banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / มลาบรี

ชาติพันธุ์ / มลาบรี

Export All

image author

รวบรวมโดย : อนันต์ สมมูล

โทรศัพท์ : 028809429ext3701

เผยแพร่ 25 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

คู่มือแนะนำทรัพยากรสารสนเทศด้านชาติพันธุ์ : มลาบรี กลุ่มชาติพันธุ์มลาบรี คนในเรียกตัวเองว่า ยุมบรี, มลาบรี, มละบริ แต่บุคคลภายนอกเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มนี้แตกต่างกันอาทิ ผีตองเหลือง/ผีป่า ข่าตองเหลือง (Kha Tong Luang)/ข่าป่า (Kaa Paa) ม้ากู่/จันเก้ม ตองเหลือง/คนตองเหลือง คนป่า เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีลักษณะทางวัฒนธรรมแบบเฉพาะที่เรียกว่า วัฒนธรรมหาของป่า-ล่าสัตว์ (hunting-Gather culture) ชาวมลาบรี เดิมมีถิ่นฐานอยู่ในเขตจังหวัดสายยะบุรี ประเทศลาว ต่อมาเริ่มอพยพไปอยู่ตามที่ต่างๆ ตามแหล่งอาหารจากธรรมชาติที่มีตามฤดูกาลเช่น แถบภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ แถบภูกระดึง จังหวัดเลย และตามป่าบนดอยสูงทางภาคเหนือของประเทศไทย ปัจจุบันมีชุมชนเป็นของตนเองในพื้นที่ 2 จังหวัด หมู่บ้านห้วยหยวก อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน และบ้านทะวะ อำเภอสอง และบ้านห้วยฮ่อม อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ “มละบริ” คือคนที่อยู่กับป่า ผู้มีภูมิปัญญาเกี่ยวกับการยังชีพในป่า อาศัยป่าเลี้ยงตัวเอง พวกเขามีความสัมพันธ์กับคนกลุ่มอื่นๆ ในพื้นที่ด้วยการแลกเปลี่ยนของป่ากับของจำเป็นที่ใช้ดำรงชีวิต เช่น เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เกลือ เป็นต้น ใน subject guide ชุดนี้จะรวบรวมบรรณานุกรมหนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธุ์ และบทความเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์มลาบรี ทั้งหมดที่รวมรวมได้ เพื่อเป็นแนวทางให้นักวิจัยได้ทราบองค์ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์นี้ว่ามีทรัพยากรสารสนเทศอะไรบ้าง

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

Chazee Laurent

Imprint

Bangkok : White Lotus Press, c2001

Collection

SAC Library Books (7th floor) DS570.P48C53 2001

Annotation

            กลุ่มชาติพันธุ์มลาบรีนั้นถือเป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ระหว่างภาคเหนือของประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยที่ผ่านมาการศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ดังกล่าวมีมาอย่างต่อเนื่องในฝั่งประเทศไทย การศึกษากลุ่มชาติพันธุ์มลาบรีในพื้นที่ป่าจังหวัดไชยบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในงานศึกษาชิ้นนี้ จึงถือเป็นการศึกษาที่ทำให้เข้าใจวัฒนธรรม วิถีชีวิตและจิตวิญญาณที่มีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับผืนป่าของกลุ่มชาติพันธุ์มลาบรีมากยิ่งขึ้น เกิดความเชื่อมโยงความรู้เข้าใจต่อกลุ่มชาติพันธุ์ดั่งกล่าวในประเทศไทย ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายต่างๆที่เกิดขึ้นต่อวิถีดั้งเดิมแบบเร่ร่อนล่าสัตว์หาของป่า อันเกิดจากสังคมภายนอกที่รุกล้ำเข้ามาในพื้นที่อยู่อาศัยของพวกเขา เช่น สงครามความขัดแย้ง อคติเชิงชาติพันธุ์ โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ก่อให้เกิดการตั้งคำถามถึงการอยู่รอดท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงนี้ ซึ่งส่งผลให้กลุ่มชาติพันธุ์มลาบรีในปัจจุบัน มีจำนวนประชากรที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง

อ่านต่อ...
image

Author

ยอดขวัญ บุญซ้อน

Imprint

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2543

Collection

Elibrary -- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

Annotation

            โครงการการจัดการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของ “ชนเผ่าตองเหลือง (ชื่อเรียกตามโครงงานวิจัย)” บ้านท่าวะ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการให้เด็กชนเผ่าตองเหลือง ผ่านกิจกรรมทำไร่ข้าว เพื่อเป็นเครื่องมือที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของชนเผ่าตองเหลืองบ้านท่าวะ จากปัญหาการขาดแขลนโภชนาการทางอาหารของเด็กในพื้นที่  ซึ่งเป็นปัญหาสืบเนื่องมาจากพื้นที่ป่าไม้ทำกินที่ลดลง ทำให้ชนเผ่าตองเหลืองต้องออกมารับจ้างเพื่อแลกกับเงินหรืออาหาร แต่กลับประสบพบกับการถูกเอารัดเอาเปรียบ โครงการดังกล่าวนี้ได้เน้นการดำเนินงานการมีส่วนร่วมระหว่างฝ่ายต่างๆ ประกอบไปด้วย คณะนักวิจัย ชาวบ้านกลุ่มผู้ทำไร่ข้าว เด็กและผู้ปกครองชนเผ่าตองเหลือง รวมไปถึงหน่วยงานภาคราชการที่เกี่ยวข้อง ผลจากการทำโครงการพบว่าเด็กๆและผู้ปกครองชนเผ่าตองเหลืองได้เรียนรู้ขั้นตอนการทำไร่ข้าว เกิดการถ่ายโอนความรู้ สามารถวางแผนและขอคำปรึกษาในการทำไร่ข้าวในขั้นต่อไป

อ่านต่อ...
image

Author

วิสุทธิ์ ศรีวิศาล

Imprint

[12], 197, 7 แผ่น : ภาพประกอบ, แผนภูมิ

Collection

SAC Library-Research and Thesis-DS570.ผ6ว65

Annotation

            งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศวิทยา นโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจซึ่งที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ และวิถีชีวิตในสังคมชนเผ่ามลาบรี ณ บ้านบ่อหอย ต.ยาบหัวนา อ.เวียงสา จ.น่าน และ บ้านบุญยืน ต.บ้านเวียง อ.ร้องกวาง จ.แพร่ โดยอาศัยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงวัฒนธรรมด้านต่างๆ ของชนเผ่ามลาบรี ไม่ว่าจะเป็น อาหาร ระบบครัวเรือน การเมืองการปกครอง การจัดการกับสิ่งแวดล้อม ความเชื่อและศาสนา 
            ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของผีตองเหลืองมี คือจำนวนป่าไม้ที่ลดลงมีผลต่อระบบเศรษฐกิจของผีตองเหลือง เพราะถ้าป่าไม้ลดลง วิถีชีวิตของผีตองเหลืองจะเปลี่ยนแปลงไป ขณะที่ดินที่จำกัดก็มีผล กระทบต่อระบบเศรษฐกิจของผีตองเหลือง เพราะที่ดินที่สมบูรณ์จะทำให้ผีตองเหลืองมีอาหารอุดมสมบูรณ์ตลอดไป ขณะเดียวกันทรัพยากรธรรมชาติที่ลดน้อยลงมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของผีตองเหลือง เพราะผีตองเหลืองอาศัยทรัพยากรธรรมชาติเป็นแหล่งอาหาร การติดต่อวัฒนธรรมระหว่างผีตองเหลือง และม้งก็มีส่วนทำให้ระบบเศรษฐกิจของผีตองเหลืองเปลี่ยนแปลง เพราะมีการเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจจากการค้าเงียบไปเป็นระบบเศรษฐกิจแบบขายแรงงาน ส่วนการรับกระแสวัฒนธรรมเมือง พบว่าการเปลี่ยนแปลงเรื่องเครื่องแต่งกายของผีตองเหลืองเห็นได้ชัดที่สุด 

อ่านต่อ...
image

Author

สุวิไล เปรมศรีรัตน์

Imprint

[ม.ป.ท. : ม.ป.พ., 2537?]

Collection

Books DS589.น9ส75

Annotation

            หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงผลของการศึกษา และสำรวจด้านภาษาศาสตร์ของชาวไทยภูเขาที่อาศัยอยู่ในจังหวัดน่าน 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มขมุ กลิ่นถิ่นหรือลัวะ และกลุ่มมลาบรี หรือผีตองเหลือง ซึ่งเป็นภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติก (Austro-Asiatic language) กลุ่มมอญ-เขมร ทำให้เข้าใจภาษาศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์ ที่มีความเหมือนและเหลื่อมซ้อนกัน และเป็นแนวทางไปสู่ทางออกของปัญหาการเรียกชื่อที่ยังมีความสับสนอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งอาจมีชื่อเรียกหลายชื่อ หรือชื่อหนึ่งอาจเป็นชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ มากกว่าหนึ่งกลุ่มซึ่งเป็นเหตุให้ผู้คนภายนอกเกิดความสับสนและความเข้าใจกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสามกลุ่มปะปนกันอาทิ ปัญหาการเรียกชื่อกลุ่มถิ่น หรือลัวะ มีชื่อเรียกที่หลากหลาย ซึ่งแต่ละชื่อมาจากเหตุและผลที่ต่างกัน เช่น ชื่อพื้นบ้าน คือ ชื่อที่กลุ่มนี้เรียกตนเอง ชื่อพื้นเมือง คือ ชื่อที่ชาวน่านใช้เรียกกลุ่มชนนี้ และชื่อราชการ คือชื่อที่ทางราชการใช้เรียกกลุ่มชนนี้

อ่านต่อ...
image

Author

คารม ไปยะพรหม

Imprint

นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล

Collection

SAC Library-Research and Thesis- P35.K53 1990

Annotation

            วิทยานิพนธ์เน้นวิจัยจากเอกสาร และการลงพื้นที่ภาคสนามในจังหวัดแพร่และจังหวัดน่าน ระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2529 ถึงปีพ.ศ. 2532 ใน 3 ประเด็นหลักคือ ประเด็นแรก เกี่ยวกับระบบเสียง ซึ่งประกอบด้วย ทำนองเสียง คำ พยางค์ และหน่วยเสียง ประเด็นที่สอง เกี่ยวกับลักษณะทางด้านมานุษยวิทยา ซึ่งประกอบด้วย ระบบเครือญาติ บ้าน ลักษณะเครื่องมือเครื่องใช้ การรักษาโรคและเพลง ประเด็นที่สาม เกี่ยวกับความสัมพันธ์ ระหว่างภาษาและมานุษยวิทยา ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากการสร้างคำ โดยอาศัยแนวเทียบกับสภาพแวดล้อมทางมานุษยวิทยาและสังคม

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ