banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / มุสลิม

ชาติพันธุ์ / มุสลิม

Export All

image author

รวบรวมโดย : จรรยา ยุทธพลนาวี

เผยแพร่ 16 ก.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

           ชาวมุสลิมเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่น เนื่องจากเป็นกลุ่มวัฒนธรรมศาสนา อันมีธรรมเนียมปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักคำสอน ไม่ว่าชาวมุสลิมจะอยู่ในพื้นที่ใด ความศรัทธาต่อพระเจ้าและอัตลักษณ์ของความเป็นมุสลิมปรากฏ กลุ่มมุสลิมในประเทศไทย มีรูปแบบของวัฒนธรรมทั้งที่คล้ายคลึงและแตกต่างกัน การศึกษาสังคมวัฒนธรรมของกลุ่มมุสลิม นอกจากการค้นคว้าวิถีชีวิตของชาวมุสลิมแล้ว ประวัติศาสตร์สังคมและความสัมพันธ์กับกลุ่มอื่นก็มีความสำคัญ ช่วยให้สามารถเชื่อมโยงเรื่องราวของชาวมุสลิมได้ชัดเจนมากขึ้น 

          คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศกลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมในครั้งนี้ จะให้ความสำคัญกับรายการทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมหรือกลุ่มวัฒนธรรมศาสนาอิสลามในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ภาพรวมของสังคมวัฒนธรรมมุสลิมในประเทศไทย มุสลิมที่มีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตสัมพันธ์กับมุสลิมในประเทศไทย  

คำสำคัญ

แหล่งข้อมูล

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศ มุสลิม ประกอบด้วยแหล่งข้อมูล ดังนี้ หนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษ (Book), งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ (Research) ,บทความในหนังสือ (Book Chapter), บทความในวารสาร (Articles), สื่อโสตทัศน์ (Multimedia), ฐานข้อมูล (Database), เว็บไซต์ (Website), นักวิชาการ (Researcher) 

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

Imprint

กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

Collection

Audio Visual Materials:SAC 000946

Annotation

กล่าวถึงมุมมองของวัฒนธรรมที่หลากหลายเพื่อให้ประชาชนทั้งในพื้นที่ และนอกพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้นำสาระไปประยุกต์เพื่อความสันติสุข ซึ่งเป็นการนำเสนอการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน การยอมรับ และเคารพความแตกต่างในหลายมิติ เช่น ความรุนแรงภายในวัฒนธรรมย่อย ช่องว่างของนโยบายรัฐที่เน้นการกลืนทางวัฒนธรรมเป็นหลัก โดยนำเสนอผ่านการเสวนาเปิดตัวหนังสือ “ความหลากหลายพหุวัฒนธรรม” และ “ไทยใต้ มลายูเหนือ”
 

อ่านต่อ...
image

Author

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

Imprint

กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2560

Collection

Audio Visual Materials:SAC 000912

Annotation

กล่าวถึงที่มาและเบื้องหลังของโครงการทักษะวัฒนธรรมกับความเป็นไปของจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเริ่มมาจากคู่มือข้าราชการ จนเกิดการอบรมเชิงปฏิบัติการของทหาร ข้าราชการ สื่อมวลชน เด็กนักเรียนในพื้นที่ภายใต้กรอบคิดของการทบทวน รับฟัง แลกเปลี่ยน และทางเลือกที่สร้างสรรค์ จนเป็นหนังสือ “ทักษะวัฒนธรรม” ที่เผยแพร่ไปสู่องค์กรต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กระทรวงมหาดไทย โดยเป้าหมายหลักคือการเข้าใจวัฒนธรรมที่หลากหลายและนำไปสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้
 

อ่านต่อ...
image

Author

ทีวีไทย

Imprint

กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2556]

Collection

Audio Visual Materials:CDF 000405

Annotation

กล่าวถึงตำนานสุสานกษัตริย์อาณาจักรปัตตานี หรือสุสานพญาอินทิราวังศา กษัตริย์มุสลิมองค์แรกที่ทำให้ศาสนาอิสลามแพร่หลายในพื้นที่ภาคใต้ จากเหตุการณ์โรคระบาดแซะซาอิค(หมออิสลาม)รักษาพระนางให้หายขาดได้ จึงประกาศตนเป็นกษัตริย์มุสลิมตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สำหรับทวิภาษาไทยกลางมลายู-ปัตตานี เป็นภาษาที่ใช้ในสามจังหวัดชายแดนใต้ และควรได้รับการส่งเสริมแบบทวิภาษา ซึ่งสามารถเชื่อมโยงความคิดออกมาทางภาษาพูดและพัฒนาภาษาเขียน ตลอดจนส่งเสริมพัฒนาการของการเรียนภาษาที่สองแก่เยาวชนได้อีกด้วย


 

อ่านต่อ...
image

Author

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

Imprint

กรุงเทพฯ : ศูนย์, 2555

Collection

Audio Visual Materials:SAC 000634

Annotation

กล่าวถึงการศึกษาสังคมพหุวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนใต้จากคนในพื้นที่นำเสนอในแง่มุมต่างๆ ได้แก่ (1) “ร้านนำ้ชา” อันเป็นสถานที่พูดคุยและวิถีชีวิตของชาวมลายูมุสลิม (2)การเปลี่ยนแปลงบทบาทของวัยรุ่นในกำปง ที่รอโอกาสในการเข้าทำงานในมาเลย์ (3) เรื่องเล่าจากข้าวของพื้นบ้านมลายู ที่แหล่งเรียนรู้ชุมชนพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านกือเม็ง จังหวัดยะลา ที่ชาวบ้านต่างคิดถึงความหลัง (4) การปรับตัวของคนตัวเล็กๆกับความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้ ที่มีความไม่เข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เช่น การให้ไข่กับข้าวสารแก่ชาวมุสลิมซึ่งหมายถึงความตาย
 

อ่านต่อ...
image

Author

ทีวีไทย

Imprint

กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2554]

Collection

Audio Visual Materials:CDF 000306

Annotation

กล่าวถึงชาวมุสลิมในอีสานที่มีมากกว่า 20 จังหวัด โดยเป็นกลุ่มมุสลิมปาทาน ซึ่งเป็นมุสลิมกลุ่มแรกที่อพยพจากปากีสถานเข้ามาอยู่ที่อีสานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อเข้ามาสร้างทางรถไฟสายอีสาน และต่อมาชาวมุสลิมปาทานได้แต่งงานกับคนในพื้นที่ จึงเกิดชุมชนชาวมุสลิมปาทาน และชาวไทยพุทธอาศัยร่วมกันในพื้นที่ต่างๆ นอกจากนี้ยังนำเสนอวิถีชีวิตของชาวมุสลิมปาทานในอีสาน เช่น ภาษาที่ใช้ การประกอบอาชีพ การเรียนศาสนา เป็นต้น
 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ