banner image

หนังสือแนะนำ

หน้าแรก / หนังสือแนะนำ / Cultural Heritage Infrastructures in Digital Humanities

detail image

Cultural Heritage Infrastructures in Digital Humanities

รายละเอียด


ปีที่พิมพ์ :

2018


บรรณาธิการ :

Agiatis Benardou, Erik Champion, Costis Dallas and Lorna M. Hughes.


เลขเรียกหนังสือ :

AZ105 .C85 2018


Collection :

Books


ลิงก์หนังสือ :

รายละเอียด :

            ช่วงศตวรรษที่ 21 ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมีความก้าวหน้ามาก มีการนำมาใช้วิเคราะห์ ตีความ อธิบายปรากฎการณ์การศึกษาวิจัยทางมนุษยศาสตร์ในหลายมิติ เรียกว่าการประมวลผลคอมพิวเตอร์สำหรับมนุษยศาสตร์ (Humanities Computing) ต่อมาเรียกกันว่ามนุษยศาสตร์ดิจิทัล (Digital Humanities-DH) เป็นสาขาวิชาที่เกิดจากการบูรณาการศาสตร์ในสาขาวิชามนุษยศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ มนุษยศาสตร์ดิจิทัลมีขอบเขตครอบคลุมใน 4 ด้านคือ 1. Foundations ความรู้พื้นฐานด้านมนุษยศาสตร์ดิจิทัล 2. Infrastructures โครงสร้างพื้นฐานที่เอื้ออำนวยต่อการศึกษาวิจัยมนุษยศาสตร์ดิจิทัล เช่น ระบบการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ ระบบและกลไกการจัดการอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีการจัดเก็บเอกสารดิจิทัล ระบบเครือข่ายความรู้ การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (cloud computing)    3. Contents เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้จัดการเนื้อหาความรู้ จดหมายเหตุดิจิทัล การอนุรักษ์สงวนรักษาเอกสาร 4. Services การบริการเพื่อเข้าถึงและใช้ประโยชน์ 

            หนังสือ Cultural Heritage Infrastructures in Digital Humanities เล่มนี้สืบเนื่องมาจากการประชุมปฏิบัติการเรื่อง Cultural Heritage Creative Tools and Archives (CHCTA) จัดขึ้นเมื่อปี  2013 ที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ได้ Agiatis Benardou, Erik Champion, Costis Dallas และ Lorna M. Hughes มาทำหน้าที่บรรณาธิการซึ่งก็มีส่วนในการเขียนบทความด้วย สาระสำคัญของหนังสือเล่มนี้เริ่มจากคำถามที่ว่า สิ่งที่เป็นเครื่องมือชั้นนำและการเก็บรักษาในรูปแบบมรดกทางวัฒนธรรมดิจิทัลคืออะไร จะบูรณาการสิ่งเหล่านี้กับโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยได้อย่างไรเพื่อตอบสนองผู้ใช้งาน ในมุมมองของวิศวกรโครงสร้างพื้นฐานคือความยั่งยืน สารสนเทศมนุษยศาสตร์จำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงเครือข่ายการทำงาน เครื่องมือใหม่ๆ การสนับสนุนการพัฒนาทักษะและที่จัดเก็บข้อมูล หวังว่าสถาบันด้านมรดกวัฒนธรรมจะไม่ใช้กระบวนการเชิงพาณิชย์มาเป็นเงื่อนไขในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล และจะขยายการเข้าถึงเนื้อหาในรูปแบบของแหล่งข้อมูลแบบเปิด ประเด็นสำคัญอีกเรื่องคือสิทธิด้านทรัพย์สินทางปัญญาของวัตถุดิจิทัล เป็นเรื่องจำเป็นที่ทั้งสองภาคส่วนจะทำงานร่วมกัน 

            สิ่งที่นักวิจัยมนุษยศาสตร์ดิจิทัลต้องการจากภาคมรดกวัฒนธรรมคือการส่งต่อข้อมูล ที่มีการจัดการมาเป็นอย่างดี และทำให้อยู่ในรูปแบบของคลังดิจิทัลที่เปิดให้เข้าถึงได้ ที่สำคัญคือการเพิ่มเติมเนื้อหาที่คงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง มีความหลากหลายของประเภทข้อมูลและวิธีการในการนำเสนอ คำถามจึงไม่ได้มีแต่เพียงว่าอะไรที่นักวิจัยมนุษยศาสตร์ดิจิทัลต้องการจากภาคมรดกวัฒนธรรม แต่ยังมีเรื่องที่จะต้องวางแผนร่วมมือกันทำงานสร้างข้อค้นพบทางวิชาการ รวมทั้งร่วมสร้างความรู้เรื่องกระบวนการดิจิทัล การจัดเก็บเอกสาร กระบวนการดึงข้อมูลมาใช้เพื่อสร้างคุณค่าให้กับชีวิต  ร่วมมือในการคัดสรรวัตถุมาเข้าสู่กระบวนการดิจิทัลและการบริหารจัดการข้อมูล วางแผนกับเครือข่ายการวิจัยในการออกแบบการบูรณาการการทำวิจัยร่วมกัน 

            กรณีตัวอย่างเช่น บทบาทของโมเดล 3D ในโครงสร้างพื้นฐานทางมรดกวัฒนธรรมเสมือน ฐานข้อมูลออนไลน์ทางโบราณคดี Crowds for clouds: แนวโน้มล่าสุดในโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยด้านมนุษยศาสตร์ ชาติพันธุ์วรรณาของโครงสร้างพื้นฐาน การสร้างคอลเลคชั่นการวิจัยส่วนบุคคลในงานประวัติศาสตร์ศิลปะ Mubil: ดื่มด่ำไปกับสภาวะเสมือนสำหรับการเรียนรู้เรื่องประวัติศาสตร์  เครื่องมือในการจัดทำมรดกดิจิทัลในไอร์แลนด์ และ From Europeana Cloud to Europeana Research 

หนังสือแนะนำเพิ่มเติม
Claire Warwick, Melissa Terras and Julianne Nyhan (edited). 2012. Digital Humanities in 
    Practice. London: Facet Publishing.
David M. Berry (edited). 2012. Understanding Digital Humanities. Palgrave Macmilan
Gardiner,E., and Musto, R. 2015. The Digital Humanities: A Primer for Students and 
    Scholars. Cambridge: Cambridge University Press.
Peter Lunenfeld; Anne Burdick; Johanna Drucker; Todd Presner; Jeffrey Schnapp. 2012.
    Digital_Humanities. The MIT Press.
Terras, M., Nyhan, J., Vanhoutte, E. (edited). 2013. Defining Digital Humanities. London: 
    Routledge.

user image

ผู้แนะนำ : นางสาวสรินยา คำเมือง


ตำแหน่ง :

นักวิจัยอิสระ

การศึกษา :

ปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(ภาษาศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหิดล

ประสบการณ์ :

ประเด็นความสนใจ : ชาติพันธุ์ นโยบายทางชาติพันธุ์ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น มรดกวัฒนธรรม Communities-based การสร้างความรู้และการจัดการความรู้โดยชุมชน/เจ้าของวัฒนธรรม คลังข้อมูลชุมชน Content Policy for Cultural Database, Digital Humaniti


ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ