banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / มุสลิม

ชาติพันธุ์ / มุสลิม

Export All

image author

รวบรวมโดย : จรรยา ยุทธพลนาวี

เผยแพร่ 16 ก.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

           ชาวมุสลิมเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่น เนื่องจากเป็นกลุ่มวัฒนธรรมศาสนา อันมีธรรมเนียมปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักคำสอน ไม่ว่าชาวมุสลิมจะอยู่ในพื้นที่ใด ความศรัทธาต่อพระเจ้าและอัตลักษณ์ของความเป็นมุสลิมปรากฏ กลุ่มมุสลิมในประเทศไทย มีรูปแบบของวัฒนธรรมทั้งที่คล้ายคลึงและแตกต่างกัน การศึกษาสังคมวัฒนธรรมของกลุ่มมุสลิม นอกจากการค้นคว้าวิถีชีวิตของชาวมุสลิมแล้ว ประวัติศาสตร์สังคมและความสัมพันธ์กับกลุ่มอื่นก็มีความสำคัญ ช่วยให้สามารถเชื่อมโยงเรื่องราวของชาวมุสลิมได้ชัดเจนมากขึ้น 

          คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศกลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมในครั้งนี้ จะให้ความสำคัญกับรายการทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมหรือกลุ่มวัฒนธรรมศาสนาอิสลามในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ภาพรวมของสังคมวัฒนธรรมมุสลิมในประเทศไทย มุสลิมที่มีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตสัมพันธ์กับมุสลิมในประเทศไทย  

คำสำคัญ

แหล่งข้อมูล

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศ มุสลิม ประกอบด้วยแหล่งข้อมูล ดังนี้ หนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษ (Book), งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ (Research) ,บทความในหนังสือ (Book Chapter), บทความในวารสาร (Articles), สื่อโสตทัศน์ (Multimedia), ฐานข้อมูล (Database), เว็บไซต์ (Website), นักวิชาการ (Researcher) 

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

Feinstein, Alan

Imprint

กรุงเทพฯ : ศูนย์, 2552

Collection

Audio Visual Materials:SAC 000169

Annotation

กล่าวถึงดนตรีชวากับบริบททางสังคมที่ก่อให้เกิดการประสาน และการปะทะกัน โดยดนตรีชวามีความสัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์อย่างเครื่องดนตรี กัมมาลาน(Gamelan) เครื่องดนตรีประเภทเคาะหรือตี มีต้นกำเนิดในเกาะชวา ตลอดจนมีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนะรรมดนตรีกับชนชาติต่างๆ อย่างญี่ปุ่น แต่ในปัจจุบันได้มีการรื้อฟื้นของดนตรีภายใต้บริบททางสังคมเศรษฐกิจ อีกทั้งยังต้องเผชิญกับคู่แข่งที่ท้าทายอย่างแผ่นซีดีเพลง หรือภาพยนตร์
 

อ่านต่อ...
image

Author

ทีวีไทย

Imprint

กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2552]

Collection

Audio Visual Materials:CDF 000595

Annotation

กล่าวถึงวิถีชีวิตของชาวมุสลิมมลายู ในจังหวัดชายแดนใต้ที่มีวิถีชีวิตตามหลักศาสนา เพื่อให้เด็กๆได้เรียนรู้หลักปฏิบัติตามหลักศาสนาผ่านสิ่งที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวันจากพ่อแม่ เช่น การอะซาน และอิกอมะฮฺแก่เด็กทารก การฝึกให้เด็กๆละหมาดตั้งแต่อายุ 7 ปี การอ่านภาษาอาหรับในคัมภีร์อัลกุรอาน การอดอาหารในเดือนรอมฎอนสำหรับเด็กโต การเรียนตาฎีกา(ภาษามลายู)
 

อ่านต่อ...
image

Author

ทีวีไทย

Imprint

กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2552]

Collection

Audio Visual Materials:VT 000699

Annotation

กล่าวถึงภาษาไทยตากใบ หรือเจ๊ะเห ที่มีสำเนียงเฉพาะโดยการลากเสียงยาว และถูกใช้ในกลุ่มชาวไทยจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และบางอำเภอในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเจ๊ะเหเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอตากใบ ซึ่งมีความสัมพันธ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ตั้งถิ่นฐานในลุ่มนำ้ตากใบมาตั้งแต่อดีต ภาษาจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมอันหลากหลายของคนในพื้นที่
 

อ่านต่อ...
image

Author

แทลเลนท์ แมสมีเดีย

Imprint

กรุงเทพฯ : แทลเลนท์ แมสมีเดีย, [2551]

Collection

Audio Visual Materials:CDF 000420

Annotation

กล่าวถึงบรรยากาศของวันฮารีรายอ ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองหลังการถือศีลอดในเมืองอลอร์สตาร์ รัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย หรือไทรบุรี โดยชาวมุสลิมจะต้องชำระร่างกายให้สะอาด และสวมใส่เสื้อผ้าที่ดีที่สุดเพื่อออกมาละหมาด พร้อมสวดสรรเสริญตลอดทาง หลังจากละหมาดเสร็จทุกคนจะแสดงความยินดีต่อกัน และบริจาคทาน ตลอดจนไปเยี่ยมเยือนญาติพี่น้อง บรรพบุรุษ
 

อ่านต่อ...
image

Author

ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ

Imprint

กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2551

Collection

Audio Visual Materials:SAC 000569

Annotation

กล่าวถึงลักษณะและวิถีชีวิตของคนมลายูมุสลิมในปัตตานีที่มีความแตกต่างจากมุสลิมที่อื่นๆ เช่น การผสมผสานความเชื่อทางศาสนา เข้ากับความเชื่อของท้องถิ่น หรือการย้ายพื้นที่ของผู้คนตามแหล่งทรัพยากรและไม่ได้อยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นการถาวรก่อนการปกครองของรัฐไทยแบบรวมศูนย์จะเกิดขึ้น เป็นต้น ตลอดจนวิถีปฏิบัติของสามัญชนในพื้นที่ในการเผชิญหน้ากับรัฐไทย ที่มีการผสมผสานความเป็นชาติพันธุ์และท้องถิ่นเข้าไว้ด้วยกัน
 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ