banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / ชอง

ชาติพันธุ์ / ชอง

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 25 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศด้านชาติพันธุ์ : ชอง กะซอง และซัมเร
            ชอง กะซอง และซัมเร เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิม บุคคลภายนอกเรียกคนกลุ่มนี้ว่า “ชอง” ตั้งถิ่นฐานตามแนวเขาบรรทัดของประเทศไทย-กัมพูชา อาศัยอยู่ในจังหวัดจันทบุรี เขตอำเภอเขาคิชฌกูฏ (ตำบลตะเคียนทอง ตำบลคองพลู ตำบลพลวง และตำบลซากไทย) อำเภอโป่างน้ำร้อน (ตำบลทับไทร) จังหวัดระยอง (อำเภอแกลง) จังหวัดตราด (อำเภอบ่อไร่ และอำเภอเขาสมิง อำเภอเมือง) จังหวัดฉะเชิงเทรา (อำเภอสนามชัยเขต และอำเภอท่าตะเกียบ) จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอศรีสวัสดิ์) รวมทั้งในจังหวัดไพลิน จังหวัดกัมปอด จังหวัดพระตะบอง และจังหวัดโพธิสัตว์ของประเทศกัมพูชา ชาวชอง ชาวกะซอง และชาวซัมเรมีลักษณะทางกายภาพ ภาษา และวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกันและแตกต่างกันในรายละเอียด ภาษาที่ใช้คือ ภาษาชอง ภาษากะซองและภาษาซัมเร เป็นภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติก (Austro-Asiatic language) กลุ่มมอญ-เขมร กลุ่มย่อยเปียริก (Pearic language) เดิมภาษาชองไม่มีตัวอักษรสำหรับเขียน เนื่องจากเป็นภาษาที่ใช้พูดเท่านั้น แต่ในภายหลังก็มีการกำหนดให้ใช้อักษรไทยบางตัวเขียนภาษาชอง ชาวชองในประเทศไทย นับถือศาสนาพุทธและผี มีวัฒนธรรมประเพณีเป็นเอกลักษณ์ของตน เช่น ประเพณีผีโรง ผีหิ้ง ทำมาหากินด้วยการหาของป่า ล่าสัตว์ ทำไร่ ทำนา ชาวกะซอง หรือ ชอง (จังหวัดตราด) ตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านคลองแสง บ้านด่านชุมพล และบ้านปะเดา ตําบลด่านชุมพล อําเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ชาวซำเร หรือ สำเหร่ ตั้งถิ่นฐานอยู่ บ้านมะม่วง บ้านคลองโอน และบ้านนนทรีย์ ตำบลนนทรีย์ เขตอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด นอกจากนี้ยังพบชาวซำเรในจังหวัดฉะเชิงเทรา ( อำเภอสนามชัยเขตและอำเภอท่าตะเกียบ) และจังหวัดกาญจนบุรี (บ้านทุ่งนา อำเภอศรีสวัสดิ์ ชาวซำเรกลุ่มนี้เดินทางมาจากพระตะบอง ประเทศกัมพูชาเป็นเครือญาติกับคนชองซำเร ในอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด)

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

Weber, Karl E., 1939-

Imprint

Bangkok : Office of the Senior Research Fellow of the South Asia Institute of Heidelberg University at the German Cultural Institute, 1976

Collection

SAC library- Research and Thesis (7th floor) - DS570.C46W42 1976

Annotation

            การศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ชอง ในจังหวัดจันทบุรี เป็นการจดบันทึกทางชาติพันธุ์วิทยาที่ผู้ศึกษาได้ทำการลงเก็บข้อมูล และได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ชอง ตั้งแต่ประวัติความเป็นมา การอพยพมาตั้งถิ่นฐาน ลักษณะทางกายภาพ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่มีผลต่อวิถีชีวิต สังคมและวัฒนธรรม อีกทั้งการกลืนกลายและการผสมผสานทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์และกลุ่มชาติพันธุ์อื่นที่อาศัยอยู่โดยรอบ
            ผลการศึกษาพบว่าในจังหวัดจันทบุรีมีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่หลายกลุ่ม หนึ่งในนั้นคือกลุ่มชาติพันธุ์ชอง ชาวชองส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณเทือกเขาที่เป็นเส้นกั้นระหว่างประเทศกัมพูชาและประเทศไทย และบางพวกก็อาศัยอยู่กระจัดกระจายในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน พวกเขามีลักษณะทางกายภาพแบบใดยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดเพราะพวกเขามีลักษณะคล้ายกันกับหลายกลุ่ม ชาวชองส่วนใหญ่มักทำเกษตรกรรม มีอาหารการกิน วิถีชีวิตที่แตกต่างกันเล็กน้อยตามสภาพแวดล้อมที่พวกเขาอยู่ แต่ยังมีสิ่งที่เหมือนกันคือ ความเชื่อ ภาษา ฯลฯ ที่บ่งบอกอัตลักษณ์ความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชอง แต่ด้วยพวกนั้นเป็นเพียงชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในจังหวัดจันทบุรี อีกทั้งอิทธิพลความเป็นสังคมสมัยใหม่ ส่งผลให้พวกเขาถูกกลืนกลายกลายเป็นคนไทยที่อาศัยอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย
 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ