banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / มุสลิม

ชาติพันธุ์ / มุสลิม

Export All

image author

รวบรวมโดย : จรรยา ยุทธพลนาวี

เผยแพร่ 16 ก.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

           ชาวมุสลิมเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่างจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่น เนื่องจากเป็นกลุ่มวัฒนธรรมศาสนา อันมีธรรมเนียมปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักคำสอน ไม่ว่าชาวมุสลิมจะอยู่ในพื้นที่ใด ความศรัทธาต่อพระเจ้าและอัตลักษณ์ของความเป็นมุสลิมปรากฏ กลุ่มมุสลิมในประเทศไทย มีรูปแบบของวัฒนธรรมทั้งที่คล้ายคลึงและแตกต่างกัน การศึกษาสังคมวัฒนธรรมของกลุ่มมุสลิม นอกจากการค้นคว้าวิถีชีวิตของชาวมุสลิมแล้ว ประวัติศาสตร์สังคมและความสัมพันธ์กับกลุ่มอื่นก็มีความสำคัญ ช่วยให้สามารถเชื่อมโยงเรื่องราวของชาวมุสลิมได้ชัดเจนมากขึ้น 

          คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศกลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมในครั้งนี้ จะให้ความสำคัญกับรายการทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมหรือกลุ่มวัฒนธรรมศาสนาอิสลามในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ภาพรวมของสังคมวัฒนธรรมมุสลิมในประเทศไทย มุสลิมที่มีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตสัมพันธ์กับมุสลิมในประเทศไทย  

คำสำคัญ

แหล่งข้อมูล

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศ มุสลิม ประกอบด้วยแหล่งข้อมูล ดังนี้ หนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษ (Book), งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ (Research) ,บทความในหนังสือ (Book Chapter), บทความในวารสาร (Articles), สื่อโสตทัศน์ (Multimedia), ฐานข้อมูล (Database), เว็บไซต์ (Website), นักวิชาการ (Researcher) 

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

นันทวรรณ ภู่สว่าง, เขียน : สุรชาติ บำรุงสุข, บรรณาธิการ

Imprint

กรุงเทพฯ : โครงการความมั่นคงศึกษา, 2555

Collection

Books:DS570.ม6 น63 2555

Annotation

กล่าวถึงที่มาทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ที่ในอดีตเป็นหัวเมืองที่เข้มแข็ง แต่ในช่วงการล่าอาณานิคมจากชาติตะวันตก ไทยต้องจำยอมโอนอำนาจอธิปไตยในพื้นที่ดังกล่าวให้อังกฤษ เพื่อแลกกับสิทธิสภาพนอกอาณาเขตภายใต้สนธิสัญญา พ.ศ. 2452 นับแต่นั้นพื้นที่ในบริเวณดังกล่าวจึงถูกปกครองภายใต้รัฐไทย จึงเป็นมูลเหตุของขบวนการแบ่งแยกดินแดนในพื้นที่มาโดยตลอด เพื่อแสดงการไม่ยอมรับต่อการปกครอง และเป็นอิสระในการปกครองตนเอง
 

อ่านต่อ...
image

Author

วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

Imprint

กรุงเทพฯ : คณะทำงานทางสังคมสถาบันวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555

Collection

Books: BP163 .อ654 2555

Annotation

รวมบทความและบทวิจารณ์ที่ได้นำเสนอในการสัมมนาวิชาการเรื่อง “อิสลามกับความท้าทายของโลกสมัยใหม่”  เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2552 ณ ห้องประชุมเชคดาวูด อัลฟาฎอนีย์ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ประกอบด้วย บทปาฐกถานำโดย ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา บทบรรยายพิเศษโดย ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ บทความที่นำเสนอโดยนักวิชาการในพื้นที่ จำนวน  8 เรื่อง พร้อมบทวิจารณ์และข้อคิดเห็น ที่เป็นการสะท้อนมุมมองของนักวิชาการในพื้นที่ภาคใต้ต่อปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นของศาสนาอิสลาม และสังคมมุสลิมในปัจจุบัน อาทิ การจัดการความรู้และระบบความรู้ในศาสนาอิสลาม บริบททางสังคมปัจจุบันกับศาสนาอิสลามที่มีความเป็นพลวัต และในแง่ของอิสลามานุวัตร รัฐเซคคิวลาร์ เรื่องสวัสดิการทางสังคมอิสลามและระบบเศรษฐกิจอิสลาม ตลอดจนบทบาทของผู้หญิงมุสลิมในปัจจุบัน
 

อ่านต่อ...
image

Author

มหาวิทยาลัยมหิดล

Imprint

กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล, [2552]

Collection

Audio Visual Materials:CDF 000386

Annotation

ไทยตุมปัต” กล่าวถึงภาษาที่ถูกใช้โดยคนมาเลย์เชื้อสายไทยในเมืองตุมปัต รัฐกลันตัน และนับถือศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นกลุ่มคนไทยในคาบสมุทรมลายูเช่นกัน เพียงแค่มีเส้นแบ่งพรมแดนของประเทศเป็นตัวกั้นกลาง สำหรับ “เบตงแสนงาม” กล่าวถึงอัตลักษณ์อันโดดเด่นของคนไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ซึ่งดำรงวิถีชีวิตผ่านงานเทศกาลประเพณี ภาษาจีนสำเนียงต่างๆ การตั้งมูลนิธิที่เชื่อมร้อยคนจีนในพื้นที่ สถาบันการศึกษาจีน เป็นต้น
 

อ่านต่อ...
image

Author

ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ

Imprint

กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2551

Collection

Audio Visual Materials:SAC 000569

Annotation

กล่าวถึงลักษณะและวิถีชีวิตของคนมลายูมุสลิมในปัตตานีที่มีความแตกต่างจากมุสลิมที่อื่นๆ เช่น การผสมผสานความเชื่อทางศาสนา เข้ากับความเชื่อของท้องถิ่น หรือการย้ายพื้นที่ของผู้คนตามแหล่งทรัพยากรและไม่ได้อยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นการถาวรก่อนการปกครองของรัฐไทยแบบรวมศูนย์จะเกิดขึ้น เป็นต้น ตลอดจนวิถีปฏิบัติของสามัญชนในพื้นที่ในการเผชิญหน้ากับรัฐไทย ที่มีการผสมผสานความเป็นชาติพันธุ์และท้องถิ่นเข้าไว้ด้วยกัน
 

อ่านต่อ...
image

Author

ศูนย์วัฒนธรรม สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน กรุงเทพฯ ;ผู้แปล, กิติมา อมรทัต

Imprint

กรุงเทพฯ : ศูนย์วัฒนธรรม สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน, 2538

Collection

Books:DS578.4 .ก63

Annotation

กล่าวถึงบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ในราชสำนักอยุธยาอย่างเจ้าพระยาบวรราชนายก หรือเชคอหมัด คูมี ชาวอิหร่านมุสลิมที่เข้ามามีบทบาทในการเป็นที่ปรึกษาของเจ้าพระยาพระคลังให้กับกษัตริย์ไทย อีกทั้งเป็นผู้จัดการท่าเรือ และเป็นผู้ตกลงข้อพิพาทระหว่างชุมชนชาวต่างประเทศในสมัยนั้น นอกจากนี้ยังกล่าวถึงบริบทอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเชคอหมัด มูนี อาทิ การเป็นผู้นำของชุมชนมุสลิมในสยาม การศึกษาร่องรอยทางโบราณคดีที่เกี่ยวกับเชคอหมัด คูมี และอิทธิพลของสถาปัตยกรรมแบบเปอร์เซียในสมัยอยุธยา
 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ