banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / การพัฒนาอย่างยั่งยืน

การพัฒนาอย่างยั่งยืน

Export All

image author

รวบรวมโดย : จรรยา ยุทธพลนาวี

เผยแพร่ 05 พ.ค. 2564

ขอบเขตของเนื้อหา

            สมาชิกของสหประชาชาติได้รับรองวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2573 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเน้นให้ความสำคัญกับการปรับสมดุลทั้ง 3 มิติของการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบบูรณาการและการมีส่วนร่วมเพื่อไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง[1]  มิติของการพัฒนาในปัจจุบันจึงมุ่งเน้นไปภายใต้แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

           แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับชุมชนท้องถิ่น จึงเป็นแนวคิดการพัฒนาที่สามารถให้ชุมชนท้องถิ่นใช้ศักยภาพของตนเองมาเป็นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนา โดยมุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับสิทธิชุมชนและสิทธิทางวัฒนธรรมในการจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติ รวมถึงทรัพยากรทางวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

          คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวบรวมหนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธุ์ บทความในหนังสือ วารสาร ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน สิทธิชุมชน สิทธิทางวัฒนธรรมและการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่สนใจค้นคว้าในประเด็นดังกล่าวสามารถใช้ประโยชน์ในการศึกษาได้ต่อไป

 
[1] OpenDevelopment Thailand. เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน. วันที่เข้าถึง 7 สิงหาคม 2564 จาก https://thailand.opendevelopmentmekong.net/th/topics/sustainable-development-goals/

คำสำคัญ

แหล่งข้อมูล

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศ มุสลิม ประกอบด้วยแหล่งข้อมูล ดังนี้ หนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษ (Book), งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ (Research) ,บทความในหนังสือ (Book Chapter), บทความในวารสาร (Articles), สื่อโสตทัศน์ (Multimedia), ฐานข้อมูล (Database), เว็บไซต์ (Website), องค์กร (Organisation)

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

อุ่นเรือน เล็กน้อย

Imprint

-

Collection

Journal: วารสารวิจัยสังคม ปีที่ 31, ฉบับที่ 1/2 (- 2551), หน้า 93-112

Annotation

     บทความนี้กล่าวถึงพลังของชุมชนในการจัดการพื้นที่ป่าที่ถูกใช้เป็นกรณีศึกษา จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ ชุมชนร่มโพธิ์ทอง จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งชาวบ้านอพยพออกมาจากป่าโดยได้รับจัดสรรที่ดินทำกิน แต่เกิดความขัดแย้งและความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกันระหว่างกลุ่มชาวบ้าน จนกระทั่งเกิดการริเริ่มกิจกรรมป่าชุมชนและให้ผู้นำกลุ่มของแต่ละ   ชุมชนเป็นกลไกในการสร้างความไว้ใจระหว่างกัน ในที่สุดชุมชนก็ได้ร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมป่าชุมชนพลิกฟื้นป่าเสื่อมโทรมให้เกิดความสมบูรณ์อีกครั้ง จนได้รับอนุญาตให้จัดตั้งป่าชุมชนขึ้น  และชุมชนเขาพระพุทธบาทน้อย จังหวัดสระบุรี ที่ต้องต่อสู้กับรงกดดันจากการขอสัมปทานภูเขาพระพุทธบาทน้อยรวมถึงการตักตวงใช้ประโยชน์ของชาวบ้านโดยรอบจากการหาของป่าและล้อมต้นไม้ใหญ่ไปขาย จนกระทั่งชาวบ้านได้หันกลับมาสร้างความร่วมมือในการอนุรักษ์ป่าในภูเขาแห่งนี้ ปรับเปลี่ยนแนวคิดให้เป็น “ป่าพึ่งคน คนพึ่งป่า” จนในที่สุดได้รับอนุญาตให้จัดตั้งป่าชุมชนขึ้น
     จึงเห็นได้ว่าพลังของชุมชนเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินกิจกรรมสาธารณะของชุมชน ซึ่งเกิดขึ้นมาจากความไว้เนื้อเชื่อใจและความสามัคคี รวมถึงการจัดทำโครงสร้าง เช่น การจัดตั้งคณะทำงาน หรือคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนกิจกรรมของชุมชนได้อย่างยั่งยืน

อ่านต่อ...
image

Author

พัชรินทร์ สิรสุนทร

Imprint

-

Collection

Journal: วารสารสังคมศาสตร์ ปีที่ 1, ฉบับที่ 1 (ม.ค./มิ.ย. 2548), หน้า 59-78

Annotation

     บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องภูมิปัญญาชาวบ้านและกระบวนการจัดการองค์ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้าน: กรณีศึกษาเขตภาคเหนือตอนล่าง ใน 8 จังหวัด ได้แก จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดตาก จังหวัดสุโขทัย จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดพิจิตร และจังหวัดนครสวรรค์ มาวิเคราะห์ทิศทางการนำองค์ความรู้ในท้องถิ่นมาใช้เพื่อการพัฒนาในโครงการต่างๆ ของรัฐ
     จากการให้ความสำคัญกับการนำผลผลิตทางภูมิปัญญามาใช้ในรูปแบบสินค้าและบริการ ทำให้ทุนทางวัฒนธรรมและปราชญ์ท้องถิ่นกลายเป็นสิ่งที่มีบทบาทต่อการจัดการความรู้ท้องถิ่น การเรียนรู้ในท้องถิ่นนั้นมักเป็นการเรียนรู้ที่เปิดกว้าง ผสมผสานการเรียนรู้ทางวิชาการณ์และการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นคือการกระจัดกระจายของข้อมูลและขาดการจัดการที่เป็นระบบ รวมถึงขาดการเชื่อมต่อของข้อมูลภูมิปัญญาส่งผลให้ความร่วมมือในเชิงบูรณาการเป็นไปอย่างจำกัด รวมถึงการที่ชาวบ้านไม่สามารถนความรู้เดิมที่มีอยู่ไปประยุกต์ให้เกิดการพัฒนาในเชิงธุรกิจและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในแต่ละชุมชน 

อ่านต่อ...
image

Author

เจษฎา โชติกิจภิวาทย

Imprint

-

Collection

Journal: วารสารผู้ไถ่. ปีที่ 23, ฉบับที่ 60 (ก.ย./ธ.ค. 2545), หน้า 14-18

Annotation

     บทความนี้กล่าวถึงแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยวิเคราะห์ยุทธศาสตร์การพัฒนาของรัฐไทยนับตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคนแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ซึ่งเป็นการวางรากฐานการพัฒนาที่เรียกได้ว่าไม่ยั่งยืนให้แก่สังคมไทยจึงตามมาด้วยผลกระทบจากการพัฒนาตามแนวทางดังกล่าว ได้แก การเปลี่ยนแปลงการผลิตของชาวนาชาวไร่สู่การผลิตเพื่อขาย  การพัฒนาที่ต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่สูงขึ้นนำมาสู่การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ การพัฒนาที่ไม่ได้คำนึงถึงอนาคต ตกอยู่ในมายาการวัฒนธรรมบริโภค และปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม
     นอกจากนี้ ผู้เขียนยังกล่าวถึงการมีส่วนร่วมในการจัดการธรรมชาติกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งจำเป็นต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เกิดการเคลื่อนไหวที่ได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน มีกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลย์จากภาคประชาสังคมและรัฐมีบทบาทสนับสนุน โดยการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่แท้จริงต้องเป็นการเคารพสิทธิชุมชนตามหลักประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมตามที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ 

อ่านต่อ...
image

Author

ยศ สันตสมบัติ

Imprint

-

Collection

Journal: วารสารผู้ไถ่. ปีที่ 23, ฉบับที่ 60 (ก.ย./ธ.ค. 2545), หน้า 57-59

Annotation

อ่านต่อ...
image

Author

แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย

Imprint

-

Collection

Journal: เมืองโบราณ : 26, 2 (เม.ย. - มิ.ย. 2543) ; หน้า 125-130

Annotation

     บทความนี้กล่าวถึงการอนุรักษ์หอไตรวัดตะกาดเง้า ตำบลตะกาดเง้า อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี มีการบูรณะภาพลายรดน้ำที่มีลวดลายทั้งภาพพุทธประวัติและชาดกต่างๆ รวมถึงการอนุรักษ์และเก็บรวมรวมเอกสารโบราณซึ่งมีเนื้อหาบางส่วนสะท้อนความเป็นท้องถิ่น
     ผู้เขียนจึงได้ยกเอาใจความสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาอภิปรายการบูรณะหอไตรในครั้งนี้ โดยให้ความเห็นว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะเป็นการพัฒนาในลักษณะที่มีความต่อเนื่องและเห็นคุณค่า เช่นเดียวกับการบูรณหอไตรให้มีความสวยงาม แข็งแรง แล้วต้องตอบสนองการใช้ประโยชน์ของชุมชนได้ และส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ชุมชนตะกาดเง้า เพื่อให้เป็นการสร้างรายได้ให้คนในชุมชนต่อไป 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ