banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / การพัฒนาอย่างยั่งยืน

การพัฒนาอย่างยั่งยืน

Export All

image author

รวบรวมโดย : จรรยา ยุทธพลนาวี

เผยแพร่ 05 พ.ค. 2564

ขอบเขตของเนื้อหา

            สมาชิกของสหประชาชาติได้รับรองวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2573 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเน้นให้ความสำคัญกับการปรับสมดุลทั้ง 3 มิติของการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบบูรณาการและการมีส่วนร่วมเพื่อไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง[1]  มิติของการพัฒนาในปัจจุบันจึงมุ่งเน้นไปภายใต้แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

           แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับชุมชนท้องถิ่น จึงเป็นแนวคิดการพัฒนาที่สามารถให้ชุมชนท้องถิ่นใช้ศักยภาพของตนเองมาเป็นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนา โดยมุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับสิทธิชุมชนและสิทธิทางวัฒนธรรมในการจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติ รวมถึงทรัพยากรทางวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

          คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวบรวมหนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธุ์ บทความในหนังสือ วารสาร ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน สิทธิชุมชน สิทธิทางวัฒนธรรมและการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่สนใจค้นคว้าในประเด็นดังกล่าวสามารถใช้ประโยชน์ในการศึกษาได้ต่อไป

 
[1] OpenDevelopment Thailand. เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน. วันที่เข้าถึง 7 สิงหาคม 2564 จาก https://thailand.opendevelopmentmekong.net/th/topics/sustainable-development-goals/

คำสำคัญ

แหล่งข้อมูล

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศ มุสลิม ประกอบด้วยแหล่งข้อมูล ดังนี้ หนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษ (Book), งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ (Research) ,บทความในหนังสือ (Book Chapter), บทความในวารสาร (Articles), สื่อโสตทัศน์ (Multimedia), ฐานข้อมูล (Database), เว็บไซต์ (Website), องค์กร (Organisation)

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

Castro, Fabio de and Mcgrath, David G

Imprint

-

Collection

Journal: Human organization vol. 62, no. 2 (Summer 2003), p. 123-133

Annotation

     บทความนี้กล่าวถึงระบบการบริหารจัดการของท้องถิ่นเกี่ยวกับการทำประมงในที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำแอมะซอน ประเทศบราซิล ซึ่งประกอบไปด้วยชุมชนที่รวมกลุ่มกันสร้างระบบจัดการเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังกล่าวถึงข้อตกลงของชุมชนในการทำประมงในลุ่มแม่น้ำแอมะซอนล่าง จำนวน 77 ฉบับ ที่จัดทำขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1981 1997 อันเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความยั่งยืนในการใช้ประโยชน์พื้นที่ดังกล่าวร่วมกัน
    ไม่เพียงแต่ชุมชนในพื้นที่โดยรอบที่ราบลุ่มบริเวณแม่น้ำแอมะซอนที่ร่วมทำข้อตกลงในการบริหารจัดการทรัพยากร ยังมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการด้วย โดยใจความสำคัญในข้อตกลงประกอบด้วย การจำกัดอุปกรณ์ทำประมง การจำกัดฤดูกาล วัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจ พื้นที่ในการทำประมง  

อ่านต่อ...
image

Author

McCabe, J. Terrence

Imprint

-

Collection

Journal: Human organization vol. 62, no. 2 (Summer 2003), p.100-111

Annotation

     บทความเรื่องนี้กล่าวถึงวิถีชีวิตของชนเผ่ามาไซที่อาศัยในตอนเหนือของประเทศแทนซาเนีย ซึ่งประสบปัญหาจากนโยบายจากภาครัฐที่กำหนดขอบเขตการอาศัยในพื้นที่อนุรักษ์อึงโกรองโกโร ชาวมาไซจึงพยายามจะสร้างวิถีชีวิตที่ยั่งยืนเพื่อให้ตอบสนองการเพิ่มจำนวนประชากร ความผันผวนของจำนวนปศุสัตว์ พื้นที่เลี้ยงสัตว์ที่ลดลง และความทันสมัยที่เข้ามาได้เพิ่มความสำคัญของระบบเงินตราอีกด้วย
     ผู้เขียนจึงวิเคราะห์แนวทางที่จะช่วยเกิดความยั่งยืนในการดำรงชีวิตของชาวมาไซด้วยการใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมผสานด้วยการนำความรู้ทางด้านปศุศัตว์มาทำให้เกิดเป็นรายได้หลัก และเพิ่มเติมด้วยผลผลิตจากการเพาะปลูก 

อ่านต่อ...
image

Author

Jian, Li

Imprint

-

Collection

Journal: Human organization vol. 60, no. 1 (Spring 2001), p.80-94

Annotation

     บทความนี้นำเสนอผลกระทบจากการพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตรของกลุ่มชาติพันธุ์ ผ่านการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการกำหนดทิศทางด้านเกษตรกรรม ผลผลิต และการลงทุนในหมู่บ้านชาวเย้าจำนวน 8 แห่ง ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงรายและพะเยา ช่วงปีค.ศ. 1997 1998 ผ่านการศึกษาโครงการหลวงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเขาซึ่งการพัฒนานี้มีส่วนช่วยให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของชาวชนเผ่า 
     การพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อการทำเกษตรกรรมของชาวเขา ภายหลังนโยบายการห้ามปลูกฝิ่น หน่วยงานด้านการพัฒนาทั้งจากรัฐบาลไทยและต่างประเทศได้แนะนำให้ชาวเขาพัฒนาเมล็ดข้าวโพดและปลูกลิ้นจี่ให้เป็นพืชเศรษฐกิจ การเปลี่ยนวิธีและเทคนิคการเพาะปลูกให้มีความทันสมัย เช่น การใช้รถแทร็คเตอร์ สารเคมี สารกำจัดศัตรูพืช 
     ผู้เขียนได้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำเกษตรอย่างยั่งยืนซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่หน่วยงานควรนำไปใช้เป็นนโยบายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ โดยประกอบด้วยมิติการพัฒนาทางด้านสิ่งแวดล้อมเศรษฐกิจ และสังคม 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ