banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / การพัฒนาอย่างยั่งยืน

การพัฒนาอย่างยั่งยืน

Export All

image author

รวบรวมโดย : จรรยา ยุทธพลนาวี

เผยแพร่ 05 พ.ค. 2564

ขอบเขตของเนื้อหา

            สมาชิกของสหประชาชาติได้รับรองวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2573 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเน้นให้ความสำคัญกับการปรับสมดุลทั้ง 3 มิติของการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบบูรณาการและการมีส่วนร่วมเพื่อไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง[1]  มิติของการพัฒนาในปัจจุบันจึงมุ่งเน้นไปภายใต้แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

           แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับชุมชนท้องถิ่น จึงเป็นแนวคิดการพัฒนาที่สามารถให้ชุมชนท้องถิ่นใช้ศักยภาพของตนเองมาเป็นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนา โดยมุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับสิทธิชุมชนและสิทธิทางวัฒนธรรมในการจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติ รวมถึงทรัพยากรทางวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

          คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวบรวมหนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธุ์ บทความในหนังสือ วารสาร ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน สิทธิชุมชน สิทธิทางวัฒนธรรมและการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่สนใจค้นคว้าในประเด็นดังกล่าวสามารถใช้ประโยชน์ในการศึกษาได้ต่อไป

 
[1] OpenDevelopment Thailand. เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน. วันที่เข้าถึง 7 สิงหาคม 2564 จาก https://thailand.opendevelopmentmekong.net/th/topics/sustainable-development-goals/

คำสำคัญ

แหล่งข้อมูล

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศ มุสลิม ประกอบด้วยแหล่งข้อมูล ดังนี้ หนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษ (Book), งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ (Research) ,บทความในหนังสือ (Book Chapter), บทความในวารสาร (Articles), สื่อโสตทัศน์ (Multimedia), ฐานข้อมูล (Database), เว็บไซต์ (Website), องค์กร (Organisation)

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

Terry B. Grandstaff.

Imprint

Honolulu, H.I. : University of Hawaii, 1976

Collection

Research and Thesis: DS258.2.K35.G72 1976

Annotation

     งานวิจัยเรื่องนี้ศึกษาการปรับตัวในการทำไร่หมุนเวียนของกลุ่มชาวเขาทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ กลุ่มแม้วและกะเหรี่ยง โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ถึงความต้องการพื้นที่ ปัจจัยทางประวัติศาสตร์ และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม รวมถึงการวิเคราะห์การใช้ป่าปฐมภูมิและป่าทุติยภูมิของกลุ่มชาวเขา
     ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาถึงการใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าหมุนเวียนของชาวเขาทั้ง 2 กลุ่ม โดยพบว่า การทำไร่หมุนเวียนของชาวกะเหรี่ยงในอดีตนั้น เป็ฯการอาศัยอยู่ในป่าและจะเปลี่ยนพื้นที่เพาะปลูกไปตามฤดูกาลหรือตามความเหมาะสมของพื้นที่ในการทำกิจกรรมทางเกษตร ชาวกะเหรี่ยงได้อพยพจากป่าลงมาสู่ที่ราบและเข้าสู่ระบบเกษตรแบบที่ดินทำกิน ขณะกลุ่มชาวแม้วนั้นนอกจากใช้พื้นที่ป่าในการเกษตรกรรมแล้วยังมีการใช้พื้นที่ในการปลูกฝิ่น ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจในช่วงเวลาหนึ่งก่อนที่ชาวแม้วจะได้รับผลกระทบภายหลังจากมีนโยบายยกเลิกการปลูกฝิ่นในประเทศไทย 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ