สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  เกี่ยวกับเรา
ข้อมูลโครงการ  |  ข้อมูลการใช้ข้อมูล

ข้อมูลโครงการพัฒนาฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ในประเทศไทย

และประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

ความเป็นมาและหลักเหตุผล

ในบริเวณพื้นที่ที่ถูกเรียกว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ครอบคลุมพื้นที่ที่อยู่ในประเทศไทยด้วยเป็นพื้นที่หนึ่งในภูมิภาคต่างๆ ของโลกที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์สูง กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เหล่านี้พูดภาษาต่างๆ ซึ่งอยู่ในตระกูลภาษาหลายตระกูล เช่น ออสโตรเอเชียติก ไท จีน-ทิเบต แม้ว-เย้า และออสโตรเนเชียน เป็นต้น  (นักภาษาศาสตร์ได้จำแนกตระกูลภาษาที่แตกต่างกันไปตามหลักการ และเหตุผลที่ต่างกัน สำหรับในฐานข้อมูลนี้จะอาศัยการจำแนกของ ศ.ดร.สุวิไล เปรมศรีรัตน์ ซึ่งมีประสบการณ์ทางวิจัยภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาอย่างยาวนาน) มีวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ การจัดระเบียบสังคมและการเมือง ความเชื่อ ตลอดจนอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ต่างๆ กัน

 

พื้นที่เหล่านี้จึงกลายเป็นสนามวิจัยของนักวิชาการในสาขาต่างๆ เช่น มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ คติชนวิทยา และอื่นๆ การศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากนักวิชาการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาอย่างต่อเนื่องกว่าสามทศวรรษแล้ว งานศึกษาวิจัยที่มีอยู่จำนวนมากนั้น กระจัดกระจายอยู่ตามสถาบันวิชาการและมหาวิทยาลัยต่างๆ ยากในการศึกษาค้นคว้า ทำให้การเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ การพัฒนาองค์ความรู้  ทิศทางการวิจัยเกี่ยวกับชาติพันธุ์ และประมวลองค์ความรู้ด้านชาติพันธุ์ในประเทศไทยเป็นไปด้สยความยากลำบาก และไม่รอบด้านเท่าที่ควร 

 

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ได้ริเริ่มโครงการพัฒนาฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ตั้งแต่ปี พ..  2546 เพื่อเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้นักวิชาการรุ่นใหม่มีความสนใจในเรื่องที่เกี่ยวกับชาติพันธุ์ และมีแหล่งข้อมูลที่สามารถสืบค้นได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว   ซึ่งสามารถใช้แบบออนไลน์จากฐานข้อมูลที่ถูกจัดอย่างมีระบบซึ่งสืบค้นได้ง่าย เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเรียกใช้ข้อมูลตามประเด็นสำคัญ และสามารถประมวลเนื้อหาสาระที่เป็นพื้นฐานต่อการพัฒนาประเด็นวิจัยในเชิงลึกต่อไป

 

การดำเนินการ

โครงการฯ นี้ริเริ่มตั้งแต่ปี พ..  2546   ในวาระที่คุณหญิงไขศรี  ศรีอรุณ เป็นผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร และดำเนินการต่อโดย ดร.ปริตตา  เฉลิมเผ่า กออนันตกูล ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ในระยะต่อมา ได้มอบหมายคณะทำงานโครงการพัฒนาฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ประกอบด้วย ดร.ฉวีวรรณ  ประจวบเหมาะ (กรรมการวิชาการศูนย์ฯ เป็นหัวหน้าโครงการ) ..สรินยา คำเมือง น..สมรักษ์ ชัยสิงห์กานานนท์ (นักวิชาการศูนย์ฯ) นายสกุล สาระจันทร์ (โปรแกรมเมอร์ของศูนย์ฯ) ..บุญสม ชีรวณิชย์กุล และ น..อธิตา สุนธโรทก (นักวิชาการอิสระทำหน้าที่นักวิจัยผู้ช่วย) ให้เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ ซึ่งได้ดำเนินการระหว่าง พ.. 2546-2552

 

ในปี 2554 โครงการฯ จะเพิ่มงานวิจัยชาติพันธุ์ที่เป็นงานหลักของโครงการแล้ว และจะขยายกรอบการทำงานด้านชาติพันธุ์ใน 3 มิติ คือ งานฐานข้อมูลงานวิจัยชาติพันธุ์ งานเครือข่าย และงานวิชาการ โดยจะนำเสนอความรู้ ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวในแวดวงเครือข่าย เป็นตัวกลางในการสร้างความเข้าใจและเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ องค์กรอิสระ กลุ่มชาติพันธุ์ และสื่อมวลชนให้มีความเข้าใจและเคารพในวัฒนธรรมที่หลากหลาย พร้อมทั้งนำเสนอบทความ เสวนาวิชาการให้สอดคล้องกับประเด็นปัญหาที่น่าสนในสถานการณ์ปัจจุบัน

 

ขอบเขตของการดำเนินการ

1. เนื้อหาสาระงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่จัดเก็บในฐานข้อมูล

หลังจากที่คณะทำงานฯ ได้ศึกษาฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องและมีลักษณะใกล้เคียงกับที่ต้องการอย่างเช่น ฐานข้อมูล The Human Relations Area Files (HRAF)ของ Yale University  ซึ่งได้รวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์วรรณามานานกว่า 50 ปีก่อนจะจัดทำฐานข้อมูลออนไลน์แบบในปัจจุบัน เห็นว่าฐานข้อมูลแต่ละฐานต่างก็มีวัตถุประสงค์การวิเคราะห์การเรียกข้อมูลในของตนเอง และมีขอบเขตตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้

 

ฐานข้อมูลนี้มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สนใจงานวิจัยด้านชาติพันธุ์สามารถใช้ฐานข้อมูลได้เพื่อหาความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาสาระของงานวิจัยทางชาติพันธุ์แต่ละงานในเบื้องต้นเป็นพื้นฐานก่อน หากต้องการอ่านตัวงานใดที่สนใจเป็นพิเศษสามารถค้นคว้าหาอ่านได้เอง   ซึ่งเป็นการช่วยให้นักวิจัยสามารถสืบค้นต่อไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

         

ทางโครงการฯ จึงจัดให้มีผู้สรุปประเด็น (Text Analyst) ของงานแต่ละงานตามหัวข้อ (Subject Categories) ต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ

 

 

Subject categories

คำอธิบาย

1

Text Analyst

ระบุชื่อ-สกุล ผู้อ่านสรุปงาน 

2

Subject

คำสำคัญ ที่บ่งบอกสาระสำคัญครอบคลุมประเด็นหลักของงานวิจัยหนังสือหรือบทความ นั้นๆ ตามลำดับความสำคัญดังนี้ ชื่อกลุ่มชาติพันธุ์  ประเด็นหลัก ประเด็นรอง จังหวัด/ภาค

3

Author

ระบุชื่อผู้แต่ง หรือชื่อบรรณาธิการ ตามที่ปรากฏในหนังสือหรือบทความ

เอกสารภาษาไทย ระบุชื่อ-สกุลผู้แต่ง (ราชทินนาม ยศ ตำแหน่ง) ระบุไว้ท้ายชื่อสกุล

เอกสารภาษาอังกฤษระบุชื่อสกุล, ชื่อกลาง, ชื่อตัว

4

Titles

ชื่อเรื่อง (งานที่เขียนด้วยภาษาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษาไทย ให้ใส่ชื่อเรื่องตามภาษาที่ใช้เขียนงาน และใส่ชื่อเรื่องที่แปลเป็นไทยต่อท้าย ยกเว้นงานที่เขียนด้วยภาษาอังกฤษ ไม่ต้องแปล)

5

Document Type

ระบุประเภทเอกสาร (หนังสือ, บทความ, รายงานวิจัย, วิทยานิพนธ์)

6

Total pages

ระบุจำนวนหน้า หรือ ช่วงหน้าของงาน

7

Source

ที่มาของบทความ/งานวิจัย ระบุชื่อหนังสือ/วารสาร ตามหลักของการเขียนบรรณานุกรม

(ชื่อหนังสือ “ชื่อบทความ”, สำนักพิมพ์, สถานที่พิมพ์, หน้า)

8

Year

ปีที่ตีพิมพ์

9

Location of Document

แหล่งที่พบและ/หรือจัดเก็บ เอกสาร/งานวิจัย/บทความ ชิ้นนั้นๆ

(เอกสาร/บทความสำเนาให้ระบุว่ามาจากศูนย์ฯ)

10

Focus

สรุปจุดเน้นของการศึกษาวิจัย

11

Theoretical Issue

ข้อเสนอหรือแนวคิดที่ผู้เขียนใช้ในการศึกษา

การเชื่อมโยงปรากฏการณ์ต่างๆ ในการศึกษา

12

Ethnic Group(s) in the Study

ให้ระบุกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นเป้าหมายในงานศึกษาเป็นหลัก

13

Language and

Linguistic Affiliation

อธิบายและให้ข้อมูลระบบภาษาและการจัดจำแนกตระกูลภาษา ที่ปรากฏในงาน

14

Community Site and Environment

สถานที่ทำการศึกษาวิจัย ระบุชื่อชุมชน/ตำบล/ อำเภอ/จังหวัด/ประเทศ/ทวีป

(ให้ระบุพิกัดละติจูดลองติจูด หากมีปรากฏในงานศึกษา)

ให้ข้อมูลลักษณะภูมิประเทศโดยสังเขป

15

Study Period

ช่วงเวลาของการศึกษาวิจัย 

(ระบุด้วยว่าเป็นการเก็บข้อมูลภาคสนาม ในช่วงใด)

16

History of the Group and community

ประวัติความเป็นมาของชุมชนที่ปรากฏในงานศึกษา

1.   หากเป็นงานศึกษาทางประวัติศาสตร์ ให้ข้อมูลเวลาที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ชุมชน

2.      หากเป็นงานศึกษาชุมชน ให้ระบุเวลาในการศึกษาชุมชน

3.      หากในงานศึกษาปรากฏข้อมูลทั้ง 2 ประเภท ให้ระบุข้อมูลทั้ง 2 ประเภท

17

Settlement Pattern

ให้ข้อมูลรูปแบบการตั้งถิ่นฐาน ลักษณะการตั้งบ้านเรือนของชนกลุ่มนั้น ตามที่ปรากฏในงานศึกษา

18

Demography (population number and structure, migration, birth and death) :

ให้ข้อมูลประชากร(ความหนาแน่น/อัตราการเกิด การตาย/จำนวนประชากร) ตามที่ปรากฏในงานศึกษา หากมีข้อมูลหลายระดับให้ใส่รายละเอียดมาด้วย

19

Economy (natural resources, resource utilization, technology, production, exchange, and consumption)

ให้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบการผลิต การแลกเปลี่ยน การบริโภค ตามที่ปรากฏในงานศึกษา

20

Social Organization (marriage, family structure types, kinship including descent groups, other kinds of grouping such as client-patron relationship, classes, interested groups and socialization)

ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างทางสังคมที่ปรากฏในงานศึกษา

 

21

Political Organization (power structure and relations, leadership, factions, conflicts, relationship to state, social control, laws)

ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างทางการเมืองการปกครองที่ปรากฏในงานศึกษา

 

22

Belief Systems (beliefs, values, ideology, religious rites and practices)

ให้รายละเอียดด้านศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ

23

Education and Socialization

ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการศึกษา การสืบทอดความรู้ และการเชื่อมโยงกับกระบวนขัดเกลาทางสังคม

24

Health and Medicine (sanity, beliefs related to health and healing)

อธิบายระบบการสาธารณสุขและการรักษาพยาบาล(ภูมิปัญญาในการรักษา) ที่กล่าวถึงในงานศึกษานั้นๆ

25

Folklore (myths, legends, stories and play)

ให้ข้อมูลเกี่ยวกับมุขปาฐะ นิทาน ตำนาน ที่ปรากฏในงานศึกษา

26

Arts and Crafts (architecture, clothing, literature, handicrafts, songs, dances, etc.) 

ให้ข้อมูลด้านสถาปัตยกรรม  ศิลปะการแสดง หัตถกรรม เสื้อผ้า การแต่งกาย

ที่ปรากฏในงานนั้นๆ

27

Ethnicity (ethnic identity, identification, ethnic maintenance, boundaries and relation)

ให้รายละเอียดความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์กับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ

หรือการธำรงชาติพันธุ์

ให้ใส่รายละเอียดการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีนัยยะของความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกัน

28

Socio-Cultural Change

อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม

29

Other Issue

ประเด็นสำคัญอื่นๆ ที่เน้นในงานศึกษาวิจัย

30

Abstract

สรุปสาระสำคัญของงานศึกษา

31

Map & Illustrate

ให้ระบุชื่อภาพ แผนที่ ที่ปรากฏในงาน

32

Date of Report

ระบุวันที่ส่งงานมาให้ตรวจสอบความถูกต้องความครบถ้วนของเนื้อหา

 

2. กลุ่มชาติพันธุ์และขอบเขตพื้นที่ที่จะสรุปงานวิจัยลงฐานข้อมูล

โครงการฯ ได้กำหนดขอบเขตความหมายของกลุ่มชาติพันธุ์ในลักษณะที่กว้างเพื่อที่จะสามารถครอบคลุมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้ในหลายลักษณะเนื่องจากการกำหนดความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กันอย่างเช่น ในช่วงเวลาของทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ งานวิจัยทางชาติพันธุ์ในยุคสมัยต่างจึงสะท้อนความหมายที่มีอยู่แตกต่างกันและแม้ในปัจจุบันก็ยังมีการใช้ในความหมายที่แตกต่าง        

 

จากการที่โครงการฯ ใช้ในความหมายที่กว้างดังกล่าว จึงทำให้ฐานข้อมูลมีขอบเขตที่กว้างขวางครอบคลุมทุกกลุ่มที่ระบุตัวเองว่ามีความแตกต่างทางวัฒนธรรมจากกลุ่มอื่น หรือถูกระบุว่ามีความแตกต่างทางวัฒนธรรม ในขั้นแรกนี้ทางโครงการฯ จึงพยายามวางกรอบและขอบเขตให้แคบเข้า จึงเลือกเก็บเนื้อหา “กลุ่มชาติพันธุ์” ต่างๆ ที่ถูกมองว่าเป็น “ชนกลุ่มน้อย” ของประเทศไทย จึงอาจจะไม่มีงานวิจัยที่เกี่ยวกับคนไทยภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ และยังไม่ได้รวมงานวิจัยเกี่ยวกับ “ชาวจีนโพ้นทะเล” ในประเทศไทย ซึ่งได้มีสถาบันวิชาการอย่างเช่น สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีความสนใจและได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับชาวจีนอยู่แล้ว

 

3.ลักษณะข้อมูล       

ในฐานข้อมูลจะมี 2 ประเภทคือ

1. สรุปงานวิจัยด้านชาติพันธุ์ ตาม Subject categories

2. การสืบค้นงานวิจัยผ่านแผนที่

         

 

4. ผู้อ่านงาน(text analyst)

โครงการฯ เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจงานด้านชาติพันธุ์มาร่วมอ่านงาน โดยได้เปิดรับสมัครนิสิต นักศึกษา ตั้งแต่ระดับชั้นปริญญาตรี ปริญญาโท และบุคคลทั่วไป เข้ามารับทราบรายละเอียดของโครงการ และแนวทางในการดำเนินงาน และได้มีการฝึกปฏิบัติ เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2546 มีผู้ที่สนใจเข้าร่วมฝึกอบรมและเริ่มอ่านงานในรุ่นแรก จำนวน 32 คน จากนั้นมีการฝึกอบรมพร้อมกับการทบทวนความรู้เกี่ยวกับประเด็นศึกษาสำคัญ ครั้งที่ 2 ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2546

ปัจจุบันเครือข่ายสมาชิกผู้อ่าน จนถึงเดือนสิงหาคม 2554 มีผู้เข้าร่วมอ่านงานให้เราจำนวน 183 คน ซึ่งมาจากอาชีพ หลากหลาย ทั้งนิสิต นักศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี บุคคลทั่วไป เจ้าหน้าที่ของรัฐ และเจ้าหน้าที่จากองค์กรเอกชน และเรายังคงเปิดรับผู้อ่านงาน เพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาฐานข้อมูลอย่างต่อเนื่อง หากท่านรักการอ่าน และสนใจเรื่องชาติพันธุ์ ชาวเขา ชนกลุ่มน้อย มีความสามารถในการเรียบเรียงถ่ายทอดประเด็นศึกษาสำคัญ หรือต้องการฝึกทักษะ การอ่านจับใจความ และต้องการพัฒนาการศึกษาเรื่องชาติพันธุ์ เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง หากท่านสนใจจะเข้าร่วมงานกับเรา

ร่วมงานกับเรา

โครงการฯ มีความตั้งใจส่งเสริมให้ผู้สนใจเข้ามามีส่วนร่วมในการอ่านและสังเคราะห์งานวิจัยเพื่อลงในฐานข้อมูล ทั้งที่เป็น หนังสือ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย บทความ ซึ่งจะมีทั้งงานที่เขียนด้วยภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ อาทิเช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเวียดนาม เพื่อสรุปเรียบเรียงเนื้อหาสาระสำคัญ เป็นภาษาไทย ตามประเด็นที่เราได้ตั้งไว้ 32 หัวข้อ โปรดดูคำสำคัญและคำแนะนำในการอ่านงาน

การส่งงาน-ตรวจ-แก้ไข-นำเข้าสู่ระบบ

เมื่อท่านส่งงานที่ได้สรุปสาระสำคัญในการศึกษามาให้เราแล้ว งานชิ้นดังกล่าวจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องจากนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านชาติพันธุ์ หากมีข้อแก้ไข เราจะคืนงานให้ท่านไปปรับแก้ตามคำแนะนำของนักวิชาการ งานที่ผ่านการปรับแก้แล้ว จะนำเข้าสู่ระบบการสืบค้นเพื่อเผยแพร่ต่อไป

ข้อคำนึง

เพื่อเป็นการเคารพสิทธิทางปัญญาของเจ้าของงานต้นฉบับ ขอความกรุณาผู้อ่านงานทุกท่าน อย่าได้คัดลอกหรือตัดต่อข้อความใดๆ ในเนื้องาน ขอให้เรียบเรียงด้วยถ้อยคำ สำนวนภาษาของท่านเอง และขอให้ระบุหน้า หรือช่วงหน้า ที่ปรากฏเนื้อหาดังกล่าวไว้ท้ายข้อความนั้นๆ ทั้งนี้ชื่อผู้อ่านงานทุกท่านจะปรากฏในงานแต่ละชิ้นด้วย

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง