banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / ไทเขิน

ชาติพันธุ์ / ไทเขิน

Export All

image author

รวบรวมโดย : วิภาวดี โก๊ะเค้า

โทรศัพท์ : 0610266450

เผยแพร่ 01 ต.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชาติพันธุ์ไทเขิน สถาบันศาสนา วิถีชีวิต ภาษา วรรณกรรม ความเป็นอยู่และประเพณี

คำสำคัญ

แหล่งข้อมูล

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน)

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

อนาโตล โรเจอร์ เป็ลติเยร์

Imprint

เชียงใหม่ : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2559

Collection

Books : BQ1029 .ป74 2559

Annotation

อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับวรรณกรรมท้องถิ่น มีเนื้อความจากต้นฉบับอักษรไทขึนและปริวรรตเป็นอักษรไทย ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอังกฤษ เพื่อให้วรรณกรรมนี้แพร่หลายและมีประโยชน์ต่อผู้อ่านในวงกว้าง คือชาวไทขึน ล้านนา หรือลาว ที่ใช้อักษรธรรมเหมือนกัน และอ่านในส่วนที่เป็นภาษาของตนอันนำมาสู่การรับรู้เนื้อหาและสิ่งที่แฝงอยู่ในวรรณกรรม นิทานชาดกเรื่องจันทโสภาเป็นวรรณกรรมที่คล้ายกับรถเสนชาดก หรือ “นางสิบสอง” กล่าวถึงการบำเพ็ญบารมีของพระโพสัตว์ สอดแทรกวิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณี หลักความเชื่อและปรัชญาพื้นบ้านของตน จะเน้นเรื่องของผลกรรม และความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา
 

อ่านต่อ...
image

Author

ณัฐพงศ์ ปื่นโมรา

Imprint

[ม.ป.ท : ม.ป.พ., 2558?]

Collection

Books : PL4251.ข7ณ63 2558

Annotation

อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับวรรณกรรมชาดกเชียงตุง มีเนื้อความจากอักษรไทขึนและปริวรรตเป็นอักษรไทย เชียงตุงเป็นเมืองที่พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง สะท้อนความสัมพันธ์ของพระพุทธศาสนากับสภาพวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ใช้วรรณกรรมในการกล่อมเกลอบรม และบ่มเพาะศีลธรรมจรรยาผ่านภาพเสนอของพระโพธิสัตว์ที่กระทำบุญบารมี อันเป็นเครื่องมือที่ใช้ควบคุมผู้คนในสังคมให้ปฏิบัติตามฮีต (จารีต) และประเพณีที่สังคมต้องการ ปริวรรตวรรณกรรมจาก อะลองขี้วัวแห้ง อะลองเขียวหอด อะลองต่อเท้าทอมด และอะลองมดส้ม

อ่านต่อ...
image

Author

อรศิริ ปาณินท์

Imprint

กรุงเทพฯ : สถาบันอาศรมศิลป์, [2557?]

Collection

Books : NA7435.ก1อ44

Annotation

: อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ผ่านภาพสเกตช์ ซึ่งเป็นเส้นร่างจากกการได้ออกพื้นที่ไปสำรวจกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อหาข้อมูลและพูดคุยกับชาวบ้าน ใช้การสเกตช์สิ่งที่ได้พบเห็นพร้อมประกอบเนื้อหา แทนการถ่ายภาพ การถ่ายทอดของสิ่งที่เห็นจากนามธรรมสู่รูปธรรม เรือนไทเขิน เชียงตุง ประเทศพม่า มีการสำรวจครั้งแรกเพื่อการศึกษาเปรียบเทียบเรือนไทเขิน เชียงใหม่-เชียงตุง ในปี พ.ศ. 2547 เป็นการสำรวจเข้าพื้นที่ด้านตะวันตกของเชียงตุง ครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2550 ผู้เขียนพาลูกศิษย์และอาจารย์ในหลักสูตรสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นไปศึกษาดูงานหมู่บ้านและเมืองทางย่านตะวันออกของเมืองเชียงตุง

อ่านต่อ...
image

Author

ฐาปนีย์ เครือระยา

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

วารสารหน้าจั่ว สถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม. ฉบับที่ 26 (ก.ย. 2554 - ส.ค. 2555) : หน้า 161-177.

Annotation

อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะเรือนและความเชื่อเกี่ยวกับเรือนของชาวไทเขิน ซึ่งสภาพภูมิศาสตร์และที่ตั้งของเมืองเชียงตุง อันมีที่ราบสลับกับเนินเขา ภูมิอากาศหนาวเย็นเกือบทั้งปี เป็นผลทำให้ชาวไทเขินสร้างเรือนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ทั้งยังสอดคล้องกับแนวคิดความเชื่อในเรื่องผี ขวัญ และพุทธศาสนา เรือนไทเขินจึงมีลักษณะเป็นเรือนไม้ยกพื้นใต้ถุนสูง หลังคาทรงจั่ววางในแนวแกนเหนือใต้ ฝาเรือนผายออกเพื่อรองรับน้ำหนักหลังคาที่ลาดต่ำ ภายในเรือนประกอบด้วยพื้นที่ 3 ส่วน คือ นอก ใน และ ชาน ชาวไทเขินให้ความสำคัญกับทิศตะวันออกที่เป็นทิศมงคล และเชื่อว่าด้านหน้าเรือนต้องอยู่ทางทิศเหนือหรือใต้เท่านั้น ดังนั้นเรือนของชาวไทเขินที่มีรูปแบบเฉพาะ เกิดจากการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสอดคล้องกับแนวคิดความเชื่อ เพื่อให้เรือนมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตความเป็นอยุ่ของชาวไทเขิน
 

อ่านต่อ...
image

Author

วิถี พานิชพันธ์

Imprint

[พะเยา] : โครงการจัดตั้งศูนย์ศิลปวัฒนธรรมล้านนา (ไต) มหาวิทยาลัยพะเยา, 2556

Collection

Books : DS576.61.ช8ว65 2556

Annotation

อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ไทเขินแห่งเชียงตุงนั้น มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ สังคม การเมือง และมีความคล้ายคลึงทางประเพณีวัฒนธรรมกับกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวนแห่งเชียงใหม่ จากการมีพื้นที่ซึ่งอยู่ไม่ห่างกันและจากการถูกปกครองโดยราชวงศ์มังรายในอดีต กาลเวลาผ่านไปในแต่ละยุคสมัยไทเขินแห่งเชียงตุง ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า อังกฤษ ไทย และกลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐฉานประเทศพม่าในปัจจุบันนั้น ยังคงมีวิถีชีวิต เศรษฐกิจที่เรียบง่ายดั้งเดิม ในขณะที่เชียงใหม่ได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกสมัยใหม่ ไทเขินแห่งเชียงตุงยังคงรักษาความร่ำรวยทางด้านศิลปะ ประเพณีวัฒนธรรม ผ่านเรื่องราวตำนาน ประวัติศาสตร์ อาหาร การแต่งกาย ซึ่งได้รับอิทธิพลจากความผูกพันของวิถีชีวิตกับพุทธศาสนา

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ