banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / โส้

ชาติพันธุ์ / โส้

Export All

image author

รวบรวมโดย : จรรยา ยุทธพลนาวี

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

        โส้ หรือ โซ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งตั้งหลักแหล่งกระจายตัวอยู่ในจังหวัดต่างๆ ได้แก่ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร เมื่อเอ่ยถึง ชาวโส้ ที่อาศัยในประเทศไทยมีคำเรียกชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์นี้แตกต่างกัน เช่น “กะโซ่” หรือ “ข่ากะโซ่” มาจากคำว่า “ข่ากะโซ่” อันหมายถึง ข่าพวกหนึ่งในกลุ่มมอญ-เขมร มีขนบธรรมเนียมประเพณีคล้ายคลึงกับพวกข่า ภาษาจะคล้ายคลึงกับภาษาเขมรหรือภาษาส่วยในแถบสุรินทร์และศรีสะเกษ โดยชาวโส้นี้จะอาศัยปนอยู่กับชนพื้นเมืองกลุ่มต่าง ๆ เช่น ย้อ แสกกะเลิง ผู้ไทย ซึ่งมีภาษาพูดแต่ ไม่มีภาษาเขียน ปัจจุบันชาวโส้อยู่ใกลัชิดกับคนไทยอีสานมาก ดังนั้นประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ ตลอดจนการดำเนินชีวิต จึงเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมและเด็กรุ่นใหม่จะพูดภาษาไทย, ภาษาไทยถิ่นอีสานได้มากกว่าภาษาโส้
           คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศกลุ่มชาติพันธุ์โส้ในครั้งนี้ จะให้ความสำคัญกับรายการทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์โส้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะจังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร รวมทั้งสังคมวัฒนธรรม วิถีชีวิต และประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์โส้


อ้างอิงจาก 
ฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย. "กลุ่มชาติพันธุ์โส้"  เข้าถึงได้จาก https://www.sac.or.th/databases/ethnic-groups/ethnicGroups/69

คำสำคัญ

แหล่งข้อมูล

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศ กลุ่มชาติพันธุ์โส้ ประกอบด้วยแหล่งข้อมูล ดังนี้ หนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษ (Book), งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ (Research) ,บทความในหนังสือ (Book Chapter), บทความในวารสาร (Articles), สื่อโสตทัศน์ (Multimedia), ฐานข้อมูล (Database)

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

ดำรงพล อินทร์จันทร์, บรรณาธิการ.

Imprint

กรุงเทพฯ : ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ, 2560

Collection

Book: GN316 .ฐ63 2560

Annotation

หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมภาษาและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เพื่อจัดเก็บเป็นฐานข้อมูล โดยมีข้อมูลของกลุ่มชาติพันธุ์โส้ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ชายแดนของไทยรวมอยู่ด้วย 

ภาษาของชาวโส้จัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาออสโตร เอเชียติค (Austro Asiatic ในบางครั้งมีการเข้าใจผิดว่าชาวโส้ โซ่ กะโซ่ เป็นชนกลุ่มเดียวกับชาวโซ่งในจังหวัดเพชรบุรี นครปฐม และสุพรรณบุรี ปัจจุบันชาวโส้ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคอีสาน บริเวณจังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร 

อ่านต่อ...
image

Author

หทัยรัตน์ มาประณีต

Imprint

-

Collection

วัฒนธรรม. ปีที่ 53, ฉบับที่ 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2557), หน้า 60-66

Annotation

บทความนี้กล่าวถึงการศึกษาภาษาของชาวโซ่ (ทะวืง) ที่อยู่ในตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ซึ่งหนีภัยสงครามจากเมืองคำเกิด แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยข้ามแม่น้ำโขงผ่านเทือกเขาภูพานมาตั้งรกรากอาศัยอยู่จนถึงปัจจุบัน สำหรับภาษาโซ่ (ทะวืง) เป็นภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic) ที่ไม่มีระบบตัวอักษร ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นวิกฤตเนื่องจากเหลือผู้พูดและฟังภาษาโซ่ (ทะวืง) ประมาณ 800-1,000 คน ประกอบกับชาวโซ่ (ทะวืง) มีทัศนคติด้านลบกับภาษาของตน เพราะมีคนกลุ่มอื่นที่ฟังไม่เข้าใจและดูถูกว่าเป็นภาษาของคนป่า รวมถึงชาวโซ่ (ทะวืง) ที่มีการศึกษา หรือผู้ที่แต่งงานข้ามชาติพันธุ์ไม่ยอมพูดภาษาของตน ดังนั้น ก่อนที่จะสูญเสียรากเหง้าและมรดกภูมิปัญญาของชาวโซ่ (ทะวืง) นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ทำโครงการวิจัย “อนุรักษ์ฟื้นฟูภาษาประเพณีวัฒนธรรมของชาวไทโซ่ (ทะวืง) ตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร ”เพื่อฟื้นฟูและถ่ายทอดภาษาโซ่ (ทะวืง) โดยการพัฒนาระบบตัวเขียนเพื่อสร้างหลักเกณฑ์การเขียนที่ถูกต้องด้วยอักษรไทย ผ่านการเรียนการสอนในโรงเรียน ทำให้เกิดการสืบทอดและคงอยู่ของภาษาโซ่ (ทะวืง) ต่อไป 

อ่านต่อ...
image

Author

ทีวีไทย (นิรมล เมธีสุวกุล)

Imprint

กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2553]

Collection

Audio Visual Materials: CDF 000546

Annotation

ดิทัศน์ที่นำเสนอเรื่องราววิถีชีวิตของชาวโส้ ในหมู่บ้านหนองหอย อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ที่มีความเชื่อเรื่องผีหรืออำนาจเหนือธรรมชาติ โดยมีความเชื่อว่าหากทำอะไรไม่ดีหรือทำให้ผีไม่พอใจ ผีก็จะทำให้ตัวเองเจ็บป่วย จึงมีพิธีกรรมที่เรียกว่า “การเหยา” เป็นพิธีกรรมสื่อสารระหว่างผีกับคนผ่านหมอเหยา เพื่อถามถึงสาเหตุที่ทำให้เจ็บป่วยและวิธีการรักษา โดยใช้บทกลอน ทำนองลำ และแคนประกอบการให้จังหวะ พร้อมเครื่องคาย (เครื่องไหว้ครู) ประกอบการเหยาด้วย  

แม้จะรักษาอาการเจ็บป่วยหายแล้วแต่ผีก็กลับมาทำร้ายได้อีก จึงต้องมีพิธีลงสนามเลี้ยงผีประจำปี หรือภาษาโส้เรียกว่า แซงสนัมประจำกะมอ เป็นพิธีกรรมสำคัญที่รวมผู้คนที่เคยผ่านพิธีการเหยาจากหมอเหยาในหมู่บ้านหรือผ่านการรักษาจากหมอเหยานั้นๆมาทำพิธีร่วมกัน มักจัดขึ้นในหมู่บ้านของตนเป็นประจำทุกปี ระหว่างเดือน 4 หรือเดือน 5 ก่อนเข้าสู่ฤดูทำนาทำไร่ เพื่อเลี้ยงผีที่เคยเชิญออกจากร่าง รวมถึงบูชาหมอเหยาที่เคยรักษาให้ตนหายเจ็บป่วยเป็นการตอบแทนบุญคุณปีละครั้ง 

อ่านต่อ...
image

Author

ทีวีไทย (นิรมล เมธีสุวกุล)

Imprint

กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2553]

Collection

Audio Visual Materials: CDF 000807

Annotation

สารคดีนี้นำเสนอเกี่ยวกับชาวไทโส้ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณแอ่งสกลนคร อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร ซึ่งชาวไทโส้เป็นชาติพันธุ์ที่มีความเชื่อเรื่องสิ่งเหนือธรรมชาติ นับถือผี รวมทั้งได้เสนอเกี่ยวกับ งานโส้รำลึก ที่จัดขึ้นเพื่อบวงสรวงพระอรัญอาสา ผู้นำการตั้งถิ่นฐานของชาวโส้ในพื้นที่แอ่งสกลนคร ในงานโส้รำลึกนี้จะจัดเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 เปรียบเสมือนวันขึ้นปีใหม่ของชาวไทโส้ จะมีการประกอบพิธีกรรมต่างๆ แต่จะให้ความสำคัญกับการไหว้ผีบรรพบุรุษที่ก่อกำเนิดชาวโส้ หรือ ผีตะปูน นั่นเอง  

ทั้งยังได้มีการเสนอข้อมูลของบ้านหนองหอย ในอำเภอกุสุมาลย์ ซึ่งยังคงเป็นชุมชนชาวโส้ที่ยังคงมีวัฒนธรรมของโส้อย่างชัดเจน ใช้ภาษาโส้ในการสื่อสาร ในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ชาวบ้านจะพากันไปกราบไหว้หอผีที่เชื่อว่าดูแลคนทั้งหมู่บ้าน และได้มีพิธีการบูชาผีบรรพบุรุษเพื่อเป็นสิริมงคลกับลูกหลานในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งเป็นพิธีกรรมและวัฒนธรรมที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

อ่านต่อ...
image

Author

ทีวีไทย (นิรมล เมธีสุวกุล)

Imprint

กรุงเทพฯ : ทีวีไทย, [2552]

Collection

Audio Visual Materials: CDF 000601

Annotation

สารคดีนี้นำเสนอเกี่ยวกับโซ่ทะวืงที่ยังคงเหลืออยู่จำนวนไม่มากเพียง 2,000 คนในประเทศไทย         ที่ตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร โดยเนื้อหามีการพูดถึงการใช้ภาษาโซ่ทะวืงในการสื่อสาร ซึ่งจะมีความคล้ายคลึงกับภาษาเวียดนาม ในกลุ่มภาษาสาขาเวียตติก ปัจจุบันภาษาโซ่ทะวืงเริ่มเข้าสู่สถานการณ์วิกฤติ แต่ก็ได้รับความร่วมมือในการร่วมฟื้นฟูภาษานี้ร่วมกับคนในชุมชน 

หมู่บ้านที่ยังคงมีการใช้ภาษาโซ่ทะวืงเหลือเพียง 4 หมู่บ้านเท่านั้น ได้แก่ บ้านหนองแวง บ้านหนองเจริญ บ้านดงสร้างคำ และบ้านหนองม่วง ทั้ง 4 หมู่บ้านเป็นหมู่บ้านที่มีการอาศัยอยู่ร่วมกันแบบหลากหลายของชาติพันธุ์ทั้ง ย้อ ลาว ภูไท และโซ่ทะวืง ทางรายการได้มีการลงพื้นที่ที่บ้านหนองม่วง ซึ่งมีชาวโซ่ทะวืงหนาแน่นที่สุด มีการสื่อสารด้วยภาษาที่หลากหลายแต่กลับมีความเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างลึกซึ้ง การใช้ภาษาโซ่ทะวืงจะเห็นได้ชัดในการใช้เรียกชื่อสมุนไพร จะมีสมุนไพรหลายชนิดที่รู้จักกันเฉพาะภาษาโซ่ทะวืงเท่านั้น ในด้านการละเล่นต่างๆของชาวโซ่ทะวืงจะเป็นท่าร่ายรำที่สนุกสนานและเลียนแบบจากสัตว์ 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ