banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / ลเวือะ/ลัวะ/ก๋อง

ชาติพันธุ์ / ลเวือะ/ลัวะ/ก๋อง

Export All

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

Suchada Rodcharen

Imprint

Bangkok : Battelle Memorial Institute/Thailand Information Center, [n.d.]

Collection

Books DS570.L8S83

Annotation

หนังสือเล่มนี้เป็นเอกสารเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลของผู้วิจัยที่เคยศึกษาประวัติของชาวละว้าโดยการรวบรวมหมายเลขเอกสารจากศูนย์เอกสารแห่งประเทศไทยซึ่งข้อมูลที่ได้มีนั้นไม่เป็นความลับแต่อย่างใด มีทั้งหมด 57 หมายเลขและมีปีที่ตีพิมพ์หนังสือ แต่ละหมายเลขจะเป็นข้อมูลที่ละเอียดถี่ถ้วนจากการที่ผู้วิจัยได้ค้นหาจากศูนย์เอกสารแห่งประเทศไทย อาทิ หมายเลข 00366 คุณปีเตอร์ กันสตัดเตอร์ ปีที่ตีพิมพ์ ตุลาคม 1967 มีข้อมูลด้านการวิจัยของชาวละว้าที่อาศัยอยู่ทางเหนือของประเทศไทยเป็นการศึกษาเกี่ยวกับประวัติ วัฒนธรรม เกษตรกรรม กรรมสิทธิ์ในที่ดิน และด้านเศรษฐกิจของชนเผ่าละว้า

อ่านต่อ...
image

Author

สุวิไล เปรมศรีรัตน์

Imprint

[ม.ป.ท. : ม.ป.พ., ม.ป.ป.]

Collection

Books DS589.น9ส75

Annotation

หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงผลของการศึกษา และสำรวจด้านภาษาศาสตร์ของชาวไทยภูเขาที่อาศัยอยู่ในจังหวัดน่าน ซึ่งพูดภาษาในกลุ่มมอญ-เขมร ถึง 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มขมุ กลิ่นถิ่นหรือลัวะ และกลุ่มมลาบรี หรือผีตองเหลือง หนังสือเล่มนี้จะทำให้เข้าใจภาษาศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์นี้ และเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาการเรียกชื่อกลุ่มชนต่าง ๆ  เนื่องจากกลุ่มชนกลุ่มหนึ่งอาจมีชื่อเรียกหลายชื่อ หรือชื่อหนึ่งอาจเป็นชื่อของกลุ่มชนต่าง ๆ มากกว่าหนึ่งกลุ่ม จนทำให้เกิดความสับสนในการเรียก อาทิ ปัญหาการเรียกชื่อกลุ่มถิ่น หรือลัวะ มีชื่อเรียกที่หลากหลาย ซึ่งแต่ละมาจากเหตุและผลที่ต่างกัน เช่น ชื่อพื้นบ้าน คือ ชื่อที่กลุ่มนี้เรียกตนเอง ชื่อพื้นเมือง คือ ชื่อที่ชาวน่านใช้เรียกกลุ่มชนนี้ และชื่อราชการ คือ ชื่อที่ทางราชการใช้เรียกกลุ่มชนนี้

อ่านต่อ...
image

Author

สุริยา รัตนกุล

Imprint

[ม.ป.ท. : ม.ป.พ., ม.ป.ป.]

Collection

Books DS570.ล6ส74

Annotation

บทความนี้จะกล่าวถึงเรื่องราวความแตกต่างทางมานุษยวิทยา และภาษาของชนเผ่าละว้า  และลัวะ  ซึ่งเป็นที่สับสนกันในคำว่า “ละว้า” กับ “ลัวะ” มีการกล่าวถึงผลงานการค้นคว้า และการวิจัยของผู้ทำวิจัยที่สำคัญหลายท่าน อาทิ หม่อมเจ้าสนิทประยูรศักดิ์ รังสิต ที่ทรงค้นคว้าเรื่องราวทางมานุษยวิทยาของชนเผ่าละว้า และเผยแพร่ลงในวารสาร Anthropos เป็นต้น ในท้ายบทความมีการนำคำศัพท์มาเปรียบเทียบ ให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างภาษาละว้า ในเขตพื้นที่ตำบลป่าแป๋ อำเภอม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน กับภาษามัล (ที่คนไทยเรียก “ลัวะ”) ในเขตพื้นที่บ้านสกาดกลาง อำเภอปัว จังหวัดน่าน ใน 8 หมวดคำศัพท์ ได้แก่ หมวดดินฟ้าอากาศและธรรมชาติ หมวดต้นไม้และพืชพันธุ์ธัญญาหาร หมวดสัตว์ป่าและสัตว์บ้าน หมวดเครือญาติ หมวดอวัยวะต่าง ๆ หมวดเครื่องดื่ม หมวดเวลา และหมวดจำนวนนับ

อ่านต่อ...
image

Author

Kunstadter, Peter

Imprint

Princeton, N.J., : Princeton University, Center of International Studies, 1965

Collection

Books DS570.L8K85

Annotation

หนังสือเล่มนี้เป็นโครงงานวิจัยเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์และนิเวศวิทยาของชาวลัวะรวมทั้งชาวคเรนเป็นชาวเขาที่อาศัยอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทยโดยการศึกษาข้อมูลของคุณปีเตอร์ กันสตัดเตอร์ จุดประสงค์ของการทำวิจัยนี้ขึ้นมาเพื่อ 1. อธิบายและวิเคราะห์วัฒนธรรมและโครงสร้างทางสังคมระหว่างชาวเขา 2 กลุ่ม คือ ชาวลัวะและชาวคาเรน 2. เพื่อศึกษาระบบเกษตรกรรม 3. เพื่อเปรียบเทียบและหาความแตกต่างระว่างความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ชนเผ่า วิธีการเก็บข้อมูลจะเป็นการสำรวจ สังเกต และการสัมภาษณ์  ซึ่งผู้วิจัยศึกษาจากการทำทริปทั้งหมด 2 ช่วง โดยทริปแรกคือช่วงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1963 – สิงหาคม 1964 และทริปที่สองคือช่วงเดือนธันวาคม 1964 – มกราคม 1965  รวมทั้งยังมีการบันทึกตารางเวลาและการทำงานของผู้ศึกษาอย่างละเอียด ซึ่งผลของการทำวิจัยนั้นพบว่าไม่พบชาวคเรน แต่ในประเทศไทยแต่พบชนเผ่านี้ที่ประเทศพม่าโดยการอ้างอิงจากเขียนของคุณมาร์แชล ปี ค.ศ. 1920

อ่านต่อ...
image

Author

Kunstadter, Peter

Imprint

[s.l.] : University of Washington, 1967

Collection

Books DS570.L8K86

Annotation

หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงชาวลัวะ โดยการศึกษาข้อมูลจากคุณปีเตอร์ กันสตัดเตอร์ กล่าวว่าสิ้นปีของชาวลัวะนั้นคือช่วงการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จสมบูรณ์แล้วโดยจะมีพิธีกรรม 3 พิธี ในช่วงที่เก็บเกี่ยวข้าววันสุดท้ายคือ 1) พิธีที่เรียกว่าจิตวิญญาณของชาวบ้านจากทุ่งนา 2) พิธีไล่วิญญาณร้ายของหมู่บ้าน และ 3)พิธีถวายอาหารให้แก่วิญญาณผู้ที่ปกครองหมู่บ้านให้ผ่านไปปีหน้าได้ ซึ่งวันถัดไปหลังจากการเก็บเกี่ยวเสร็จแล้วหมู่บ้านจะถูกปิดไม่มีการเข้าและออกจากหมู่บ้านโดยเด็ดขาด ก่อนวันที่หมู่บ้านจะถูกปิดจะมีการสังเวยหมูโดยการวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางจากไม้ไผ่และชาวบ้านจะซื้อมันในราคา 30 บาทต่อกำปั้น

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ