banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / ลเวือะ/ลัวะ/ก๋อง

ชาติพันธุ์ / ลเวือะ/ลัวะ/ก๋อง

Export All

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล

Imprint

กรุงเทพฯ : สหธรรมิก, 2548

Collection

Books P121.ม56 2548

Annotation

กล่าวถึงการพัฒนาระบบตัวเขียนภาษาก๋องที่บ้านกกเชียง ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งภาษาก๋องมีเพียงแต่ภาษาพูดเท่านั้นไม่มีภาษาเขียน ดังนั้นการถ่ายทอดความรู้ทางภาษาจากผู้อาวุโสไปสู่รุ่นเด็ก อาจทำให้รับสารได้ไม่หมดไม่มีความยั่งยืนประกอบกับภาษาพูดมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นภาษาเขียนจึงมีบทบาทสำคัญเพราะเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่มีลักษณะเป็นรูปธรรมและสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการบันทึกและถ่ายทอดองค์ความรู้ เรื่องราวต่างๆ อาทิวัฒนธรรมดั้งเดิม ประเพณีไหว้ผีหมู่บ้าน เพลงพื้นบ้าน และวัฒนธรรมอื่นๆ

อ่านต่อ...
image

Author

ปั๋น รกไพร

Imprint

[นครปฐม] : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล, 2546

Collection

Books PZ90.T5ป63 2546

Annotation

กล่าวถึงภาษาและวัฒนธรรมของชาวลัวะ ได้มีการเรียบเรียงขึ้น เป็นภาษาไทยจากเรื่องเล่าภาษาลัวะ เป็นเรื่องเล่าที่ได้รับฟังมาเมื่อครั้งยังเยาว์วัยของ ลุงปั๋น รกไพร และลุงเฉลิม รกไพร โดยทั่วไปนิทานของชาวลัวะมักจะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว วิถีชีวิตของผู้คน ในหมู่บ้านหรือเรื่องราวของสัตว์ชนิดต่าง ๆ ที่อาจจะเคยเห็นในชีวิตประจำวัน ในวิถีชีวิตของชาวลัวะพวกเขาอาจมีความสัมพันธ์กับสัตว์ในป่าเขารอบ ๆ นิทาน 12 เรื่องของชาวลัวะจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสัตว์ประเภทต่าง ๆ กับผู้คน อาจจะเปรียบเสมือนภาพจำลองสังคมที่หลากหลายของมนุษย์ ซึ่งต่างก็มีความสัมพันธ์ต่อกัน

อ่านต่อ...
image

Author

พรสุข เกิดสว่าง

Imprint

เชียงใหม่ : โครงการเพื่อนไร้พรมแดน, 2545

Collection

Books DS528.2.L38ส62 2545

Annotation

หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงผลกระทบของโครงการโยกย้ายถิ่นฐานชาวว้าที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหลากหลายรูปแบบต่อกลุ่มระชากรว้ากว่า 126,000 คน ที่ถูกสั่งให้อพยพ และต่อประชากรท้องถิ่นในเขตรัฐฉานตอนใต้อีกกว่า 48,000 คน ที่ที่มีการย้ายไปตั้งถิ่นฐานใหม่ หนังสือเล่มนี้จึงเป็นการรายงานถึงสภาพปัญหาจากการสรุปวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาจากการสังเกตสถานการณ์ เอกสารทางการต่าง ๆ และการลงพื้นที่สัมภาษณ์ชาวบ้านว้า ไทยใหญ่ อาข่า และลาหู่ ตามแนวชายแดนไทย – พม่า ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงธันวาคม พ.ศ. 2544 กลุ่มชาติพันธุ์ที่ต้องเผชิญกับปัญหาการถูกสั่งอพยพในครั้งนี้

อ่านต่อ...
image

Author

ปาริสุทธิ์ สาริกะวณิช

Imprint

-

Collection

Journal เมืองโบราณ : 27, 4 (ต.ค. - ธ.ค. 2544) ; หน้า 95-103

Annotation

บทความนี้กล่าวถึงหมู่บ้านเล็ก ๆ ของชาวลัวะ ที่ยังคงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ยังคงสภาพชาวลัวะแบบดั้งเดิม ชาวลัวะมีความเชื่อประเพณีและพิธีกรรมมากมาย อาทิ ความเชื่อและพิธีกรรมที่ผูกพันกับป่าและไร่หมุนเวียน พิธีตะละมังระ พิธีกรรมที่เกี่ยวกับบ้านเรือน การเรียกขวัญ การแต่งงาน พิธีศพ รวมไปถึงความเชื่ออื่น ๆ ได้แก่ การสัก ประเพณีปีใหม่ พิธีกรรมในเดือนเกิด ชาวลัวะบ้านกอกน้อยพอใจในการดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่ายและยึดมั่นต่อความเชื่อดังเดิมตามรอยบรรพบุรุษ และเนื่องจากกรมป่าไม้กำลังจะประกาศ เขตอุทยานแห่งชาติแม่โถทับพื้นที่หมู่บ้านและที่ทำกินซึ่งอาจจะทำให้การดำเนินชีวิตของชาวลัวะเปลี่ยนไปเช่นเดียวกับหมู่บ้านของชาวลัวะและปกา-เกอะญอ อีกกว่า 40 หมู่บ้าน ในเขตหลายตำบลของอำเภอแม่แจ่ม

อ่านต่อ...
image

Author

ปาริสุทธิ์ สาริกะวณิช

Imprint

-

Collection

Journal เมืองโบราณ : 27, 4 (ต.ค. - ธ.ค. 2544) ; หน้า 95-103

Annotation

บทความนี้จะกล่าวถึงความแตกต่างในเรื่องของสภาพภูมิประเทศที่เป็นพื้นที่ราบและที่สูง ซึ่งส่งผลกระทบต่อระดับการพัฒนาการทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ของกลุ่มชนสองกลุ่ม ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ที่แตกต่างกัน คือ กลุ่มที่อาศัยอยู่ในที่ราบ มีโอกาสการขยายตัว มีโครงสร้างทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่ดีกว่า เพราะสามารถตั้งถิ่นฐานได้อย่างถาวร การเพาะปลูกได้ผลผลิตที่ดี มีโอกาสได้ติดต่อกับสังคมอื่น ๆ พัฒนาการทางเทคโนโลยีที่สูงกว่า แตกต่างจากกลุ่มที่อาศัยอยู่ในที่สูง ที่มีระดับการพัฒนาการที่ช้า เนื่องจากไม่มีการรวมกลุ่มการจัดระเบียบทางสังคม ยังคงอาศัยความสัมพันธ์ทางเครือญาติเป็นเครื่องชักโยง

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ