banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / ไทลื้อ

ชาติพันธุ์ / ไทลื้อ

Export All

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

ไทลื้อ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

อนาโตล โรเจอร์ เป็ลติเยร์

Imprint

[เชียงใหม่] : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2532

Collection

Books: PL4251.ล7ว45

Annotation

วรรณกรรมไทลื้อเรื่อง “สุมังคละ” และวรรณกรรมไทเขินเรื่อง “ปทุมมุกขะ” ที่ได้จัดพิมพ์ขึ้นนี้
เป็นผลงานอันดับที่ 3 ที่สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ร่วมมือกับสถาบันฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ โดยมี ดร. อนาโตล เป็ลติเยร์ เป็นผู้ดำเนินการปริวรรตวรรณกรรมทั้ง 2 เรื่องนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทเขิน เพราะจะได้เห็นถึงความคล้ายคลึงและความแตกต่างในด้านภาษาและวรรณกรรม รวมถึงให้ความเข้าใจวัฒนธรรมของชาวไทเขินอีกด้วย

 

อ่านต่อ...
image

Author

จารุวรรณ พรมวัง

Imprint

กรุงเทพฯ : ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536

Collection

Books: DS570.L84จ64

Annotation

ารศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม 4 เรื่อง คือ ประเพณีเกี่ยวกับความเชื่อ ได้แก่ประเพณีการตานธรรม พิธีส่งเคราะห์เฮิน (บ้าน)-หมู่บ้าน-เมือง ประเพณีการแต่งกาย และภาษา โดยศึกษาชุมชนไทลื้อบ้านทุ่งมอก หมู่ที่ 5 ตำบลมาง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาคือ
1) เพื่อศึกษาลักษณะโครงสร้างสังคมและวัฒนธรรมโดยทั่วไปของชาวไทลื้อ 2) เพื่อศึกษากระบวนการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของชาวไทลื้อ 3) เพื่อศึกษาการรับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชาวไทลื้อแต่ละกลุ่ม วัฒนธรรม
4 เรื่องที่นำมาศึกษา ปรากฏว่าวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือ การแต่งกาย มีการเปลี่ยนแปลงน้อยคือ ภาษา สำหรับประเพณีเกี่ยวกับความเชื่อทั้ง 2 ด้าน มีทั้งเปลี่ยนไป และคงรูปแบบเดิมบางประการไว้ ขั้นตอนที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงคือ การนำมาทดลอง สำหรับการรับการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของชาวไทลื้อนั้น ผู้ที่มีการศึกษา อายุน้อย และสถานะทางสังคมที่สูง จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่าผู้ที่มีการศึกษาน้อยและอายุมาก กล่าวโดยสรุป คือ วัฒนธรรมของชาวไทลื้อมีการเปลี่ยนแปลงที่งในรูปการรับวัฒนธรรมใหม่ และธำรงเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์

 

อ่านต่อ...
image

Author

รัตนาพร เศรษฐกุล

Imprint

เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยพายัพ , 2538

Collection

Books: DS570.L84ร63 2538

Annotation

จังหวัดน่านเป็นจังหวัดที่มีชุมชนลื้อจำนวนมาก จากการศึกษาพบว่ามีการอพยพชาวลื้อทั้งจาก
สิบสองปันนาตอนใต้และตอนเหนือของลาวเข้าสู่เมืองน่านอยู่เสมอ โดยการอพยพนี้ไม่มีความขัดแย้งกับชาวยวน
ซึ่งเป็นกลุ่มเจ้าของถิ่น เพราะทั้งสองต่างมีระบบการปกครองแบบศักดินา เจ้านายและไพร่มีความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์ มีการนับถือผีและมีพระพุทธศาสนาเป็นพื้นฐานของสังคม ดำรงชีวิตด้วยการทำเกษตรกรรม ทำให้ชาวลื้อใกล้ชิดผูกพันกับธรรมชาติ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวลื้อนั้นคล้ายคลึงกับชาวยวนอย่างมาก จนยากที่จะแบ่งแยกความเป็นลื้อและยวน ภายใต้กระแสของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ชุมชนลื้อได้ปรับเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตและวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ความเป็นลื้อค่อย ๆ เลือนหายไปพร้อมกับความเป็นยวนของวัฒนธรรมยวน วัฒนธรรมแบบตะวันตกแบบทุนนิยมเข้ามาแทนที่ เมื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเจริญถึงขีดสุด ประเพณีวัฒนธรรมลื้อก็กลายเป็นความแปลกที่น่าสนใจและเป็นเอกลักษณ์ที่สามารถให้ประโยชน์แก่ท้องถิ่นได้


 

อ่านต่อ...
image

Author

อนุกูล ศิริพันธุ์

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

สยามอารยะ

Annotation

คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เล็งเห็นความสำคัญของวัฒนธรรมเครื่องนุ่งห่มของชาวไทลื้อในเมืองเงิน จึงได้จัดให้มีกิจกรรมเสริมหลักสูตรในการแสดงนิทรรศการ “ผ้าไทลื้อ” เชียงฮ่อน – หงสา และเมืองเงิน จากประเทศลาว ซึ่งเป็นของสะสมของนักศึกษาที่สนใจและกำลังศึกษาเรื่องราวของวัฒนธรรมท้องถิ่นของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
 

อ่านต่อ...
image

Author

องอาจ พรมไชย

Imprint

เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2539

Collection

Books: RS164.อ25 2539

Annotation

การวิจัยเรื่องนี้มัวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการถ่ายทอดความรู้ของชาวไทลื้อ เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลด้วยสมุนไพรที่มีการถ่ายทอดสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และเพื่อศึกษาการยอมรับของประชาชน ในการรักษาพยาบาลด้วยยาสมุนไพรของประชาชนในชุมชนชนบทของชาวไทลื้อ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลหลายวิธีผสมผสานกัน ผลการศึกษาพบว่า ชาวไทลื้อในชุมชนแห่งนี้มีการถ่ายทอดความรู้ด้วยการสืบความรู้จากบรรพบุรุษ และมีการถ่ายทอดความรู้กันในลักษณะการกล่อมเกลาทางสังคม
โดยครอบครัว เครือญาติ และเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ยังมีการเรียนรู้จากผู้รู้เช่น พระ ผู้อาวุโส หมอพื้นบ้าน
ทั้งภายในและภายนอกชุมชน การยอมรับการรักษาพยาบาลด้วยยาสมุนไพรของประชาชนในชนบท ยังให้การยอมรับและศรัทธา ส่วนมากผู้ใหญ่ยังมีความเชื่อว่าสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้และยังนิยมใช้กันอยู่ แต่คนสมัยปัจจุบันซึ่งเป็นเด็กและเยาวชน ให้การยอมรับยาสมุนไพรน้อยกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากคนเหล่านั้นได้เรียนรู้การรักษาพยาบาลจากสื่อต่าง ๆ และจากสาธารณสุข ให้รู้จักรักษาสุขภาพอนามัยและการรักษาพยาบาลด้วยวิธีวิทยาศาสตร์มากกว่าวิธีแพทย์แผนโบราณ แต่ปัจจุบันก็ยังพบว่า การรักษาด้วยการแพทย์แผนโบราณยังมีอยู่ประชาชนทุกกลุ่มควบคู่ไปกับการรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน


 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ