banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / มอญ

ชาติพันธุ์ / มอญ

Export All

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

มอญ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

Niyaphan Pholwaddhana

Imprint

Ann Arbor, Mich. : University Microfilms International, 1986

Collection

Books: DS528.2.M6N59 1986

Annotation

ทยานิพนธ์เล่มนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ระหว่างมอญ – ไทย ของชุมชนในเขตลาดกระบัง จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยเน้นศึกษาในเรื่องของการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การแข่งขัน และ
ความร่วมมือระหว่างมอญ – ไทย

 

อ่านต่อ...
image

Author

Chidchanok Jitpong

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

Books: PN6519.M6C45 1996

Annotation

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้เสนอการศึกษาค่านิยมและความเชื่อจากสำนวนสุภาษิตมอญ ในชุมชนมอญบ้านบางลำภู ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 บท บทแรกกล่าวถึงวัตถุประสงค์และขอบเขตในการศึกษา ตลอดจนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษาสำนวนสุภาษิตมอญ พร้อมทั้งกล่าวถึงลักษณะทั่วไปของชาวมอญบ้านบางลำภู และข้อมูลทางภาษาศาสตร์ของภาษามอญ ทั้งระบบเสียงและลักษณะทางไวยากรณ์ บทที่ 2 กล่าวถึงลักษณะต่าง ๆ ของสำนวนสุภาษิตมอญ บทที่ 3 กล่าวถึงการจำแนกประเภทของสำนวนสุภาษิตมอญ โดยพิจารณาในแง่ของเนื้อหา บทที่ 4 ศึกษาสำนวนสุภาษิตมอญว่า สะท้อนค่านิยมและความเชื่อของชาวมอญอย่างไร บทสุดท้าย เป็นบทสรุปสาระสำคัญทั้งหมด
 

อ่านต่อ...
image

Author

สุธีรา เผ่าโภคสถิตย์

Imprint

กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2537

Collection

Books: DS570.ม5ส735 2537

Annotation

การวิจัยเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อบทบาทของสื่อทั้งสามประเภทว่ามีบทบาทต่อการถ่ายทอดหรือการอนุรักษ์วัฒนธรรมของคนเชื้อสายมอญเพียงใด และสื่อประเภทใดมีบทบาทมากที่สุด นอกจากนี้ยังต้องการทราบว่าปัจจัยด้านประชากรมีบทบาทในการอนุรักษ์วัฒนธรรมหรือไม่เพียงใด กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาเป็นคนเชื้อสายมอญ ซึ่งอาศัยอยู่ในชุมชนในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง ในการวิจัยนั้นนอกจากจะศึกษาเอกสารต่าง ๆ แล้ว ผู้วิจัยได้เข้าไปสังเกตการณ์และเก็บข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของประชากรเป้าหมาย โดยการจดบันทึกและถ่ายภาพ และใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยตรงจากกลุ่มตัวอย่าง ผลจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า สื่อที่มีบทบาททำให้เกิดความรู้ความเข้าใจและความตระหนักในการอนุรักษ์วัฒนธรรมของคนเชื้อสายมอญมากที่สุดคือ สื่อประเพณี และเมื่อเปรียบเทียบสื่อทั้งสามประเภทแล้วพบว่า สื่อที่มีบทบาทในการอนุรักษ์วัฒนธรรมของคนเชื้อสายมอญเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย คือ สื่อประเพณี สื่อบุคคล และสื่อมวลชน
 

อ่านต่อ...
image

Author

ณัฐประวีณ ศรีทรัพย์

Imprint

กรุงเทพฯ : ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537

Collection

Books: DS570.ม5ณ63

Annotation

การวิจัยเรื่องนี้เป็นการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์มอญบ้านลัดเกร็ด ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี โดยการเก็บข้อมูลจากเอกสาร การวิจัยภาคสนาม การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก เก็บข้อมูลระหว่าง เดือนกรกฎาคม 2536 ถึง กรกฎาคม 2537 ซึ่งเป็นการศึกษาภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ในบริบทของสังคมไทยที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ชาวมอญเกิดการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในด้านสังคมและการปกครองตนเอง
การปรับเปลี่ยนทางเศรษฐกิจในด้านการผลิตและจำหน่าย เครื่องปั้นดินเผา การเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาและการปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่และความสัมพันธ์ในหมู่ครอบครัวเครือญาติ แต่ในขณะเดียวกัน ชาวมอญก็ยังคงไว้ซึ่งความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์มอญในสังคมไทย โดยสามารถธำรงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มตนไว้ได้
อันได้แก่ ภาษา ศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อและขนบธรรมเนียมประเพณี

 

อ่านต่อ...
image

Author

สุวรรณะ เย็นสุข

Imprint

กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2545

Collection

Books: RS180.ท9ส74 2545

Annotation

การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ ศึกษาเปรียบเทียบเฉพาะกรณีของชาวมอญ 2 หมู่บ้าน คือ ชุมชนชาวมอญบ้านบางกระดี่ เขตบางขุนเทียน จังหวัดกรุงเทพมหานคร และชุมชนชาวมอญบ้านหนองดู่ อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรค ขั้นตอนและวิธีการรักษาแบบพื้นบ้าน และศึกษาทัศนคติที่มีต่อความเชื่อในกระบวนการรักษาพยาบาลของชาวมอญในแต่ละชุมชน รวมทั้งการศึกษาเปรียบเทียบความเชื่อเกี่ยวกับกระบวนการรักษาพยาบาลแบบพื้นบ้าน ที่มีผลต่อวิถีการดำเนินชีวิตของชาวมอญทั้งสองชุมชน ซึ่งอาศัยข้อมูลจากเอกสารและการวิจัยภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม
ผลการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบพบว่า ชาวมอญทั้งสองชุมชนมีความเชื่อในกระบวนการรักษาพยาบาลแบบพื้นบ้านในลักษณะที่มีความคล้ายคลึงกัน คือ รายละเอียดของสาเหตุการเกิดโรค ขั้นตอนในการรักษาพยาบาล รวมทั้งทัศนคติที่มีต่อความเชื่อในกระบวนการการรักษาพยาบาล และมีลักษณะที่แตกต่างกัน คือ รายละเอียดในขั้นตอนและวิธีการรักษาแบบพื้นบ้าน

 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ