banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / มุสลิม

ชาติพันธุ์ / มุสลิม

Export All

image author

รวบรวมโดย : จรรยา ยุทธพลนาวี

เผยแพร่ 16 ก.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

           ชาวมุสลิมเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่น เนื่องจากเป็นกลุ่มวัฒนธรรมศาสนา อันมีธรรมเนียมปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักคำสอน ไม่ว่าชาวมุสลิมจะอยู่ในพื้นที่ใด ความศรัทธาต่อพระเจ้าและอัตลักษณ์ของความเป็นมุสลิมปรากฏ กลุ่มมุสลิมในประเทศไทย มีรูปแบบของวัฒนธรรมทั้งที่คล้ายคลึงและแตกต่างกัน การศึกษาสังคมวัฒนธรรมของกลุ่มมุสลิม นอกจากการค้นคว้าวิถีชีวิตของชาวมุสลิมแล้ว ประวัติศาสตร์สังคมและความสัมพันธ์กับกลุ่มอื่นก็มีความสำคัญ ช่วยให้สามารถเชื่อมโยงเรื่องราวของชาวมุสลิมได้ชัดเจนมากขึ้น 

          คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศกลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมในครั้งนี้ จะให้ความสำคัญกับรายการทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมหรือกลุ่มวัฒนธรรมศาสนาอิสลามในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ภาพรวมของสังคมวัฒนธรรมมุสลิมในประเทศไทย มุสลิมที่มีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตสัมพันธ์กับมุสลิมในประเทศไทย  

คำสำคัญ

แหล่งข้อมูล

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศ มุสลิม ประกอบด้วยแหล่งข้อมูล ดังนี้ หนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษ (Book), งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ (Research) ,บทความในหนังสือ (Book Chapter), บทความในวารสาร (Articles), สื่อโสตทัศน์ (Multimedia), ฐานข้อมูล (Database), เว็บไซต์ (Website), นักวิชาการ (Researcher) 

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

เขต รัตนจรณะ

Imprint

กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2535

Collection

Books:NA7435 .ข7อ7

Annotation

งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาเกี่ยวกับเอกลักษณ์ของเรือนไทยมุสลิมใน 4 จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล โดยลักษณะเรือนไทยในบริเวณดังกล่าวสามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ พื้นที่ฝั่งทะเลตะวันออกติดกับอ่าวไทย ที่ชาวไทยมุสลิมประกอบอาชีพกสิกรรม จึงมีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอาคารพาณิชย์ และอาคารประกอบพิธีทางศาสนาอิสลาม และพื้นที่ฝั่งทะเลตะวันตกติดกับทะเลอันดามัน บริเวณจังหวัดสตูล ที่ได้รับอิทธิพลด้านสถาปัตยกรรมจากรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย การศึกษาครั้งนี้พบว่า รูปแบบเรือนไทยมุสลิมยังได้รับอิทธิพลจากความเชื่อ ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ อาชีพ เศรษฐกิจ ความเชื่อ และอิทธิพลต่างชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการผสมผสานได้อย่างลงตัวระหว่าประโยชน์ใช้สอย และความงดงาม
 

อ่านต่อ...
image

Author

ณะอนุกรรมการส่งเสริมการแต่งตำราวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

Imprint

ปัตตานี : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2529

Collection

Books:JQ1745 .ส22

Annotation

กล่าวถึงภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของหัวเมืองปักษ์ใต้ในอดีต ตั้งแต่ก่อนสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นอ้างอิงตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งนำเสนอรากเหง้าทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ที่มีความเกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองในพื้นที่ ตลอดจนความพยายามของรัฐที่ต้องการบูรณาการ และผสมผสานสองวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน แต่ประสบความล้มเหลวมาโดยตลอด
 

อ่านต่อ...
image

Author

อนันต์ วัฒนานิกร

Imprint

ปัตตานี : ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2528

Collection

Books:DS589.ป6 อ36 2528

Annotation

รวมบทความเกี่ยวกับมิติทางวัฒนธรรมของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้โดย อ. อนันต์ วัฒนานิกร ซึ่งได้รวบรวมบทความวิชาการในด้านประเพณี ความเชื่อ ประวัติศาสตร์ และสังคมบริเวณจังหวัดปัตตานี อันเป็นเมืองโบราณแห่งหนึ่งที่ถูกค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีมากมายที่สะท้อนความเป็นอยู่ของผู้คน และการเป็นเมืองโบราณสำคัญแห่งหนึ่งในอดีต
 

อ่านต่อ...
image

Author

ปีเตอร์ จี กาววิ่ง, เขียน ;บัณฑร อ่อนดำ, แปล

Imprint

กรุงเทพฯ : มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2518

Collection

Books: DS666.ม7 ก65

Annotation

กล่าวถึงชาวมุสลิมในฐานะเป็นชนกลุ่มน้อยในภาคใต้ของประเทศไทย และประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเผชิญปัญหาที่เหมือนกันคือการแบ่งแยกดินแดนภายใต้การการเป็นพลเมืองของประเทศนั้น โดยปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้นจากนโยบายบูรณาการทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของรัฐบาลไทยและฟิลิปปินส์ ทัศนคติและความรู้สึกที่ไม่ดีต่อกันของชนกลุ่มใหญ่และชนกลุ่มน้อยของประเทศ และความสำนึกในความเป็นอิสลามของชนกลุ่มนน้อยในประเทศ ตลอดจนได้เสนอแนวทางแก้ไข เช่น การให้ความสนใจต่อข้อเรียกร้องของมุสลิม หรือการปลูกฝังให้เด็กนักเรียนเคารพในกลุ่มคนที่หลากหลาย เป็นต้น
 

อ่านต่อ...
image

Author

edited by Melissa Crouch

Imprint

New Delhi, India : Oxford University Press, 2016

Collection

Books: KNL2107.M56 A17 2014

Annotation

กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาอิสลาม และรัฐพม่า ที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชน ซึ่งการตอบสนองที่เกิดขึ้นล้วนไกลห่างจากความรู้ความเข้าใจระหว่างชุมชนมุสลิม และนโยบายอันเกิดจากสถาบันต่างๆของรัฐ นักวิชาการได้มุ่งประเด็นเกี่ยวกับลัทธิล่าอาณานิคมและกฎหมาย ประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน และความท้าทายต่อความรุนแรงและความปลอดภัย ในมิติทางการเมือง ศาสนา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การเมือง ประวัติศาสตร์ กฎหมาย และมานุษยวิทยา
 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ