banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / การพัฒนาอย่างยั่งยืน

การพัฒนาอย่างยั่งยืน

Export All

image author

รวบรวมโดย : จรรยา ยุทธพลนาวี

เผยแพร่ 05 พ.ค. 2564

ขอบเขตของเนื้อหา

            สมาชิกของสหประชาชาติได้รับรองวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2573 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเน้นให้ความสำคัญกับการปรับสมดุลทั้ง 3 มิติของการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบบูรณาการและการมีส่วนร่วมเพื่อไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง[1]  มิติของการพัฒนาในปัจจุบันจึงมุ่งเน้นไปภายใต้แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

           แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับชุมชนท้องถิ่น จึงเป็นแนวคิดการพัฒนาที่สามารถให้ชุมชนท้องถิ่นใช้ศักยภาพของตนเองมาเป็นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนา โดยมุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับสิทธิชุมชนและสิทธิทางวัฒนธรรมในการจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติ รวมถึงทรัพยากรทางวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

          คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวบรวมหนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธุ์ บทความในหนังสือ วารสาร ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน สิทธิชุมชน สิทธิทางวัฒนธรรมและการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่สนใจค้นคว้าในประเด็นดังกล่าวสามารถใช้ประโยชน์ในการศึกษาได้ต่อไป

 
[1] OpenDevelopment Thailand. เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน. วันที่เข้าถึง 7 สิงหาคม 2564 จาก https://thailand.opendevelopmentmekong.net/th/topics/sustainable-development-goals/

คำสำคัญ

แหล่งข้อมูล

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศ มุสลิม ประกอบด้วยแหล่งข้อมูล ดังนี้ หนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษ (Book), งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ (Research) ,บทความในหนังสือ (Book Chapter), บทความในวารสาร (Articles), สื่อโสตทัศน์ (Multimedia), ฐานข้อมูล (Database), เว็บไซต์ (Website), องค์กร (Organisation)

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

รัตนาพร เศรษฐกุล

Imprint

กรุงเทพฯ : นิติธรรม, 2546

Collection

Research and Thesis: JC599.ท9ห746 2546

Annotation

     งานวิจัยเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดโครงการสิทธิชุมชนท้องถิ่นจากจารีตประเพณีสู่สถานการณ์ปัจจุบัน: การศึกษาเพื่อแสวงหาแนวทางนโยบายสิทธิชุมชนท้องถิ่นในประเทศไทย โดยศึกษาผลของการพัฒนาและนโยบายของรัฐที่มีต่อชุมชนชาวเขา สภาพปัญหาสิทธิชุมชนชาวเขาในภาคเหนือของประเทศไทย ใน 6 หมู่บ้านกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้เป็นกรณีศึกษา ได้แก่ 
1. หมู่บ้านชาวเมี่ยน บ้านห้วยกอก ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา
2. หมู่บ้านชาวปะหล่อง บ้านปางแดง ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
3. หมู่บ้านชาวละหู่ บ้านโป่งไฮ บ้านดอนแหลม และบ้านป่ากุ๋ย อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ และบ้านห้วยปง ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
4. หมู่บ้านชาวอะข่า บ้านจอมหด ตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ บ้านแม่ตาแมว ตำบลเจดีย์หลวง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย บ้านแม่คำหล้า ตำบลบ้านส้อง อำเภองาว จังหวัดลำปาง
5. หมู่บ้านชาวม้ง ตำบลคีรีราษฎร์ และตำบลรวมไทยพัฒนา อำเภอพบพระ จังหวัดตาก
6. หมู่บ้านชาวลีซู บ้านห้วยไคร้ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
     ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการที่รัฐไม่ไว้ใจให้ชุมชนชาวเขาจัดการกับทรัพยากรบนพื้นที่สูงด้วยตนเองและพยายามแยกชาวเขาออกจากป่า รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนพยายามแก้ไขปัญหาด้านที่ดินทำกินและสิทธิในการอยู่อาศัยของชาวเขาโดยที่ไม่เปิดโอกาสให้ชาวเขาได้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายหรือวิธีการแก้ปัญหา และรัฐมักจะให้ความสำคัญกับนโยบายหลักของชาติและบีบบังคับให้ชาวเขาเป็นผู้เสียสละอัตลักษณ์และวิถีชีวิตดั้งเดิมของพวกเขา 

อ่านต่อ...
image

Author

คณะผู้วิจัย เลิศชาย ศิริชัย, อุดม หนูทอง, สืบพงษ์ ธรรมชาติ, สมเจตนา มุนีโมไนย และนพดล กิตติกุล ; ชลธิรา สัตยาวัฒนา หัวหน้าโครงการ บรรณาธิการวิชาการ.

Imprint

กรุงเทพฯ : นิติธรรม, 2546

Collection

Research and Thesis: JC599.ท9ต947 2546

Annotation

งานวิจัยเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดโครงการสิทธิชุมชนท้องถิ่นจากจารีตประเพณีสู่สถานการณ์ปัจจุบัน: การศึกษาเพื่อแสวงหาแนวทางนโยบายสิทธิชุมชนท้องถิ่นในประเทศไทย โดยศึกษาชุมชนที่มีปัญหาจากการรุกรานสิทธิชุมชนจากการพัฒนาประเทศ จำนวน 5 หมู่บ้าน ได้แก กรุงชิง กิ่งอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช, บ้านเล อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา, บ้านโคกสัก อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา, บ้านเจ้าไหม อำเภอกันตัง จังหวัดตรีง และบ้านหาดราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ชุมชนหมู่บ้านดังกล่าวประสบปัญหาในลักษณะเดียวกัน กล่าวคือ เมื่อรัฐเข้ามามีบทบาทในการจัดการทรัพยากร ใช้กฎหมายบังคับในที่ดินทำกิน และประกาศนโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวทางทะเล ซึ่งส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนหมู่บ้านเหล่านี้ แต่ชุมชนก็พยายามตอบโต้เพื่อคงความอยู่รอดและรักษาอัตลักษณ์ของชุมชนไว้ด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งการขยายเขตทำกิน การตอบโต้เชิงอำนาจ การดื้อแพ่ง การใช้กำลังตอบโต้ การชูธงขบวนการอนุรักษ์ กระบวนการตอบโต้นี้จะต้องอาศับการรวมพลังของชาวบ้านในชุมชนเพื่อทวงสิทธิ์ของชุมชนกลับคืน และถึงไม่อาจบอกได้ว่าขบวนการสิทธิชุมชนประสบผลสำเร็จ แต่ก็เห็นความกล้าแข็งที่เกิดขึ้นในชุมชน สามารถขยายพื้นที่แสดงตัวตนได้มากขึ้นซึ่งน่าจะส่งผลให้รัฐเข้าใจชุมชน เข้าใจสถานการณ์และเห็นความสำคัญในการคืนอำนาจในการดูและจัดการทรัพยาการให้เป็นสิทธิของชุมชน

อ่านต่อ...
image

Author

อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว

Imprint

กรุงเทพฯ : นิติธรรม, 2546

Collection

Research and Thesis: JC599.ท9ห754 2546

Annotation

งานวิจัยเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดโครงการสิทธิชุมชนท้องถิ่นจากจารีตประเพณีสู่สถานการณ์ปัจจุบัน: การศึกษาเพื่อแสวงหาแนวทางนโยบายสิทธิชุมชนท้องถิ่นในประเทศไทย โดยศึกษาสิทธิชุมชนจากกฎหมายและจารีตล้านนาผ่านเอกสารโบราณที่สะท้อนเรื่อง “สิทธิ” รวมถึงการนำเสนอเรื่องราวของกลุ่มคน “ละว้า” ในไทยและอุษาคเนย์ ในฐานะชุมชนพื้นเมืองดั้งเดิม ตลอดจนการศึกษาสิทธิชุมชนของคนท้องถิ่นล้านนา ได้แก่ ชุมชนชาวไท-ยวน ชุมชนชาวกะเหรี่ยงหรือปกาเกอญอ และชุมชนชาวไทลื้อ ด้านการจัดการทรัพยากร จารีตประเพณี ความสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านทั้งสามกลุ่มซึ่งส่งผลถึงการเข้าถึงสิทธิทางวัฒนธรรมและสิทธิในการตั้งถิ่นฐาน ส่วนสุดท้ายเป็นการนำเสนอประมวลความรู้เพื่อแสดงให้เห็นพลังของสิทธิชุมชนในการเปลี่ยนแปลงและเป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาสังคมได้ 

อ่านต่อ...
image

Author

พงษ์ทร ชยาตุลชาต.

Imprint

[กรุงเทพฯ] : คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2546

Collection

Research and Thesis: DS570.อ6พ24 2546

Annotation

งานวิจัยเล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาพื้นบ้านในการทำการเกษตรยังยืนบนที่สูงของชาวเขาเผ่าอาข่า ในอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย โดยมุ่งเน้นศึกษาในประเด็นการดำเนินวิถีชีวิต ระบบจารีตประเพณี ความเชื่อ ระบบคิดในการทำการเกษตรยังยืนบนที่สูง ใช้ระเบียบวิจัยด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกตและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรที่ทำการเกษตรแบบยั่งยืนแบบผสมผสาน จำนวน 20 ราย ผลการวิจัยพบว่าการดำเนินชีวิตในการเกษตรแบบยั่งยืนของชาวเขาเผ่าอาข่าเป็นรูปแบบของการเกษตรแบบยังชีพ มีกระบวนการการเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเกษตรจากจากบรรพบุรุษสู่รุ่นพ่อแม่ และถ่ายทอดสู่รุ่นลูก และมีการประยุกต์ระหว่างภูมิปัญญาที่มีอยู่ผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่บ้าง เช่น การจัดการระบบน้ำ และการนำพันธุ์พืชจากภายนอกเข้ามาทดลองปลูกเพื่อมุ่งหวังผลด้านเศรษฐกิจ

อ่านต่อ...
image

Author

กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, 2537

Imprint

Research and Thesis: S471.ท9ก64

Collection

http://lib.sac.or.th/catalog/BibItem.aspx?BibID=b00023539

Annotation

บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 4 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาวิธีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในที่สูง 2) เพื่อหาผลตอบแทนของการผลิตในที่สูงจากพืชชนิดต่างๆ 3) เพื่อชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายนอก ที่จะมีผลต่อความยั่งยืนของระบบ และ 4) เพื่อหาแนวทางร่วม ในการพัฒนาชุมชนในที่สูง อย่างมีเอกภาพ และในขณะเดียวกัน สามารถรักษาสภาพแวดล้อม ไว้ให้ยั่งยืน โดยคณะผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูล ภาพรวมของโครงการพัฒนาที่สูงต่างๆ จำนวน 12 หมู่บ้าน จากในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดเชียงใหม่ โดยผลของการศึกษานี้ คณะผู้วิจัยได้รับข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต และการใช้ทรัพยากร ของระบบเกษตรกรที่สูง รวม ถึงรายได้ของระบบพืชต่างๆ รวมถึงลักษณะโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ รวมถึงบทบาทขององค์กรในหมู่บ้านและปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายนอก โดยจากการศึกษาพบว่าแนวทางในการพัฒนาชุมชนที่สูงจำเป็นต้องมีการจัดการน้ำในเขตต้นน้ำลำธารให้มีความยั่งยืน รวมทั้งต้องให้ประชากรมีความเป็นอยู่ที่ดี โดยต้องมีการควบคุมจำนวนประชากรบนที่สูง ให้การสนับสนุนการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งการส่งเสริมการเกษตรที่สูงเชิงอนุรักษ์อย่างมีบูรณาการโดยหน่วยงานราชการทุกภาคส่วน มีการวางกลยุทธ์กึ่งพาณิชย์ มีการรับรองการใช้ที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมายพัฒนาระบบการปลูกข้าวและพืชพาณิชย์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ รวมทั้งมีตลาดและมีการคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ