banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / จีน

ชาติพันธุ์ / จีน

Export All

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

จีน

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

อภิญญา นนท์นาท

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 44, ฉบับที่ 2 (เม.ย./มิ.ย. 2561), หน้า 54-66

Annotation

โรงเรียนจีนเป็นหนึ่งในองค์กรสำคัญในหมู่ชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย เป็นสถานที่หล่อหลอมและส่งเสริมอัตลักษณ์ให้แก่ลูกหลานชาวจีนโพ้นทะเลให้มีความผูกพันกับแผ่นดินแม่และไม่ลืมวัฒนธรรมดั้งเดิมของบรรพบุรุษ นอกจากนั้นยังมีการสอนภาษาจีน การบัญชี และความรู้ต่างๆ เพื่อให้ลูกหลานชาวจีนมีทักษะในการประกอบกิจการค้าขาย ช่วยเหลืองานของครอบครัวได้ อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงาถือเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีผู้อพยพชาวจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะชาวจีนฮกเกี้ยน มีโรงเรียน “เต้าหมิง” เป็นโรงเรียนจีนแห่งแรกในอำเภอ โดยปรากฎหลักฐานในแบบแจ้งความจำนงตั้งโรงเรียนในปี พ.. 2463 การก่อตั้งโรงเรียนจีนในชุมชนดังกล่าวจึงเป็นเหมือนสิ่งสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิต บทบาททางเศรษฐกิจและสังคมของชาวจีนที่อยู่ในสังคม ผู้เขียนได้ค้นคว้าข้อมูลทั้งที่เป็นเอกสาร ภาพถ่าย และคำบอกเล่าเกี่ยวกับโรงเรียนเต้าหมิง เพื่อแสดงให้เห็นความเจริญรุ่งเรืองของชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลในอำเภอตะกั่วป่าในยุคนั้นได้อย่างชัดเจน
 

อ่านต่อ...
image

Author

สุดารา สุจฉายา

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

สารคดี. ปีที่ 30, ฉบับที่ 354 (ส.ค. 2557), หน้า 148-149

Annotation

บทความนี้เขียนโดยผู้แต่งที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนเซี่ยงไฮ้ เขียนในรูปแบบเรื่องเล่าจากประสบการณ์ชีวิตส่วนตัวและจากการสัมภาษณ์บุคคลที่อยู่ใน “ตรอกเซี่ยงไฮ้” ซึ่งเป็นชุมชนเก่าในกรุงเทพฯ ที่ชาวจีนเซี่ยงไฮ้เคยอยู่อาศัย ชาวจีนเซี่ยงไฮ้ที่อพยพมายังประเทศไทยสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ กลุ่มแรกมาจากตัวเมืองเซี่ยงไฮ้ เป็นปัญญาชนที่มีการศึกษาเดินทางมาประกอบธุรกิจในประเทศไทย ส่วนอีกกลุ่มมาจากเมืองหลินโป ส่วนใหญ่มีฝีมือในการทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ ซึ่งถือเป็นอาชีพหลักของชาวจีนที่อาศัยอยู่ในตรอกเซี่ยงไฮ้นั่นเอง ผู้เขียนยังได้บรรยายเกี่ยวกับอาหารเซี่ยงไฮ้ดั้งเดิมซึ่งอาจไม่คุ้นตาคนไทยในปัจจุบันมากนัก และได้ทิ้งท้ายเกี่ยวกับชาวจีนเซี่ยงไฮ้ในปัจจุบันว่ามีการแต่งงานข้ามกลุ่มชาติพันธุ์กันไปมากแล้ว ที่เป็นชาวจีนเซี่ยงไฮ้แท้ๆ ก็มีเพียงกลุ่มที่เพิ่งอพยพย้ายถิ่นเข้ามาใหม่นั่นเอง
 

อ่านต่อ...
image

Author

Gregor Benton and Edmund Terence Gomez

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

Ethnic and racial studies. vol. 37, no. 7 (Jun. 2014), p.1157-1171

Annotation

บทความนี้ศึกษาพัฒนาการของอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์และเอกลักษณ์ประจำชาติในกลุ่มทายาทผู้อพยพชาวจีน โดยมีการตั้งคำถามถึงการที่ชนกลุ่มนี้ต้องเผชิญกับการถูกเลือกปฏิบัติ ดังที่จะเห็นได้จากอัตราการเกิดความขัดแย้งทางเชื้อชาติระหว่างชาวจีนซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยกับชนส่วนใหญ่ในประเทศที่เพิ่มขึ้นเรื่อยมา ไม่ว่าจะเป็นในประเทศที่พัฒนาแล้วหรือในประเทศกำลังพัฒนา ทั้งๆ ที่ทั่วโลกต่างมีการถกเถียงในประเด็นอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ การถูกกีดกัน และสิทธิพลเมืองของชาวจีนพลัดถิ่นมาโดยตลอด
 

อ่านต่อ...
image

Author

ลอเรณศ์ ฉั่ว

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

อ่าน. ปีที่ 5, ฉบับที่ 1 (ก.ค.-ธ.ค. 2556), หน้า 154-173

Annotation

บทความเรื่องนี้ถูกนำเสนอในงานสัมมนา “การเมืองของการวิจารณ์ในเมืองไทย : ศิลปะและวารสารอ่าน” (The politics of criticism in Thailand : Arts and Aan”) จัดโดยโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยคอร์แนล ในปี พ..2555 ผู้เขียนซึ่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและการพัฒนาชุมชนเมือง ได้สะท้อนให้เห็นสภาพสังคมกรุงเทพฯ สมัยต้นศตวรรษที่ 20 ที่ถูกทำให้เหมือนกับว่ามีเมืองสองเมืองซ้อนกัน คือเมืองของชาวจีนอพยพในย่านสำเพ็ง และเมืองของคนไทยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผ่านเหตุกาณ์สำคัญที่เป็นความขัดแย้งระหว่างชาวจีนและรัฐไทย การสร้างถนนตัดใหม่ที่มีผลกระทบต่อชุมชนชาวจีนในสำเพ็ง การใช้สถาปัตยกรรมเพื่อแบ่งแยกและแสดงความแตกต่างทางเชื้อชาติ และแนวคิดชาตินิยมของรัฐไทยในสมัยนั้น
 

อ่านต่อ...
image

Author

พวงทิพย์ เกียรติสหกุล

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ 19, ฉบับที่ 1-2 (2539-2540), หน้า 71-91

Annotation

บทความนี้ปรับปรุงมาจากส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง “บทบาทของชาวจีนและชาวตะวันตกต่อกิจการเหมืองแร่ดีบุกของมณฑลภูเก็ต ตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ 25 – ..2474” การทำเหมืองแร่ดีบุกนับเป็นกิจการที่สร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้แก่ภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณเมืองฝั่งทะเลตะวันตกหรือที่เรียกว่ามณฑลภูเก็ตในขณะนั้น ซึ่งการทำเหมืองส่วนมากในยุคแรกล้วนแต่เป็นของผู้ว่าราชการเมือง บทบาทของชาวจีนในกิจการเหมืองแร่ก็เริ่มจากการเป็นผู้ใช้แรงงาน จากนั้นจึงพัฒนามาเป็นผู้ร่วมลงทุนกับผู้ว่าราชการเมือง และเป็นผู้ประกอบการในที่สุด
 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ