banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / ไทพวน

ชาติพันธุ์ / ไทพวน

Export All

image author

รวบรวมโดย : จรรยา ยุทธพลนาวี

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

      พวน หรือ ไทพวน คนพวนจะนิยมเรียกตนเองว่า ไท-พวน หรือแม้แต่คนลาว (คนในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) ก็นิยมเรียกคนพวนว่า ไท-พวน ซึ่งหมายถึงคนพวน  ลูกหลานที่ได้สืบทอดเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่เป็นชาวพวนที่เกิดในประเทศไทยหลายชั่วอายุคนแล้ว จนได้กลายเป็นราษฎรไทยโดยสมบูรณ์จึงเรียกตนเองว่า “ไทยพวน”
      ชาวพวนเชื่อว่าตนเองสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่อ้างถึงในกลุ่มไทกลุ่มอื่นๆ เช่น ไทยวน ไทเมา ไทใหญ่ ไทยและลาว ตามประวัติศาสตร์เล่าว่าชาวลาวพวนนั้นก่อตั้งบ้านเมืองของตนเองจนเป็นรัฐเล็กๆ มาเนิ่นนานแล้วบริเวณทุ่งไหหิน ชาวพวนเรียกเมืองของตนเองว่าเมืองพวน มีเมืองหลวงเป็นของตนเองในปัจจุบันคือเมืองคุน
       คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศกลุ่มชาติพันธุ์ไทพวนในครั้งนี้ จะให้ความสำคัญกับรายการทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ไทพวนในประเทศไทย และในบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ไทพวนในประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงสังคมวัฒนธรรม วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ไทพวน


ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย. "กลุ่มชาติพันธุ์ไทพวน"  เข้าถึงได้จาก https://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups/83

คำสำคัญ

แหล่งข้อมูล

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศ กลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวน ประกอบด้วยแหล่งข้อมูล ดังนี้ หนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษ (Book), งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ (Research) , ฐานข้อมูล (Database), เว็บไซต์ (Website)

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

ไม่ระบุ

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

ไม่ระบุ

Annotation

ฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ในประเทศไทย รวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์มาสรุปสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยา โดยมีการจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยชื่อที่เรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตัวเอง เทียบเคียงกับชื่อเรียกโดยคนอื่น และเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
 

อ่านต่อ...
image

Author

ไม่ระบุ

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

ไม่ระบุ

Annotation

ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ได้รวบรวมข้อมูลของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ทั้งแผนที่แสดงที่ตั้งถิ่นฐาน สภาพภายในหมู่บ้าน ลักษณะบ้านเรือนและข้าวของเครื่องใช้ในบ้าน การแต่งกาย ความเป็นอยู่ ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ โดยใช้ชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยชื่อที่คนในใช้เรียกตัวเองหรือต้องการให้สังคมเรียกในชื่อนี้ รวมถึงการค้นคว้าเนื้อหาที่แสดงให้เห็นพลวัตและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับบริบทและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในปัจจุบัน เพื่อให้สาธารณะมีความรับรู้และเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางชาติพันธุ์มากขึ้น


 

อ่านต่อ...
image

Author

ไม่ระบุ

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

ไม่ระบุ

Annotation

Facebook ของชมรมไทยพวนแห่งประเทศไทย ที่มักจะนำสาระความรู้และความเคลื่อนไหวของกลุ่มชาวไทยพวนมาแลกเปลี่ยนและแบ่งปันกันอยู่เสมอ ตลอดจนสามารถแลกเปลี่ยนความคิดในประเด็นต่างๆ และยังช่วยให้กลุ่มชาวไทยพวนได้ทำความรู้จักกันมากขึ้น


 

อ่านต่อ...
image

Author

ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดลพบุรี.

Imprint

[ลพบุรี: ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดลพบุรี, [254-?]

Collection

Book: DS570.ล65ท94

Annotation

หนังสือมีเนื้อหาเกี่ยวกับชาวพวนในอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ชาวพวนที่อพยพได้มาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยไม่ได้อพยพมาพร้อมกันในครั้งเดียว แต่สามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ดังนี้ 1) สมัยกรุงธนบุรีตอนปลาย 2) สมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก 3) สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว 4) สมัยพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อมาตั้งถิ่นฐานแล้วนั้น ชาวพวนนิยมตั้งชื่อหมู่บ้านเหมือนกับหมู่บ้านที่เคยอยู่ที่
เมืองพวน แขวงเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ชาวพวนมักพูดภาษาพวนกันในหมู่ของตนเองเท่านั้น แต่แนวโน้มในปัจจุบันภาษาพวนถูกกลืนโดยภาษาไทยเนื่องจากการเรียนการสอนระบบปัจจุบัน
การประกอบอาชีพของชาวพวนมีอาชีพหลักคือทำนาข้าว เพื่อใช้ในการบริโภคเป็นหลัก และมีการเลี้ยงสัตว์เพื่อใช้เป็นแรงงานและอาหาร ชาวพวนมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ประหยัดอดออม มีการทอเครื่องนุ่งห่มด้วยตนเอง บ้านเรือนของชาวพวนมีลักษณะใต้ถุนสูงเพื่อช่วยให้อากาศถ่ายเท ใช้พื้นที่ด้านล่างเลี้ยงสัตว์ และบรรเทาความเสียหายจากอุทกภัย ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาของชาวพวนที่รู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและธรรมชาติ

 

อ่านต่อ...
image

Author

ไม่ระบุ

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

ไม่ระบุ

Annotation

ฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ในประเทศไทย รวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์มาสรุปสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยา โดยมีการจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยชื่อที่เรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตัวเอง เทียบเคียงกับชื่อเรียกโดยคนอื่น และเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ