banner image

Subject Guide

หน้าแรก / Subject Guide / ชาติพันธุ์ / ไทลื้อ

ชาติพันธุ์ / ไทลื้อ

Export All

เผยแพร่ 01 ส.ค. 2563

ขอบเขตของเนื้อหา

ไทลื้อ

เรียงลำดับข้อมูลจากใหม่ไปเก่า | เรียงลำดับข้อมูลจากเก่าไปใหม่


image

Author

รัตนาพร เศรษฐกุล

Imprint

เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยพายัพ , 2538

Collection

Books: DS570.L84ร63 2538

Annotation

จังหวัดน่านเป็นจังหวัดที่มีชุมชนลื้อจำนวนมาก จากการศึกษาพบว่ามีการอพยพชาวลื้อทั้งจาก
สิบสองปันนาตอนใต้และตอนเหนือของลาวเข้าสู่เมืองน่านอยู่เสมอ โดยการอพยพนี้ไม่มีความขัดแย้งกับชาวยวน
ซึ่งเป็นกลุ่มเจ้าของถิ่น เพราะทั้งสองต่างมีระบบการปกครองแบบศักดินา เจ้านายและไพร่มีความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์ มีการนับถือผีและมีพระพุทธศาสนาเป็นพื้นฐานของสังคม ดำรงชีวิตด้วยการทำเกษตรกรรม ทำให้ชาวลื้อใกล้ชิดผูกพันกับธรรมชาติ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวลื้อนั้นคล้ายคลึงกับชาวยวนอย่างมาก จนยากที่จะแบ่งแยกความเป็นลื้อและยวน ภายใต้กระแสของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ชุมชนลื้อได้ปรับเปลี่ยนวิถีการดำรงชีวิตและวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ความเป็นลื้อค่อย ๆ เลือนหายไปพร้อมกับความเป็นยวนของวัฒนธรรมยวน วัฒนธรรมแบบตะวันตกแบบทุนนิยมเข้ามาแทนที่ เมื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเจริญถึงขีดสุด ประเพณีวัฒนธรรมลื้อก็กลายเป็นความแปลกที่น่าสนใจและเป็นเอกลักษณ์ที่สามารถให้ประโยชน์แก่ท้องถิ่นได้


 

อ่านต่อ...
image

Author

อนุกูล ศิริพันธุ์

Imprint

ไม่ระบุ

Collection

สยามอารยะ

Annotation

คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เล็งเห็นความสำคัญของวัฒนธรรมเครื่องนุ่งห่มของชาวไทลื้อในเมืองเงิน จึงได้จัดให้มีกิจกรรมเสริมหลักสูตรในการแสดงนิทรรศการ “ผ้าไทลื้อ” เชียงฮ่อน – หงสา และเมืองเงิน จากประเทศลาว ซึ่งเป็นของสะสมของนักศึกษาที่สนใจและกำลังศึกษาเรื่องราวของวัฒนธรรมท้องถิ่นของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
 

อ่านต่อ...
image

Author

รุจยา อาภากร

Imprint

กรุงเทพฯ : มติชน, [2539?]

Collection

Books: DS570.ล7ท95

Annotation

หนังสือเล่มนี้จัดทำขึ้นโดย สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อจัดทำโครงการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและชาติพันธ์ล้านนา ในลักษณะการสร้างแนวคิด เพื่อนำเสนอเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์ จำนวน 3 กลุ่มคือ ไทยอง ไทใหญ่ และไทลื้อ โดยรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ องค์ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลป์ เพื่อสร้างรูปแบบพิพิธภัณฑ์ทางด้านวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ล้านนา ในแบบที่เป็นจริงและพิพิธภัณฑ์เสมือน เผยแพร่ในเว็บไซต์ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของทุกฝ่าย และสนับสนุนการเรียนการสอนและการทำวิจัยทางด้านชาติพันธุ์ในล้านนา สิ่งสำคัญในการจัดทำโครงการนี้ได้ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่กับชุมชนท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาและอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในเขตภาคเหนือ และสืบทอดมรดกอันดีงามแก่คนรุ่นใหม่ในชุมชนต่อไป

 

อ่านต่อ...
image

Author

สุรชัย คำสุ

Imprint

เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2543

Collection

Books: BQ5125.F6ส74 2543

Annotation

ตุงผ้าไทลื้อ เป็นงานหัตถกรรมที่สืบทอดกันมานานนับศตวรรษ เป็นการสร้างสรรค์งานตามความเชื่อของสังคมล้านนาที่มีความเชื่อเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิด เชื่อในเรื่องภูติผีปีศาจ และความศรัทธาทางพระพุทธศาสนา การแสวงหาสิ่งยึดเหนียวจิตใจตนเอง ตุงไทลื้อนับว่าเป็นงานหัตถกรรมชิ้นเอกที่ชาวไทลื้อสร้างและยอมรับเพื่อใช้ประกอบอานิสงค์ในการถวายทานทางพระพุทธศาสนา ตุงไทลื้อสามารถอธิบายความเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมของกลุ่มชนไทลื้อได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม ความเชื่อในการสร้างวัสดุ และเทคนิคที่มีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ
 

อ่านต่อ...
image

Author

วันดี สมรัตน์

Imprint

เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2544

Collection

DS570.ล6ว63 2544

Annotation

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมด้านความเชื่อ ค่านิยม วิถีชีวิต ความสัมพันธ์
และกลไกที่คนไทลื้อใช้ในการผลิตซ้ำ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ พระสงฆ์ หัวหน้าครอบครัว ผู้นำหมู่บ้าน ผู้อาวุโส ครู กลุ่มองค์กรในชุมชน สังเกตกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ ค่านิยม
วิถีชีวิตและความสัมพันธ์ที่มีอยู่ในชุมชน สรุปผลการศึกาวิจัยได้ดังนี้ ชาวไทลื้อมีความเชื่อ ค่านิยม วิถีชีวิต ความสัมพันธ์แบบดั้งเดิม มีการนับถือผีต่าง ๆ ได้แก่ ผีปู่ย่า ผีบ้าน เทวดาบ้าน เจ้าป่า นอกจากนี้ชาวไทลื้อยังมีความเชื่อในศาสนาพุทธ โดยเฉพาะความเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรม ชุมชนชาวไทลื้อมีการผลิตซ้ำด้านค่านิยม 4 ด้าน ได้แก่ ค่านิยมการแต่งกายแบบไทลื้อในเวลามีงานประเพณีต่าง ๆ ค่านิยมการใช้ภาษาไทลื้อในชีวิตประจำวัน ค่านิยมการบริโภคอาหารแบบดั้งเดิม และค่านิยมการจับกลุ่มพูดคุยกันยามว่าง ด้านความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและชุมชนมักยึดเอาผู้อาวุโสและหัวหน้าครอบครัวเป็นหลักในการปฏิบัติ คนในชุมชนนับถือกันเหมือนพี่น้อง นอกจากนี้ชุมชนยังมีความสัมพันธ์กับธรรมชาติในลักษณะพึ่งพา และความสัมพันธ์ในสิ่งเหนือธรรมชาติที่ต้องปฏิบัติตาม
ใครฝ่าฝืนจะทำให้เกิดอาเพทเรื่องร้ายในชีวิต

 

อ่านต่อ...

ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ