สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  คำถามที่พบบ่อย
ชาวเขา ชนกลุ่มน้อย ชาติพันธุ์เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
การเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ว่า “ชาวเขา” “ชนกลุ่มน้อย” เป็นคำที่เคยถูกนำมาใช้เรียกกลุ่มชนที่มีลักษณะวัฒนธรรมที่แตกต่างจากสังคมกระแสหลักหรือคนกลุ่มใหญ่ในสังคมค่ะ ทั้งนี้ขออ้างจากกรมการปกครอง ซึ่งให้ความหมายไว้ในเอกสารของสำนักทะเบียนราษฎร์เกี่ยวกับชาวเขาชนกลุ่มน้อยว่า

“ชาวเขา (Hill tribe) หมายถึง ชนเผ่าที่อาศัยในเขตบริเวณที่สูงกว่าระดับพื้นดิน โดยปกติจะมีภาษาพูด และวัฒนธรรมแตกต่างจากไทยทั่วไป”

“ชนกลุ่มน้อย (Minority)หมายถึง กลุ่มชนที่มิใช่คนไทย มีจำนวนน้อยกว่าเจ้าของประเทศ และมีวัฒนธรรมแตกต่างกันไป อาศัยอยู่ในประเทศไทย อาจเป็นชนกลุ่มน้อยดั้งเดิม เช่น ชาวเขา หรือเป็นผู้อพยพมา หลบหนีเข้าเมืองหรือเข้ามาพักชั่วคราว”

ปัจจุบันในวงวิชาการจึงเสนอให้ใช้คำว่า กลุ่มชาติพันธุ์ (Ethnic Group) ในการเรียกกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมของตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยงนัยยะการดูถูกทางวัฒนธรรม พร้อมทั้งให้หันมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นชาติพันธุ์(Ethnicity) เพื่อเป็นกระบวนการที่แสดงความมีตัวตนทางวัฒนธรรม การมีอัตลักษณ์ และความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชน หากสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมแนะนำให้ศึกษาจากบทความเรื่อง “การจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ : ปัญหาและข้อเสนอแนะ” โดย ผศ. ดร. ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ ในฐานข้อมูลงานวิจัยชาติพันธุ์ค่ะ

อยากทราบว่าในประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์กี่กลุ่ม
การจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์มีการจำแนกด้วยหลายหลักเกณฑ์ค่ะ เช่น การจำแนกด้วยตระกูลภาษา การจำแนกด้วย อัตลักษณ์ความเป็นชาติพันธุ์ หรือในฐานข้อมูลเรียกว่า การจำแนกด้วยชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง(Ethnic Identity) ซึ่งในฐานข้อมูลงานวิจัยชาติพันธุ์ ได้จำแนกด้วยระบบนี้ค่ะ

จากการสำรวจ ศึกษา และประมวลจากงานวิจัย ในขณะนี้พบว่า ในประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์ประมาณ 62 กลุ่ม ค่ะ รายละเอียดดูได้ในหน้าเพจของฐานข้อมูลค่ะ อย่างไรก็ตาม การจำแนกชาติพันธุ์มิได้ตายตัวหรือดำรงอยู่แบบถาวร แต่มีลักษณะพลวัตตามบริบททางประวัติศาสตร์ สังคมวัฒนธรรมและการเมือง จึงเป็นไปได้ว่าในอนาคตอาจมีข้อค้นพบเกี่ยวกับจำนวนที่น่าสนใจในทางมานุษยวิทยาชาติพันธุ์กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยได้

เหตุใดจึงมีการเปลี่ยนคำเรียกชาว "เย้า" มาเป็น "เมี่ยน"
"เย้า" เป็นชื่อที่คนอื่นเรียกค่ะ แต่ในภาษาของเขาเอง เขาเรียกตัวเองว่า "เมี่ยน" ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีการเรียกร้องให้เรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ตามที่เขาเรียกตนเอง จึงเปลี่ยนมาเรียกว่า "เมี่ยน" ค่ะ เช่นเดียวกับคำว่า "อีก้อ" "แม้ว" ที่เป็นคำที่คนนอกเรียก มีนัยยะของการดูหมิ่น ในปัจจุบันจึงเปลี่ยนมาเรียกว่า "อาข่า" และ "ม้ง" ซึ่งเป็นคำที่เขาเรียกตัวเองค่ะ
 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง