banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / ไทลื้อ

ชาติพันธุ์ / ไทลื้อ

Export All

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

ไทลื้อ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

จารุวรรณ วนาลัยเจริญจิต

Imprint

เชียงใหม่ : คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2543

Collection

Books: DS570.ล7จ64 2543

Annotation

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแบบแผนการผลิต และความสัมพันธ์ในการผลิตงานหัตถกรรมผ้าทอไทลื้อ ในเขตอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และ 2) ศึกษาการบริหาร การจัดการด้านการผลิต การขาย และการจัดการภายในกลุ่มของสตรีที่ทอผ้าไทลื้อ โดยประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ สมาชิกกลุ่มทอผ้าไทลื้อในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา จำนวน 55 คน แบ่งขั้นตอนการศึกษาเป็น 2 ด้าน คือ การศึกษาจากเอกสารและการศึกษาภาคสนาม ข้อสรุปจากการศึกษาครั้งนี้คือ งานทอผ้าไทลื้อสามารถเป็นอาชีพทางเลือกทางหนึ่งที่เหมาะสมและสอดคล้องกับชุมชน สามารถสร้างงานและรายได้ ในขณะเดียวกัน ยังเป็นการส่งเสริมทักษะความชำนาญดั้งเดิมของชุมชนให้เข้มแข็งขึ้น สามารถพัฒนาและส่งเสริมให้เป็นอาชีพที่สร้างรายได้ที่ถาวรในอนาคตได้ต่อไป
 

อ่านต่อ...
image

Author

สุรชัย คำสุ

Imprint

เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2543

Collection

Books: BQ5125.F6ส74 2543

Annotation

ตุงผ้าไทลื้อ เป็นงานหัตถกรรมที่สืบทอดกันมานานนับศตวรรษ เป็นการสร้างสรรค์งานตามความเชื่อของสังคมล้านนาที่มีความเชื่อเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิด เชื่อในเรื่องภูติผีปีศาจ และความศรัทธาทางพระพุทธศาสนา การแสวงหาสิ่งยึดเหนียวจิตใจตนเอง ตุงไทลื้อนับว่าเป็นงานหัตถกรรมชิ้นเอกที่ชาวไทลื้อสร้างและยอมรับเพื่อใช้ประกอบอานิสงค์ในการถวายทานทางพระพุทธศาสนา ตุงไทลื้อสามารถอธิบายความเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมของกลุ่มชนไทลื้อได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม ความเชื่อในการสร้างวัสดุ และเทคนิคที่มีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ
 

อ่านต่อ...
image

Author

วันดี สมรัตน์

Imprint

เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2544

Collection

DS570.ล6ว63 2544

Annotation

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมด้านความเชื่อ ค่านิยม วิถีชีวิต ความสัมพันธ์
และกลไกที่คนไทลื้อใช้ในการผลิตซ้ำ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ พระสงฆ์ หัวหน้าครอบครัว ผู้นำหมู่บ้าน ผู้อาวุโส ครู กลุ่มองค์กรในชุมชน สังเกตกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ ค่านิยม
วิถีชีวิตและความสัมพันธ์ที่มีอยู่ในชุมชน สรุปผลการศึกาวิจัยได้ดังนี้ ชาวไทลื้อมีความเชื่อ ค่านิยม วิถีชีวิต ความสัมพันธ์แบบดั้งเดิม มีการนับถือผีต่าง ๆ ได้แก่ ผีปู่ย่า ผีบ้าน เทวดาบ้าน เจ้าป่า นอกจากนี้ชาวไทลื้อยังมีความเชื่อในศาสนาพุทธ โดยเฉพาะความเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม ชุมชนชาวไทลื้อมีการผลิตซ้ำด้านค่านิยม 4 ด้าน ได้แก่ ค่านิยมการแต่งกายแบบไทลื้อในเวลามีงานประเพณีต่าง ๆ ค่านิยมการใช้ภาษาไทลื้อในชีวิตประจำวัน ค่านิยมการบริโภคอาหารแบบดั้งเดิม และค่านิยมการจับกลุ่มพูดคุยกันยามว่าง ด้านความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและชุมชนมักยึดเอาผู้อาวุโสและหัวหน้าครอบครัวเป็นหลักในการปฏิบัติ คนในชุมชนนับถือกันเหมือนพี่น้อง นอกจากนี้ชุมชนยังมีความสัมพันธ์กับธรรมชาติในลักษณะพึ่งพา และความสัมพันธ์ในสิ่งเหนือธรรมชาติที่ต้องปฏิบัติตาม
ใครฝ่าฝืนจะทำให้เกิดอาเพทเรื่องร้ายในชีวิต

 

อ่านต่อ...
image

Author

ประคอง นิมมานเหมินท์

Imprint

กรุงเทพฯ : สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554

Collection

GR312.5.ท97ป45 2554

Annotation

พญาเจือง ขุนเจือง หรือท้าวเจือง เป็นชื่อวีรบุรุษเรืองนามที่ปรากฏเรื่องราวในตำนานของล้านนาและมหากาพย์ของชนชาติไทหลายสำนวน หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงตำนานบอกเล่าและบทร้อยกรองพื้นบ้านประเภทมหากาพย์ที่แต่งขึ้นสดุดีเจ้าเจืองหาญ วีรบุรุษไทลื้อ สอบสองพันนา รวมทั้งพิธีเซ่นไหว้เทวดาเจืองหาญในฐานะที่เป็นเทพารักษ์เมืองเชียงเจือง ซึ่งผู้เขียนได้ไปร่วมในพิธีกรรมที่ยิ่งใหญ่จัดขึ้นครั้งล่าสุด
 

อ่านต่อ...
image

Author

สมพงษ์ จิตอารีย์

Imprint

เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545

Collection

Books: DS570.ล7ส4 2545

Annotation

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาบทสู่ขวัญและพิธีสู่ขวัญของชาวไทลื้อ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์
บทสู่ขวัญ บทบาทและหน้าที่ของพิธีสู่ขวัญในบริบททางสังคม และวัฒนธรรมของชาวไทลื้อ พื้นที่ที่ทำการวิจัยคือ หมู่บ้านเก็ต บ้านเฮี้ย บ้านตีนตก อำเภอปัว จังหวัดน่าน โดยศึกษาเนื้อหาของบทสู่ขวัญจากข้อมูลที่สืบทอดทาง
มุขปาฐะ และข้อมูลจากเอกสารภาษาล้านนา รวบรวมข้อมูลจากวิทยากรขณะประกอบพิธีสู่ขวัญในสถานการณ์จริงด้วยเครื่องบันทึกเสียง การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการและรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ประเภทของบทสู่ขวัญแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ บทสู่ขวัญในพิธีเปลี่ยนผ่าน บทสู่ขวัญที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล บทสู่ขวัญสำหรับบุคคลที่สำคัญในชุมชนและบทสู่ขวัญเกี่ยวกับการเกษตร รูปแบบคำประพันธ์มีลักษณะเป็นร่าย
มีร้อยแก้วแทรกอยู่ในบางวรรค ใช้ภาษาเรียบง่าย ใช้ศัพท์บาลีปนอยู่บ้าง มีการใช้ภาษาเป็นลักษณะการบรรยายและการพรรณนาความ การประกอบพิธีสู่ขวัญแต่ละประเภทมีการจัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีเช่นเดียวกันทุกพิธี คือ การเตรียมขันบายศรีและเครื่องประกอบพิธีอื่น ๆ การจัดเตรียมขันตั้งอาจารย์ ลำดับขั้นตอนของการประกอบพิธีสู่ขวัญแต่ละประเภทเป็นลักษณะเดียวกัน


 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ