banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / ลเวือะ/ลัวะ/ก๋อง

ชาติพันธุ์ / ลเวือะ/ลัวะ/ก๋อง

Export All

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

Petchabunburi, Phra

Imprint

-

Collection

Journal of the Siam Society vol. 14, part. 1 (Apr. 1921), p. 19-51

Annotation

บทความนี้กล่าวถึงชาวละว้าจากการศึกษาโดยคุณพระ เพชรบูรณ์บุรี ในปี 1921 พบว่าชาวละว้านั้นเป็นอีกชนเผ่าหนึ่งที่พบได้ในจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งชนเผ่านี้มีลักษณะคล้ายกับคนไทยแต่ชาวละว้าจะมีผิวที่คล้ำกว่าและมักจะอาศัยอยู่บริเวณหุบเขาหรือที่ราบสูง คนทั่วไปส่วนใหญ่มักจะเรียกว่า “ละว้า” แต่สำหรับคนไทยมีเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เชาว์บูรณ์” วิถีชีวิตของชาวละว้านั้นมักจะอาศัยอยู่เป็นกระท่อมโดยวัตถุดิบการสร้างจากธรรมชาติ และทำไร่ นา สวน เลี้ยงสัตว์ เพื่อการดำรงชีพ  ชนเผ่าละว้านี้นับถือศาสนาพุทธและมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องวิญญาณผีบ้านผีเรือน  ผีฟ้า ส่วนเทศกาลไหว้ผีป่าจะมีในเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนและเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคมของทุกปี และกล่าวถึงการแปลภาษาละว้าเป็นภาษาไทยและอังกฤษที่ชาวชนเผ่านี้ใช้สื่อสารกัน รวมทั้งยังมีการเปรียบเทียบภาษาละว้าที่อาศัยอยู่จังโคราชที่มีตารางเปรียบเทียบอย่างชัดเจน

อ่านต่อ...
image

Author

Seidenfaden, Erik

Imprint

-

Collection

Journal of the Siam Society : 17,2 (1923) : p.101-102

Annotation

บทความนี้เป็นการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมต่อจากคุณพระ เพชรบูรณ์บุรี โดยคุณอีริค เซเดนฟาเดน ซึ่งชนเผ่านี้มีลักษณะคล้ายกับคนอินเดียแดง วิถีชีวิตของชาวละว้านั้นมักจะอาศัยอยู่เป็นกระท่อมโดยวัตถุดิบการสร้างจากธรรมชาติ นับถือสาสนาพุทธและมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องวิญญาณผีบ้านผีเรือน  ผีฟ้า ส่วนเทศกาลไหว้ผีป่าโดยการถวายข้าว เป็ด และไก่ นอกจากนั้นยังกล่าวถึงช่วงที่ชาวละว้าเข้ามามีบทบาทในสมัยสงครามระหว่างประเทศพม่าและประเทศไทย

อ่านต่อ...
image

Author

Kerr, A.F.G

Imprint

-

Collection

Journal of the Siam Society : 18, 2 (AUG. 1924) : p. 135-144

Annotation

บทความนี้กล่าวถึงการบันทึกของชาวละว้าบริเวณที่ราบสูงในจังหวัดเชียงใหม่ โดยการศึกษาค้นคว้าข้อมูลของ ดร.เคอร์ ในปี 1922 พบว่าชาวละว้านั้น ทั้งหมด 7 หมู่บ้านอยู่ที่ราบสูงบัวหลวงซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 1000-1100 เมตร และเป็นมีความอุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยป่าไม้ ในเดือนธันวาคม มกราคมและกุมภาพันธ์ของทุกปีจะมีอากาศที่หนาวเย็นมาก และยังกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างชาวละว้ากับชาวลาวที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันแต่ชาวละว้าจะมีผิวค่อนข้างคล้ำและตัวเล็กกว่าชาวลาว การแต่งกายของผู้ชายชาวละว้าจะคล้ายกับชาวลาวส่วนผู้หญิงจะสวมใส่เสื้อที่หลวม ใส่กำไลเงินไว้ที่ข้อมือทุกคน รวมทั้งไว้ผมยาวโดยการม้วนเป็นปมไว้ข้างหลังและคลุมด้วยผ้าพันรอบศีรษะ ส่วนภาษาจะมีความแตกต่างกันมากแต่มีบ้างบางคำที่ชาวละว้ายืมมาจากชาวลาว เช่น ยม หิน และชาวลาวก็มีการยืมคำมาจากชาวละว้าเช่นกัน ได้แก่ คำว่า ไถและเผื่อ เป็นต้น

อ่านต่อ...
image

Author

Kerr, A. F. G

Imprint

-

Collection

Journal of the Siam Society vol. 21,part. 1 (JUL. 1927), p.53-63

Annotation

บทความนี้กล่าวถึงชาวละว้าเป็นชนเผ่าหนึ่งที่มีถิ่นที่อยู่อาศัยบริเวณแควน้อย แควใหญ่และบ่อหลวงทางตะวันตกเฉียงของจังหวัดเชียงใหม่ในประเทศไทย ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการผสมกันจากหลายชนเผ่าและนับถือศาสนาพุทธแต่มีความเชื่อเกี่ยวกับผี การเลี้ยงผีเสื้อบ้านหรือเรียกอีกอย่างว่าผีหมู่บ้าน วิถีชีวิตของชาวละว้ามักจะทำไร่ ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์จำพวกวัว ควาย หมู ไก่ เวลาว่างก็ทอผ้า ตำข้าว จักสาน เช่น กระบุง ตะกร้า ฯลฯ ฤดูแล้งชอบเข้าป่าล่าสัตว์ นอกจากนั้นยังกล่าวถึงความแตกต่างและเปรียบเทียบการออกเสียงของชาวละว้าในกาญบุรี ซึ่งมีการสำรวจสืบค้นเมื่อ ปี ค.ศ. 1922 โดย ดร.เอ เอฟ จี เคอร์

อ่านต่อ...
image

Author

Obayashi, Targo

Imprint

-

Collection

The journal of the Siam Society :52, 2 (July 1964), p. 199-214

Annotation

บทความนี้กล่าวถึงชาวละว้าและคเรนที่อาศัยอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทยซึ่งหมู่บ้านที่ทั้ง 2 ชาติพันธุ์นี้อาศัยอยู่ระหว่างอำเภอแม่สะเรียงและกองลอย ภายในหมู่บ้านมีทั้งหมด 45 หลังคาเรือนและอยู่ห่างจากอำเภอแม่สะเรียง 25 กิโลเมตร ลักษณะของชาวละว้าผู้ชายจะมีความสูงประมาณ 160 ซม. ส่วนผู้หญิงจะสูงประมาณ 150 ซม. มีผิวคล้ำและตามลำตัวจะมีขน เด็กทารกจะมีลักษณะคล้ายกับชาวมองโกเลียน ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารพูดคุยจะเป็นภาษถิ่นของชาวละว้า หมู่บ้านที่อาศัยจะอยู่สูงและใกล้กับหุบเขาซึ่งรอบเขาจะเต็มไปด้วยป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ส่วนชาวคเรนจะลักษณะคล้ายกับชาวละว้า ภาษาที่สื่อสารกันคือ ภาษาไทยและพม่าผสมกันแต่ชาวคเรนจะไม่เข้าใจภาษาชองละว้า ที่อยู่อาศัยของชาวคเรนจะลักษณะเป็นบ้านที่สร้างโดยไม้ไผ่และมีเตาผิงวางไว้ ซึ่งในบทความต้องการเปรียบความแตกต่างระหว่างชาวละว้าและคเรนโดยการศึกษาข้อมูลของคุณทาร์โก โอบายะชิ

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ