banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / ลเวือะ/ลัวะ/ก๋อง

ชาติพันธุ์ / ลเวือะ/ลัวะ/ก๋อง

Export All

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

Kunstadter, Peter

Imprint

Princeton, N.J., : Princeton University, Center of International Studies, 1965

Collection

Books DS570.L8K85

Annotation

หนังสือเล่มนี้เป็นโครงงานวิจัยเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์และนิเวศวิทยาของชาวลัวะรวมทั้งชาวคเรนเป็นชาวเขาที่อาศัยอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทยโดยการศึกษาข้อมูลของคุณปีเตอร์ กันสตัดเตอร์ จุดประสงค์ของการทำวิจัยนี้ขึ้นมาเพื่อ 1. อธิบายและวิเคราะห์วัฒนธรรมและโครงสร้างทางสังคมระหว่างชาวเขา 2 กลุ่ม คือ ชาวลัวะและชาวคาเรน 2. เพื่อศึกษาระบบเกษตรกรรม 3. เพื่อเปรียบเทียบและหาความแตกต่างระว่างความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ชนเผ่า วิธีการเก็บข้อมูลจะเป็นการสำรวจ สังเกต และการสัมภาษณ์  ซึ่งผู้วิจัยศึกษาจากการทำทริปทั้งหมด 2 ช่วง โดยทริปแรกคือช่วงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1963 – สิงหาคม 1964 และทริปที่สองคือช่วงเดือนธันวาคม 1964 – มกราคม 1965  รวมทั้งยังมีการบันทึกตารางเวลาและการทำงานของผู้ศึกษาอย่างละเอียด ซึ่งผลของการทำวิจัยนั้นพบว่าไม่พบชาวคเรน แต่ในประเทศไทยแต่พบชนเผ่านี้ที่ประเทศพม่าโดยการอ้างอิงจากเขียนของคุณมาร์แชล ปี ค.ศ. 1920

อ่านต่อ...
image

Author

Kunstadter, Peter

Imprint

[s.l.] : University of Washington, 1967

Collection

Books DS570.L8K86

Annotation

หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงชาวลัวะ โดยการศึกษาข้อมูลจากคุณปีเตอร์ กันสตัดเตอร์ กล่าวว่าสิ้นปีของชาวลัวะนั้นคือช่วงการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จสมบูรณ์แล้วโดยจะมีพิธีกรรม 3 พิธี ในช่วงที่เก็บเกี่ยวข้าววันสุดท้ายคือ 1) พิธีที่เรียกว่าจิตวิญญาณของชาวบ้านจากทุ่งนา 2) พิธีไล่วิญญาณร้ายของหมู่บ้าน และ 3)พิธีถวายอาหารให้แก่วิญญาณผู้ที่ปกครองหมู่บ้านให้ผ่านไปปีหน้าได้ ซึ่งวันถัดไปหลังจากการเก็บเกี่ยวเสร็จแล้วหมู่บ้านจะถูกปิดไม่มีการเข้าและออกจากหมู่บ้านโดยเด็ดขาด ก่อนวันที่หมู่บ้านจะถูกปิดจะมีการสังเวยหมูโดยการวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางจากไม้ไผ่และชาวบ้านจะซื้อมันในราคา 30 บาทต่อกำปั้น

อ่านต่อ...
image

Author

Kraisri Nimmanhaeminda

Imprint

-

Collection

The journal of the Siam Society 55, 2 (July 1967), p. 185-225

Annotation

บทความนี้กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธ์ละว้าที่อาศัยอยู่บนดอยสุเทพในจังหวัดเชียงใหม่ จากการศึกษาค้นคว้าของคุณไกรศรี นิมมานเหมินดา ปี ค. ศ. 1967 พบว่าชาวละว้ามีความเชื่อว่าชนเผ่าของเขามีการปกครองโดยวิญญาณผู้พิทักษ์ คือ ปู่แสะ ย่าแสะและสุเทวฤษี  ตามตำนานเล่าว่าปู่แสะ ย่าแสะและลูกชายของเขาเป็นยักษ์ที่อาศัยอยู่บนดอยสุเทพ วันหนึ่งพระพุทธทรงเดินผ่านมายักษ์ทั้ง 3 ตนเกิดอาการหิวอยากกินเลือดของพระองค์ พระพุทธเจ้าจึงทรงแผ่เมตตาให้กับยักษ์ทั้ง 3 ตน โดยลูกชายยอมรับศีลจึงขอบวชเป็นพระฤาษี นามว่า ปู่ฤาษีสุเทวฤษี ส่วนปู่แสะและย่าแสะขอกินเนื้อสัตว์ปีละครั้ง ซึ่งในปัจจุบันชาวละว้าได้มีการตั้งศาลไว้เพื่อกราบไหว้และจะมีประเพณีการไหว้ศาลโดยการถวายเนื้อสัตว์ปีละครั้ง

อ่านต่อ...
image

Author

Flatz, Gebhard

Imprint

-

Collection

The journal of the Siam Society 58 part2(July 1970), p. 87-103

Annotation

บทความนี้กล่าวถึงชาวละว้าจากการศึกษาค้นคว้าของคุณเกบฮาร์ด แฟลตซ์เกี่ยวกับร่องรอยของชาวละว้าที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มักจะมีความเชื่อเรื่องผีบ้าน ผีเรือนซึ่งประเพณีของชาวละว้าที่จะพบคือการไหว้ผีบ้าน ผีเรือน 2 ครั้งต่อปีในประเพณีนี้จะมีการเต้นรำซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการเต้นของชาวอินเดียแดงอีกทั้งยังเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่นับศสานาพุทธและสื่อสารกันโดยใช้ภาษามอญ และได้มาตั้งแต่ถิ่นฐานเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ที่มีแต่ชาวละว้าเท่านั้นและจะมีมากว่า 2 หมู่บ้านขึ้นไป ซึ่งคำว่า “ละว้า” นั้นเป็นคำที่คนไทยตั้งให้ แต่ตัวพวกเขามักจะเรียกตนเองว่า “ขโล” หรือ “พโล” ไม่มีการอ้างอิงว่าชนเผ่านี้อพยพมาจากที่ไหนแต่คนไทยเชื่อว่าพวกเขาเป็นชาวละว้าที่หนีออกมาจากกลุ่มของตนเอง ซึ่งบทความนี้จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับภาษาของชาวละว้าและชาวขโลซึ่งผู้ศึกษาได้ทำตารางแสดงคำศัพท์จำนวน 200 คำ

อ่านต่อ...
image

Author

Kauffmann, H.E

Imprint

-

Collection

Journal of the Siam Society 68, 1 (January 1980), pp. 87-124

Annotation

บทความนี้กล่าวถึงสถาบันทางสังคมและศาสนาของชาวละว้าที่อาศัยอยู่ทางตะวันตกแยงเหนือของประเทศไทย บทความนี้คือบทที่ 3 ที่ศึกษาเกี่ยวกับพิธีกรรมการตายของชาวละว้า โดยผู้ที่ศึกษาข้อมูลคือคุณคัฟแมน ซึ่งมีทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ 1. พิธีงานศพของเด็กวัยรุ่น ในตอนเย็นของวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1964 ชายวัยรุ่นอายุ 15 ปี เสียชีวิตจากไข้ที่ไม่ทราบชื่อ การทำพิธีจะมีเพียงผู้ใหญ่เท่านั้นที่อยู่ในงานเผาศพและจะเป็นผู้ชายทั้งหมด  2. อีกหนึ่งกรณีของการเสียชีวิต ซึ่งศพคือเด็กทารกวัย 2 เดือนที่ถูกห่อด้วยผ้าสะอาดสีขาววางอยู่บนกรอบที่สานด้วยไม้ไผ่ มีการถวายข้าว เนื้อหมู สุรา และจุดเทียนไขวางไว้หน้าศพ 3. พิธีกรรมหลังจากการตาย  จะมีการเล่มเกม ชื่อว่า “เสือกินวัว” จะเป็นการเล่นตอนกลางคืนโดยชาวละว้าจะตื่นกันตลอดทั้งคืน
 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ