banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / ไทเขิน

ชาติพันธุ์ / ไทเขิน

Export All

image author

รวบรวมโดย : วิภาวดี โก๊ะเค้า

โทรศัพท์ : 0610266450

เผยแพร่ 01 ต.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชาติพันธุ์ไทเขิน สถาบันศาสนา วิถีชีวิต ภาษา วรรณกรรม ความเป็นอยู่และประเพณี

คำสำคัญ

แหล่งข้อมูล

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน)

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

ไม่ระบุ

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

ไม่ระบุ

Annotation

วบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการรวบรวมภาพถ่ายดิจิทัลคัมภีร์ใบลาน พับสาและเอกสารอักษรตระกูลไทจากสถานที่ต่าง ๆ ในพื้นที่ภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและสาละวิน (ภาคเหนือของไทย ภาคตะวันออกของเมียนมาร์ ภาคใต้ของจีน ปละภาคเหนือของลาว) ซึ่งเป็นเขตวัฒนธรรมอักษรไท คือมีการใช้อักษรไทยวน ไทลื้อ ไทขึน ไทใหญ่ ไทเหนือ และลาว เพื่ออนุรักษ์เผยแพร่องคืความรู้ท้องถิ่นให้สะดวกต่อการศึกษาและค้นคว้าของนักศึกษา นักวิชาการ ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป สามารถดูตัวอย่างต้นฉบับและขอใช้บริการฉบับเต็มได้ดดยติดต่อกับผู้ดุแลฐานข้อมูล
 

อ่านต่อ...
image

Author

ไม่ระบุ

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

ไม่ระบุ

Annotation

วบรวมข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลเอกสารฉบับเต็ม ซึ่งเป็นเอกสารฉบับเต็มของ วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัยของอาจารย์ รวบรวมจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ในการเข้าใช้บริการนั้นจะต้องเข้าใช้งานจากคอมพิวเตอร์ ภายในห้องสมุดสมาชิก ดูรายละเอียดห้องสมุดสมาชิก ได้จากทางเลือกมหาวิทยาลัย/สถาบัน การดำเนินการในปัจจุบันได้ดำเนินการ migrate ข้อมูลจากระบบเดิม เข้าสู่ระบบใหม่เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งได้มีการจัดอบรมการใช้งาน การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบให้กับสมาชิกใหม่ เช่น มหาวิทยาลัยเอกชน หน่วยงานอื่นๆ ที่มีจุดมุ่งหมายในการให้ความรู้และต้องการเผยแพร่ผลงานต่าง ๆ ให้สังคม เพื่อให้สังคมได้นำความรู้เหล่านี้ไปปรับใช้เพื่อเป็นการต่อยอดความรู้เดิม และพัฒนาประเทศต่อไป



 

อ่านต่อ...
image

Author

ไม่ระบุ

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

ไม่ระบุ

Annotation

วบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยทางชาติพันธุ์ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งที่เป็น หนังสือ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย บทความ ซึ่งจะมีทั้งงานที่เขียนด้วยภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ อาทิเช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเวียดนาม เพื่อสรุปเรียบเรียงเนื้อหาสาระสำคัญ เป็นภาษาไทย ตามประเด็นวิชาการที่ตั้งไว้
 

อ่านต่อ...
image

Author

ศิริวรรณ อ่อนเกตุ

Imprint

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สำนักหอสมุด

Collection

Thesis : ว/ภน 895.919 ศ373ก

Annotation

อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมเรื่อง "อลองเจ้าสามลอ" ทั้งในด้านรูปแบบและเนื้อหา ซึ่งเป็นวรรณกรรมที่ปรากฎแพร่หลายในกลุ่มของชาวไทเขิน ไทใหญ่ และไทลื้อ มีทั้งสำนวนที่ถ่ายทอดกันมาโดยทางมุขปาฐะและโดยทางลายลักษณ์ในรูปแบบของชาดก ความแพร่หลายดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า วรรณกรรมเรื่องนี้ได้รับความนิยมมาช้านานเพื่อใช้สั่งสอนผู้อ่านและผู้ฟัง ความรักไม่ว่าจะเป็นความรักหนุ่มสาว หรือความรักระหว่างบิดามารดากับบุตร หากเกิดจากความหลงใหลจนไม่รู้จักพิจารณาถึงความถูกต้องย่ิมนำไปสู่ความพินาศ และยังสะท้อนวิถีชีวิตวัฒนธรรม การค้าขาย การแต่งกาย ประเพณีการแอ่วสาว การสู่ขอ และงานศพ
 

อ่านต่อ...
image

Author

อนาโตล โรเจอร์ เป็ลติเยร์

Imprint

เชียงใหม่ : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2559

Collection

Books : BQ1029 .ป74 2559

Annotation

อธิบายถึงเนื้อหาเกี่ยวกับวรรณกรรมท้องถิ่น มีเนื้อความจากต้นฉบับอักษรไทขึนและปริวรรตเป็นอักษรไทย ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอังกฤษ เพื่อให้วรรณกรรมนี้แพร่หลายและมีประโยชน์ต่อผู้อ่านในวงกว้าง คือชาวไทขึน ล้านนา หรือลาว ที่ใช้อักษรธรรมเหมือนกัน และอ่านในส่วนที่เป็นภาษาของตนอันนำมาสู่การรับรู้เนื้อหาและสิ่งที่แฝงอยู่ในวรรณกรรม นิทานชาดกเรื่องจันทโสภาเป็นวรรณกรรมที่คล้ายกับรถเสนชาดก หรือ “นางสิบสอง” กล่าวถึงการบำเพ็ญบารมีของพระโพสัตว์ สอดแทรกวิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณี หลักความเชื่อและปรัชญาพื้นบ้านของตน จะเน้นเรื่องของผลกรรม และความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา
 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ