banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / ชอง

ชาติพันธุ์ / ชอง

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 25 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศด้านชาติพันธุ์ : ชอง กะซอง และซัมเร
            ชอง กะซอง และซัมเร เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิม บุคคลภายนอกเรียกคนกลุ่มนี้ว่า “ชอง” ตั้งถิ่นฐานตามแนวเขาบรรทัดของประเทศไทย-กัมพูชา อาศัยอยู่ในจังหวัดจันทบุรี เขตอำเภอเขาคิชฌกูฏ (ตำบลตะเคียนทอง ตำบลคองพลู ตำบลพลวง และตำบลซากไทย) อำเภอโป่างน้ำร้อน (ตำบลทับไทร) จังหวัดระยอง (อำเภอแกลง) จังหวัดตราด (อำเภอบ่อไร่ และอำเภอเขาสมิง อำเภอเมือง) จังหวัดฉะเชิงเทรา (อำเภอสนามชัยเขต และอำเภอท่าตะเกียบ) จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอศรีสวัสดิ์) รวมทั้งในจังหวัดไพลิน จังหวัดกัมปอด จังหวัดพระตะบอง และจังหวัดโพธิสัตว์ของประเทศกัมพูชา ชาวชอง ชาวกะซอง และชาวซัมเรมีลักษณะทางกายภาพ ภาษา และวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกันและแตกต่างกันในรายละเอียด ภาษาที่ใช้คือ ภาษาชอง ภาษากะซองและภาษาซัมเร เป็นภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติก (Austro-Asiatic language) กลุ่มมอญ-เขมร กลุ่มย่อยเปียริก (Pearic language) เดิมภาษาชองไม่มีตัวอักษรสำหรับเขียน เนื่องจากเป็นภาษาที่ใช้พูดเท่านั้น แต่ในภายหลังก็มีการกำหนดให้ใช้อักษรไทยบางตัวเขียนภาษาชอง ชาวชองในประเทศไทย นับถือศาสนาพุทธและผี มีวัฒนธรรมประเพณีเป็นเอกลักษณ์ของตน เช่น ประเพณีผีโรง ผีหิ้ง ทำมาหากินด้วยการหาของป่า ล่าสัตว์ ทำไร่ ทำนา ชาวกะซอง หรือ ชอง (จังหวัดตราด) ตั้งถิ่นฐานอยู่บ้านคลองแสง บ้านด่านชุมพล และบ้านปะเดา ตําบลด่านชุมพล อําเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ชาวซำเร หรือ สำเหร่ ตั้งถิ่นฐานอยู่ บ้านมะม่วง บ้านคลองโอน และบ้านนนทรีย์ ตำบลนนทรีย์ เขตอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด นอกจากนี้ยังพบชาวซำเรในจังหวัดฉะเชิงเทรา ( อำเภอสนามชัยเขตและอำเภอท่าตะเกียบ) และจังหวัดกาญจนบุรี (บ้านทุ่งนา อำเภอศรีสวัสดิ์ ชาวซำเรกลุ่มนี้เดินทางมาจากพระตะบอง ประเทศกัมพูชาเป็นเครือญาติกับคนชองซำเร ในอำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด)

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม (ม.ก.ส)

Imprint

เชียงใหม่ : มูลนิธิชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการศึกษาและสิ่งแวดล้อม (ม.ก.ส),[ม.ป.ป.]

Collection

online download

Annotation

            กล่าวถึงประวัติของกลุ่มชนดั้งเดิมในจังหวัดจันทบุรี ตราด ระยองและฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ของชาวชอง โดยคำว่า “ชอง” แปลว่า “คน” พูดถึงความเป็นมาและหลักฐานที่ถูกค้นพบในประวัติศาสตร์ที่เป็นร่องรอยเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ชอง ต่อมาได้ทราบถึงถิ่นกำเนิดของชาวชองจากบทกวีของนักปราญช์ บิดาประวัติศาสตร์ของไทย หรือนายแพทย์ ที่มีการค้นพบเกี่ยวกับชาวชองไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของภาษา ลักษณะรูปลักษณ์ทางกายภาพที่แสดงถึงความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชอง แม้ในปัจจุบันจะมีการกลืนกันระหว่างชองกับเชื้อสายอื่น ๆ ลักษณะโครงสร้าง รูปร่างหน้าตา นิสัย การตั้งถิ่นฐานของชอง ลักษณะของสภาพทางเศรษฐกิจ รวมถึงสังคมและวัฒนธรรมและสถานการณ์ปัจจุบัน

อ่านต่อ...
image

Author

พระมหาเรืองเดช ศรีประสม,สกนะ ภู่งามดี, สันติภาพ คำสะอาด

Imprint

กรุงเทพฯ : กระทรวงวัฒนธรรม, 2552

Collection

SAC Library - Books (7th floor) - DS570.ก64 2552

Annotation

            “คนชอง” เป็นกลุ่มชาติพันธุ์พื้นถิ่นที่อาศัยในภูมิภาคตะวันออกของประเทศไทยมาอย่างยาวนาน ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด นครนายก ปราจีนบุรีและสระแก้ว มีวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ในด้านต่างๆ เช่น ภาษาชอง พิธีกรรมประเพณี การละเล่นและภูมิปัญญาด้านหัตถกรรม สืบสานถ่ายทอดผ่านรุ่นสู่รุ่น แต่ในช่วงปี พ.ศ. 2490-2550 ภายใต้การพัฒนาจากภาครัฐก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตหลายๆด้าน การดำรงชีวิตที่จำเป็นต้องสัมพันธ์กับวัฒธรรมจากภายนอกได้ทำให้วัฒนธรรมดั้งเดิมหลายๆอย่างนั้นเลือนหายไป โดยเฉพาะวัฒนธรรมด้านภาษาที่นับวันนี้มีเพียงคนชองส่วนน้อยที่ยังสามารถสื่อสารได้

อ่านต่อ...
image

Author

สุวิไล เปรมศรีรัตน์ และ พรสวรรค์ พลอยแก้ว

Imprint

นครปฐม : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล, 2548

Collection

Sac Library - Books (7th floor) - DS570.K36ส75 2548

Annotation

            กลุ่มชาติพันธุ์กระซองที่อาศัยอยู่ในตำบลด่านชุมพล และกลุ่มชาติพันธุ์ซำเรที่ตำบลนนทรีย์ จังหวัดจันทบุรี ทั้งสองกลุ่มชาติพันธุ์มีความใกล้เคียงกัน ทั้งประวัติศาสตร์ชุมชนและการตั้งถิ่นฐาน การกระจายตัว ลักษณะบ้านเรือนที่นิยมนำวัสดุจากในป่ามาสร้างเป็นบ้าน สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติซึ่งเป็นที่ราบเชิงเขาและเนินเตี้ยๆ พื้นที่โดยรอบเป็นป่าเหมาะ แก่การทำสวนยางพารา สวนผลไม้ ไร่สับปะรด ฯลฯ ทำให้ส่วนใหญ่พวกเขามีอาชีพเกษตรกร อีกทั้งเมื่อก่อนพวกเขายังมีรายได้จากการหาของในป่าไปขาย จากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติได้ส่งผลต่อวัฒนธรรมในด้านต่างๆอย่าง อาหารพื้นบ้าน สุขภาพ ประเพณี พิธีกรรม และความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับผีซึ่งถือเป็นกลไกหนึ่งในการควบคุมคนในสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสองกลุ่มอีกด้วย แต่ถึงแม้ทั้งสองกลุ่มจะมีความกล้ายกันทางวัฒนธรรมมากเพียงใด ทั้งสองกลุ่มก็มีความแตกต่างกันทางภาษา รายละเอียดทางวัฒนธรรมรวมถึงจิตสำนึกทางชาติพันธุ์ที่เป็นคนละกลุ่มกัน

อ่านต่อ...
image

Author

ธรรม พันธุศิริสด

Imprint

[จันทบุรี] : หนังสือพิมพ์สยามนิวส์, 2541-2542

Collection

Sac Library - Books (7th floor) - DS570.ช5ธ4

Annotation

            เมืองเพนียต วัดทองทั่ว ตำบลนารายณ์ อำเภอเมือง จันทบุรี หรืออาณาจักรจันทรบูรเดิมที่ตั้งอยู่ทางจอยใต้เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่เป็นเครื่องบ่งบอกการมีอยู่ของอารยธรรมชอง จันทรบุรี ที่อยู่มานานมีอายุนับหลายพันปีมาแล้ว ซึ่งในอารยธรรมเก่าแก่แห่งนี้ได้มีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่าชาวชอง ซึ่งมีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของชาวชองอย่าง ประเพณีของเรื่องชู้สาว ความเชื่อเรื่องผี ภาษาที่ภายในหนังสือเล่มได้รวบรวมดัชนีคำศัพท์ภาษาชองเอาไว้ อีกทั้งหนังสือเล่มนี้ยังได้กล่าวถึงเนื้อหาของนิทรรศการชื่อ อาณาจักรจันทรบูร เมืองเพนียตที่ผู้เขียนกล่าวว่าเหมือนเป็นการชำระประวัติศาสตร์จันทรบุรีครั้งที่1 นอกจากนี้ยังกล่าวถึงคติความเชื่อเรื่อง การเกษียรสมุทรด้วยทับหลังถาลาบริวัต ซึ่งเป็นสมบัติอีกชิ้นหนึ่งที่สำคัญต่อชาวชอง แห่งจังหวักจันทรบุรี

อ่านต่อ...
image

Author

สุเรขา สุพรรณไพบูลย์

Imprint

[กรุงเทพฯ] : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2530.

Collection

SUT คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ - DS570.ช5 ส75

Annotation

            ชาวชอง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ภายในพื้นที่ตะวันออก โดยเฉพาะในเขตท่ามะขาม จังหวัดจันทบุรี วิถีชีวิตของกลุ่มคนชองนั้นผูกพันกับผืนป่า ในด้านเศรษฐกิจที่มีการประกอบอาชีพ ทั้งการนำของป่ามาขายในเมือง เช่น สมุนไพรยาต่างๆ โดยนำมาแลกเปลี่ยนสิ่งของที่จำเป็นในการชีวิตอื่นๆ ในด้านประเพณีความเชื่อ สังคมชาวชองมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นลักษณะเฉพาะ เช่น “ภาษาชอง” ซึ่งเป็นภาษาที่ไม่มีตัวอักษรเขียน กลุ่มชนรุ่นหลังจึงเรียนรู้วิถีบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่นผ่านการบอกเล่าที่ไม่มีการบันทึก หรือประเพณี “ผีหิ้ง” และ “ผีโรง” ที่สะท้อนถึงความเชื่อการนับถือผีบรรพบุรุษ ผู้ที่อาวุโสของหมู่บ้านจึงได้รับการเคารพนับถือ เป็นผู้นำของหมู่บ้าน ในด้านการปกครองจึงมีการจัดระเบียบสังคมผ่านระบบอาวุโส ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปเอกลักษณ์วิถีดั้งเดิมเหล่านี้กำลังเลือนหายไปพร้อมกับประสบภาวะยากจนในชุมชนจากการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามาในนามความเจริญและการพัฒนาแบบสมัยใหม่

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ