สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย    

 

รายชื่องานวิจัยด้านชาติพันธุ์ในฐานข้อมูล จำนวน 1377 รายการ

 

 

  Author Title Source Year
1. บูรณ์เชน สุขคุ้ม การสู่ขวัญของกลุ่มชาติพันธุ์กูยในจังหวัดศรีสะเกษ วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (ม.ค.–เม.ย.) 2564 หน้า 108-122 2564
2. สุนิติ จุฑามาศ รายงานศึกษาการทำบุญ-กินบุญ: พิธีกรรม ประเพณีวิถีชีวิต พลวัตของความเชื่อ ทางศาสนาและวัฒนธรรมของชาวมุสลิมกรณีศึกษาชุมชนมัสยิดยะวา กรุงเทพมหานคร สุนิติ จุฑามาศ. (2564). พลวัตทางสังคมและวัฒนธรรมมุสลิมศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. 2564
3. ปัญจพร คำโย, เนาวรัตน์ มากพูลผล และรัตนพงศ์ มิวันเปี้ย ความคาดหวังของกลุ่มชาติพันธุ์อึมปี้ที่มีต่อผู้นำทางการเมืองท้องถิ่นที่พึงประสงค์ กรณีศึกษา: หมู่บ้านดง จังหวัดแพร่ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 11 (2) ก.ค. – ธ.ค. 2563 2563
4. องอาจ อินทนิเวศ ดนตรีในวัฒนธรรมไทยอง จังหวัดเชียงราย วารสารฟ้าเหนือ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) 2563 หน้า 5-30 2563
5. เสถียร ฉันทะ และสุรินทร์ ทองคำ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ข้าวพื้นเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าในจังหวัดเชียงราย วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น). ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) 2563 หน้า 67-78 2563
6. พลวัฒ ประพัฒน์ทอง, เชิดชาติ หิรัญโร, และพวงผกา ธรรมธิ ชาติพันธุ์สัมพันธ์ในพื้นที่ของพุทธศาสนาของกลุ่มปลัง (ไตดอย-ลัวะ) พลวัฒ ประพัฒน์ทอง, เชิดชาติ หิรัญโร และพวงผกา ธรรมธิ. (2563).โครงการ ชาติพันธุ์สัมพันธ์ในพื้นที่ของพุทธศาสนาของกลุ่มปลัง (ไตดอย-ลัวะ). กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 2563
7. ชูพินิจ เกษมณี, กิตติศักดิ์ รัตนกระจ่างศรี, แกม อะวุงชิ ชิมเร, พิราวรรณ วงศ์นิธิสถาพร การวิจัยสำรวจสถานการณ์และนโยบายชนเผ่าพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์ ชูพินิจ เกษมณี และคณะ. (2563). การวิจัยสำรวจสถานการณ์และนโยบายชนเผ่าพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. ค้นคว้าเมื่อ 16 ธันวาคม 2564 , จาก ฐานข้อมูลงานวิจัย ศมส. 2563
8. นภาพร อติวานิชยพงศ์, ปรัชญาพร โพธิ์แก้ว, สรัญญา กุลชะโมรินทร์, ปิ่นปินัทธ์ กมลอิง, อำไพ ดาวกลางไพร ถอดบทเรียนพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553 นภาพร อติวานิชยพงศ์ และคณะ. (2563). ถอดบทเรียนพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษ ตามมติคณะรัฐมนตรี 3 สิงหาคม 2553. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2563
9. วรวิทย์ นพแก้ว, กิตติพัฒน์ คงมะกล่ำ, สมบัติ ชูมา, อังคาร ครองแห้ง, รัตนา ภูเหม็น แนวทางการจัดการเขตพื้นที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย และการฟื้นฟูวิถีชีวิตวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านภูเหม็น ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี วรวิทย์ นพแก้ว และคณะ. (2563). แนวทางการจัดการเขตพื้นที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย และการฟื้นฟูวิถีชีวิตวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านภูเหม็น ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. 2563
10. วสันต์ ปัญญาแก้ว, วัฒนา สุกัณศีล, กนกวรรณ สมศิริวรางกูล การศึกษาแนวทางและความเป็นไปได้ในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน วสันต์ ปัญญาแก้ว และคณะ. (2563). การศึกษาแนวทางและความเป็นไปได้ในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2563
11. สดานุ สุขเกษม เรียนรู้จากการซ่อมสร้างชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน 2562
12. ทิพย์วิมล ศิรินุพงศ์, พรพรรณ กาญจนาธิวัฒน์ แผ่นดินกลางใจกะเหรี่ยงแก่งกระจาน มูลนิธิผสานวัฒนธรรม 2562
13. รชพรรณ ฆารพันธ์ หนังสือภาพถ่ายวิถีชาวพวนแพร่ อุดรธานี สุพรรณบุรี เพชรบุรี สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2562
14. อิสริยะ นันท์ชัย, โชติมา จตุรวงค์ สถาปัตยกรรมจองวัดปะโอ (ต่องสู้) ในประเทศไทย และเมืองสะเทิม วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (2562) หน้า 8-31 2562
15. สุริยัน ปาละอ้าย โครงการ “ปาสะโฮโพ” รักวิถีปกาเกอะญอ ร่วมสานต่อพิธีกรรมของคนสันโป่ง - 2562
16. ปัญณวิชญ์ แสงจันทร์, เมธินี ศรีบุญเรือง, ศรัณย์พงศ์ สินธุยี่, ต้นตะวัน สุวรรณศรี, ดวงกมล ตาเต๊อะ, นพรัตน์ กุมาลา, สิรินทร์รัตน์ สิงห์คำ, พิสุทธิลักษณ์ บุญโต โครงการนิทรรศการและหนังสือชุดประวัติศาสตร์และพลวัตวัฒนธรรม : จากอดีตสู่ปัจจุบันชุมชนชาวปกาเกอะญอในหมู่บ้านแม่ขะปู (เปียง) ตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ปัญณวิชญ์ แสงจันทร์ และคณะ. (2562). นิทรรศการและหนังสือชุดประวัติศาสตร์และพลวัตวัฒนธรรม: จากอดีตสู่ปัจจุบันชุมชนชาวปกาเกอะญอในหมู่บ้านแม่ขะปู (เปียง) ตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. 2562
17. เอกภักดิ์ จำแน่, กรกฎ จะนู, จักรวาล กิริยาภรณ์, ศิริพร จุฬาลักษณ์นาถ, กรรณิการ์ สิงตะจักร์, ปฐวีพร จิ๋วสายแจ่ม การเก็บรวบรวมข้อมูลและจัดทำหนังสือภาพถ่ายประกอบคำบรรยาย ชุมชนพหุวัฒนธรรม (ลาหู่ ลีซู และม้ง) ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เอกภักดิ์ จำแน่ และคณะ. (2562). การเก็บรวบรวมข้อมูลและจัดทำหนังสือภาพถ่ายประกอบคำบรรยาย ชุมชนพหุวัฒนธรรม (ลาหู่ ลีซู และม้ง) ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. 2562
18. สุนทร ทัศนาสาร มันนิภูบรรทัดในกระแสความเปลี่ยนแปลง สุนทร ทัศนาสาร . (2562). มันนิภูบรรทัดในกระแสความเปลี่ยนแปลง. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 2562
19. อภิสรา แซ่ลี, กิตติทัช คุณยศยิ่ง, ภัทร์นิธิ กาใจ, ยุพารัตน์ บัวหอม, ยุทธการ เทพจันตา, ธีรินทร์ แสนคำ, พิมพ์ธิดาภัทร์ เศรษฐกิจ, ประภาพร คำแสน การรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมท้องถิ่นเพื่อแสดงถึงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง ชุมชนช่างเคี่ยน ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ อภิสรา แซ่ลี และคณะ. (2562). การรวบรวมภูมิปัญญาหัตถกรรมท้องถิ่นเพื่อแสดงถึงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง ชุมชนขุนช่างเคี่ยน ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. 2562
20. กรด เหล็กสมบูรณ์ การศึกษาภูมิปัญญาการดูแลรักษาสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ไทขึ้นในปรเทศไทย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กรด เหล็กสมบูรณ์. (2562). การศึกษาภูมิปัญญาการดูแลรักษาสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ไทขึนในประเทศไทย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2562


 


 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง