เผยแพร่ 01 ต.ค. 2563
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชาติพันธุ์ไทเขิน สถาบันศาสนา วิถีชีวิต ภาษา วรรณกรรม ความเป็นอยู่และประเพณี
เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่
Author
ศิริวรรณ อ่อนเกตุ
Imprint
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สำนักหอสมุด
Collection
Thesis : ว/ภน 895.919 ศ373ก
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่อง "อลองเจ้าสามลอ" ทั้งในด้านรูปแบบและเนื้อหา ซึ่งเป็นวรรณกรรมที่ปรากฎแพร่หลายในกลุ่มของชาวไทเขิน ไทใหญ่ และไทลื้อ มีทั้งสำนวนที่ถ่ายทอดกันมาโดยทางมุขปาฐะและโดยทางลายลักษณ์ในรูปแบบของชาดก ความแพร่หลายดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า วรรณกรรมเรื่องนี้ได้รับความนิยมมาช้านานเพื่อใช้สั่งสอนผู้อ่านและผู้ฟัง ความรักไม่ว่าจะเป็นความรักหนุ่มสาว หรือความรักระหว่างบิดามารดากับบุตร หากเกิดจากความหลงใหลจนไม่รู้จักพิจารณาถึงความถูกต้องย่ิมนำไปสู่ความพินาศ และยังสะท้อนวิถีชีวิตวัฒนธรรม การค้าขาย การแต่งกาย ประเพณีการแอ่วสาว การสู่ขอ และงานศพ
Author
เบญจวรรณ สุขวัฒน์
Imprint
มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2558
Collection
Research and Thesis : DS576.61.ช8 บ72 2558
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ไทเขินที่อพยพจากเมืองเชียงตุง ประเทศพม่า เข้ามาอาศัยในพื้นที่บ้านเหล่าพัฒนา ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่ พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา โดยส่วนมากไม่มีสถานะเป็นพลเมืองไทย ผู้เขียนมุ่งเน้นการอธิบายการแสดงออกถึงจิตสำนึกร่วมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทเขินผ่านการแสดงตัวตนและการเชื่อมโยงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ซึ่งสัมพันธ์กับแหล่งอพยพและสัมพันธ์กับการเป็นพลเมืองในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ในพื้นที่เดียวกัน
Author
บรรเจิด ศรีมูล
Imprint
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. สำนักหอสมุดกลาง
Collection
Thesis : วพ. บ153น 2557
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาที่ว่างและการจัดพื้นที่ใช้สอยภายในอาคารที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมล้านนา โดยศึกษาวิถีชีวิต ความเชื่อ พฤติกรรม และกิจกรรมที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับเรือนล้านนาไทเขินเดิมและเรือนล้านนาไทเขินประยุกต์ ซึ่งกิจกรรมและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้ใช้อาคารปัจจุบัน (เปลี่ยนจากสังคมเกษตรไปสู่สังคมเมือง) มีผลต่อการจัดวางที่ว่างและพื้นที่ใช้สอยภายในอาคาร เนื่องจากมีความต้องการความเป็นส่วนตัวมากขึ้น มีการแบ่งพื้นที่ใช้สอยตามความต้องการในการใช้งานแต่ละประเภท เอกลักษณืไทเขินที่สำคัญแบบไทเขินเดิมที่ควรนำมาใช้ในการออกแบบ คือ เอกลักษณ์ของที่ว่าง การเปิดโล่งที่สามารถเชื่อมต่อกันได้ ที่ว่างที่เชื่อมระหว่างภายในกับภายนอก การยกใต้ถุนให้สูง และเอกลักษณ์เชิงพื้นที่ใช้สอยในเรือนไทเขินเดิม
Author
ฐาปนีย์ เครือระยา
Imprint
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สำนักหอสมุด
Collection
Thesis : ว/ภน 728.9536 ฐ255พ
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับชาวไทเขินเมืองเชียงตุงและอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความสัมพันธุ์ร่วมกันมาตั้งแต่ในอดีต ชาวไทเขินอำเภอสันป่าตองจะมีวิถีชีวิตและสภาพสังคมที่แตกต่างไปจากชาวไทเขินเชียงตุง ผู้วิจัยศึกษารูปแบบเรือนและความเชื่อของชาวไทเขินอำเภอสันป่าตอง ในปัจจุบันทำให้ทราบว่ายังคงแฝงแนวคิด ความเชื่อ ประเพณีนิยมของชาวไทเขินไม่ต่างจากที่เมืองเชียงตุงมากนัก ความเชื่อเกี่ยวกับหอเทวดาเรือน ที่เป็นเหมือนอารักษ์คอยดูแลคนและเรือน รูปแบบเรือนไทเขินอำเภอสันป่าตองมีการแบ่งพื้นที่ใช้สอยเหมือนเมืองเชียงตุง มีบริเวณที่เรียกว่า "นอก" และ "ใน" อันเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยในเวลากลางวันและกลางคืน ปัจจุบันชาวไทเขินเมืองเชียงตุงมีค่านิยมใหม่ในการสร้างตามกระแสสังคมเมือง แต่ชาวไทเขินอำเภอสันป่าตอง กลับมองเห็นคุณค่าและความสำคัญของวัฒนธรรมประเพรีเดิม จึงต้องการเก็บรักษารูปแบบเรือนไทเขินให้คงไว้ดังเดิม จากการเปรียบเทียบในพื้นที่ทั้งสองแห่ง แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของสังคม เมื่อสังคมใดสังคมหนึ่งมีการพัฒนาจนถึงจุดอิ่มตัวแล้วมักจะหวนกลับไปหารากเหง้าและอดีตของตน
Author
พิศาพิมพ์ จันทร์พรหม
Imprint
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.ห้องสมุด
Collection
Thesis : วจ พ 756 ก 2554
Url ห้องสมุด ศมส.
Annotation
อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ คือ กลุ่มชาติพันธุ์ไทขึน คนส่วนใหญ่เข้าใจว่ามีเพียงที่เมืองเชียงตุงประเทศพม่าเท่านั้น นักท่องเที่ยวจึงหันไปท่องเที่ยวเมืองเชียงตุง แท้จริงแล้วกลุ่มชาติพันธุ์ไทขึนก็มีอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ การพัฒนาการท่องเที่ยวของกลุ่มชาติพันธุ์ไทขึนในจังหวัดเชียงใหม่จึงเป็นกระบวนการสำคัญในการศึกษาอัตลักษณ์ที่โดดเด่นและดึงดูดใจ ทั้งยังหาแนวทางการฟื้นฟู อนุรักษ์ และส่งเสริมอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทขึนด้านภาษาพูด วิถีชีวิต วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมและสิ่งปลูกสร้างอันเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทขึน
ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702
แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
![]() |
![]() |
ห้องสมุด (ชั้น 8)
จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.
เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.
ห้องสมุดสุข กาย ใจ
จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.
เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.
หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ