรษฐกิจสังคม การค้าผลผลิตจากป่าที่มีบทบาทสำคัญในการปรับตัวของกลุ่มชนพื้นเมืองในมลายา มาเลเซียตะวันตกจนกลายเป็นสินค้าในตลาด
 

อ่านต่อ...
image

Author

Roseman, Marina

Imprint

Berkeley :University of California Press,[1993], c1991.

Collection

SAC Library-Books-DS595.2.S3R67 1993

Annotation

เทเมียร์ (Temiar) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มย่อยของกลุ่มเงาะซาไกหรือเซนอย อาศัยอยู่ทางเหนือสุดของประเทศมาเลเซีย ชาวเทเมียร์มีความผูกพันกับพื้นป่าและใช้ทรัพยากรธรรมชาติในป่าเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตทั้งเป็นที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม อาหารและยารักษาโรค พวกเขามีความเชื่อเรื่องจิตวิญญาณที่สิงสถิตอยู่ในป่าว่ามีความเกี่ยวข้องกับโรคภัยและอาการเจ็บป่วย ชาวเทเมียร์จึงมีการใช้ดนตรีบำบัดในการรักษาโรคผ่านการขับร้องบทเพลง ซึ่งผู้เขียนได้ศึกษาดนตรีบำบัดในสังคมของชาวเทเมียร์นี้เป็นเวลา 1 ปี (ค.ศ. 1981-1982) เพื่อทำความเข้าใจกระบวนการและบทบาทของดนตรีบำบัดในการรักษาการเจ็บป่วย ระบบความเชื่อและทัศนคติของชาวเทเมียร์ต่อการแพทย์และอาการเจ็บป่วย รวมไปถึงระบบสัญลักษณ์และการให้ความหมายที่สะท้อนให้เห็นผ่านดนตรีบำบัดนี้
 

อ่านต่อ...
image

Author

G. Albrecht, H.Berke, D. Burger, S

Imprint

Silpakorn University, Bangkok 1993

Collection

SAC Library-Books- GN776.32.T4S35 1993

Annotation

รายงานการศึกษาภาคสนามทางชาติพันธุ์วรรณนาและโบราณคดีที่ถ้ำซาไก จังหวัดตรัง และบริเวณโดยรอบ ตั้งแต่ ปี ค.ศ.1991 และ 1992 เกี่ยวกับวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์มานิ (เซมังเหนือ) ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้ถ้ำซาไก รายงานแสดงให้เห็น รูปแบบการตั้งถิ่นฐานของชุมชน ที่มีลักษณะเป็นเพิงพักขนาดเล็กในพื้นที่ 3 – 4 ตารางเมตร อยู่กันเป็นกลุ่มครอบครัว ประมาณ 17 คน บอกเล่าการสังเกตการณ์รูปการณ์ล่าสัตว์ของกลุ่มมานิ รายงานแสดงให้เห็นว่า ต่อคำถามที่ว่า กลุ่มมานิในภาคใต้ของไทยมีแนวโน้มที่จะดำรงชีพอยู่รอด ดำรงชึพในรูปแบบเก็บของป่าล่าสัตว์ในผืนป่าฝน  ลักษณะนิสัยตามธรรมชาติของพวกเขาอยู่ในภาวะทำลาย มีการตัดเผาป่าอย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้นซึ่งถือว่า เป็นกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย ซึ่งคณะทำงานได้จัดวางแผนแนวทางในการรณรงค์ป้องกันกับหน่วยงานระดับท้องถิ่นของกรมป่าไม้ต่อไป ขณะที่รายงานการขุดค้นทางโบราณคดีที่ถ้ำซาไก ปรากฏลักษณะชั้นดินทางธรณีวิทยาที่มีการเปลี่ยนแปลง แสดงถึงความเก่าแก่ในช่วงยุคหินใหม่ แม้จะมีความพยายามขุดค้นหลุมฝังศพ แต่พบโครงกระดูกน้อยมาก หรือถูกทำลายไปจนไม่ปรากฏร่องรอยหลักฐานชัดเจน

อ่านต่อ...
image

Author

Kroes, Gerco

Imprint

Berkeley : University of California Press, [1993]

Collection

SAC Library-Books- DS595.2.S3R67 1993

Annotation

กลุ่มเซไม (Semai) คือ กลุ่มย่อยของเงาะซาไกหรือเซนอยเป็นชนพื้นเมืองมาเลเซียอาศัยอยู่ในแหลมมลายูร่วมกับกลุ่มโอรังอัสลีกลุ่มอื่น ๆ และชาวมาเลย์ทั่วไปเป็นเวลายาวนาน จากเดิมที่มีวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่แตกต่างกัน ปัจจุบันชาวเซไมเริ่มถูกกลืนกลายอัตลักษณ์และความเป็นชาติพันธุ์ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมมาเลย์ทั่วไป หนังสือเล่มนี้ได้เปรียบเทียบความเชื่อด้านการแพทย์และการรักษาระหว่างกลุ่มเซไมกับชาวมาเลเซียทั่วไป ศึกษาตั้งแต่คติความเชื่อด้านสุขภาพและโรคภัย ความเชื่อเกี่ยวกับวิญญาณ รวมไปถึงการรักษาความเจ็บป่วยและพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบและวิเคราะห์ว่าความเชื่อด้านการแพทย์และการรักษาของทั้งสองกลุ่มนี้มีความคล้ายคลึงหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ