banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / มุสลิม

ชาติพันธุ์ / มุสลิม

Export All

image author

รวบรวมโดย : จรรยา ยุทธพลนาวี

เผยแพร่ 16 ก.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

           ชาวมุสลิมเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่น เนื่องจากเป็นกลุ่มวัฒนธรรมศาสนา อันมีธรรมเนียมปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักคำสอน ไม่ว่าชาวมุสลิมจะอยู่ในพื้นที่ใด ความศรัทธาต่อพระเจ้าและอัตลักษณ์ของความเป็นมุสลิมปรากฏ กลุ่มมุสลิมในประเทศไทย มีรูปแบบของวัฒนธรรมทั้งที่คล้ายคลึงและแตกต่างกัน การศึกษาสังคมวัฒนธรรมของกลุ่มมุสลิม นอกจากการค้นคว้าวิถีชีวิตของชาวมุสลิมแล้ว ประวัติศาสตร์สังคมและความสัมพันธ์กับกลุ่มอื่นก็มีความสำคัญ ช่วยให้สามารถเชื่อมโยงเรื่องราวของชาวมุสลิมได้ชัดเจนมากขึ้น 

          คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศกลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมในครั้งนี้ จะให้ความสำคัญกับรายการทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมหรือกลุ่มวัฒนธรรมศาสนาอิสลามในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ภาพรวมของสังคมวัฒนธรรมมุสลิมในประเทศไทย มุสลิมที่มีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตสัมพันธ์กับมุสลิมในประเทศไทย  

คำสำคัญ

แหล่งข้อมูล

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศ มุสลิม ประกอบด้วยแหล่งข้อมูล ดังนี้ หนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษ (Book), งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ (Research) ,บทความในหนังสือ (Book Chapter), บทความในวารสาร (Articles), สื่อโสตทัศน์ (Multimedia), ฐานข้อมูล (Database), เว็บไซต์ (Website), นักวิชาการ (Researcher) 

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

edited by Claire Chambers and Caroline Herbert

Imprint

Abingdon, Oxon ; New York, NY : Routledge, 2015

Collection

Books: PK5416 .I43 2015

Annotation

กล่าวถึงการสำรวจงานวรรณกรรม ภาพยนตร์ สื่อ และวัฒนธรรมที่สะท้อนภาพของชาวมุสลิมในเอเชียใต้หลังจากเหตุการณ์ 9/11 เพื่อสะท้อนการตีความและประสบการณ์ของศิลปินในฐานะชาวมุสลิมในเอเซียใต้และที่อื่นๆ ในแง่ของศาสนาและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม และวาทกรรมทางสังคมโลก
 

อ่านต่อ...
image

Author

edited by Bernhard Platzdasch, Johan Saravanamuttu

Imprint

Singapore : Institute of Southeast Asian Studies, 2014

Collection

Books: BP171.5 .R35 2014

Annotation

กล่าวถึงประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมอย่างในประเทศอินโดนีเซีย และประเทศมาเลเซีย ชึ่งสะท้อนเหตุการณ์และเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสองประเทศนี้ในมิติของการเมือง การประทะกันของความเชื่อของคนกลุ่มใหญ่และคนกลุ่มน้อย ความสัมพันธ์กับศาสนาอื่นๆ เช่น ศาสนาคริสต์ ศาสนาพุทธ หรือความเชื่อของชาวพื้นเมือง
 

อ่านต่อ...
image

Author

edited by Joseph Camilleri and Sven Schottmann

Imprint

London ;New York : Routledge, 2013

Collection

Books: BP63.A38 C85 2013

Annotation

กล่าวถึงอัตลักษณ์ทางการเมือง และสิ่งท้าทายของสังคมการเมืองต่อศาสนาและพหุวัฒนธรรม ผ่านการสำรวจบทสนทนา การปรองดอง ไมตรี และการแก้ไขความขัดแย้ง รวมทั้งการตีความที่หลากหลายของผู้มีส่วนร่วมทางสังคมที่แตกต่างกันต่อความท้าทายของข้อขัดแย้ง วัฒนธรรมและศาสนา ซึ่งส่งผลดีในการต่อรองของสังคมพหุวัฒนธรรม
 

อ่านต่อ...
image

Author

Suthep Soonthornpasuch

Imprint

Chiang Mai : Center for ethnic studies and development, Chiang Mai university, c2013]

Collection

Books: DS570.M85 S98 2013

Annotation

กล่าวถึงพื้นที่ และการตั้งถิ่นฐานของชาวมุสลิมในจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีชุมชนมุสลิมปากีสถาน และชุมชนมุสลิมยูนานอาศัยอยู่ร่วมกัน แม้ว่าจะมีโครงสร้างการปกครองโดยรัฐไทยในพื้นที่ดังกล่าว การแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์ของชาวมุสลิมไม่ได้เกิดจากแรงกดดันโดยรัฐเช่นเดียวกับสามจังหวัดชายแดนใต้ แต่เป็นความขัดแย้งภายในจากความต้องการปฏิรูปและการรวมกลุ่มของชุมชนมุสลิม จึงทำให้การอยู่ร่วมกันของชาวไทยพุทธ และชาวมุสลิมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ
 

อ่านต่อ...
image

Author

edited by Hui Yew-Foong

Imprint

Singapore : Institute of Southeast Asian Studies, 2013. (Baltimore, Md. : Project MUSE, 2014)

Collection

Books: BP173.7 .E53 2013

Annotation

กล่าวถึงบทบาททางการเมืองของอิสลามที่เผชิญกับบริบทของประเทศต่างๆในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเป็นการสรุป และสะท้อนทั้งเรื่องราวที่น่าประทับใจ การกดขี่ และความอดกลั้นต่างๆที่อาจสอดคล้องและขัดกับอำนาจทางสังคมการเมืองของชาตินั้นๆ อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และพื้นที่อื่นๆที่มีชาวมุสลิมเป็นประชากรส่วนน้อยของประเทศ เช่น ไทย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์
 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ