banner image

หนังสือแนะนำ

หน้าแรก / หนังสือแนะนำ / Anthropology and the economy of sharing

detail image

Anthropology and the economy of sharing

รายละเอียด


ปีที่พิมพ์ :

2017


ผู้แต่ง :

Widlok, Thomas


เลขเรียกหนังสือ :

N450.75 .W53 2017


Collection :

Books


ลิงก์หนังสือ :

รายละเอียด :

            หนังสือเรื่อง “Anthropology and Economy of Sharing” เขียนโดยศาสตราจารย์โทมัส วิดล็อค เชี่ยวชาญด้านมานุษยวิทยาอาฟริกาและวิจัยด้าน “วัฒนธรรมและสังคมในช่วงเปลี่ยนผ่าน” มหาวิทยาลัยโคโลน ประเทศเยอรมัน จัดพิมพ์ปี 2560 โดยสำนักพิมพ์รูทเลดจ์ หนังสือเล่มนี้เหมาะกับผู้ที่ศึกษามานุษยวิทยาด้านเศรษฐกิจ โดยเน้นเรื่อง “การแบ่งปัน” โดยแสดงข้อโต้แย้งกับงานที่คลาสสิคของมาเซล มอส เรื่อง “ของขวัญ” ที่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนของขวัญในปี 2466 และงานของมาเชล ซาห์ลิน ที่มีการแยกแยะการแลกเปลี่ยนในลักษณะของการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ในปี 2531 เนื่องจากงานของนักมานุษยวิทยาทั้งสองเน้นบริบทของชุมชนที่มีเศรษฐกิจแบบยังชีพ และชาวชุมชนเป็นคนแร่ร่อนประเภทล่าสัตว์และหาอาหารป่า ในขณะที่วิดล็อคเห็นว่าแนวคิดดังกล่าวค่อนข้างโรแมนติคไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกซึ่งในปัจจุบันมีลักษณะของโลกาภิวัตน์ 

            วิดล็อคแบ่งเนื้อหาในเล่มออกเป็น 7 บท บทที่ 1 กล่าวถึงงาน “ของขวัญ” มาถึง “การช่วยเหลือเกื้อกูล” แต่เขียนในเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับ “ความจริงของการแบ่งปัน” บทที่ 2 ผู้เขียนนำสมมุติฐานวิวัฒนาการมาอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างวิวัฒนาการของมนุษย์กับระดับการแบ่งปัน บทที่ 3 ชาติพันธุ์วรรณนาของความต้องการการแบ่งปัน โดยกล่าวถึงการแบ่งปันกับเครือญาติ และการสร้างหรือไม่สร้างความต้องการทางเศรษฐกิจ บทที่ 4 กล่าวถึงสิ่งของที่แบ่งปัน ไม่ว่าจะเป็นอาหารและไม่ใช่อาหาร สิ่งที่เน่าเปื่อยกับสิ่งที่ไม่เน่าเปื่อย (เช่น เครื่องประดับ) และกล่าวถึงปฏิบัติการของการแบ่งปันอาหารและพื้นที่ นอกจากนี้ได้ยกตัวอย่างประเภทของสิ่งของที่ยินยอมให้พวกเขาสู่การแบ่งปันและในการสถาปนาการแบ่งปันที่เป็นพื้นฐานที่เรียกว่า “สินค้ากึ่งสำเร็จ” บทที่ 5 มันคือโลกของสัดส่วนการถือหุ้น บทที่ 6 บทนำของเศรษฐกิจแบ่งปัน บทที่ 7 เวลาของการแบ่งปัน   

            ความน่าสนใจคือการนำเสนอการผสานระหว่างแนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์กับมานุษยวิทยา โดยการพัฒนาทฤษฎีของการแบ่งปันจาก “ล่างขึ้นบน” ด้วยการปฏิบัติการทางสังคมที่เห็นได้ชัดจากรูปแบบเฉพาะของการเกิดขึ้นร่วมกัน การเชื่อมโยงและการสื่อสาร ซึ่งมีประเภทของความต้องการ (หรือดีมานด์) การแบ่งปันที่หลากหลาย การแบ่งปันที่เป็นปฏิบัติการทางสังคมของการเข้าถึงสิ่งที่มีคุณค่าต่อดีมานด์การแบ่งปัน การให้ความสำคัญของคุณค่าของของขวัญและการแบ่งปันของดีมานด์ของผู้อ่าน นอกจากนี้ปฏิบัติการแบ่งปันมีความกว้างขวางทั้งในระดับโลกและในบริบทสังคมและการเมืองที่หลากหลาย การนำไปใช้กับเรื่องของอำนาจทางการเมือง การสร้างกลุ่ม และเครีอข่ายทางสังคมของแต่ละบุคคล วิดล็อคมีเป้าหมายที่จะพัฒนาทฤษฎีการแบ่งปันจากพื้นฐานในกระบวนการทางสังคมจากเรื่องตัวตนที่มีมีข้อจำกัด ไปสู่ความต้องการของผู้อื่นและผ่านขอบเขตจำกัดของชีวิตมนุษย์ ซึ่งรูปแบบนี้มีความแตกต่างกับงานของของมอสและคนอื่น ๆ เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนของขวัญ เพราะเพิ่มเติมเรื่องของข้อห้ามที่จะให้ ข้อห้ามที่จะรับและการกลับมาสู่ชาติพันธุ์วรรณนาของการแบ่งปันเน้นรูปแบบของโอกาสที่จะสอบถาม การตอบสนองและการปฏิเสธ
นอกจากนี้นำแนวคิดเรื่องการกระจายทรัพยากรซึ่งเป็นกระบวนการทางด้านเศรษฐกิจมาแทนที่แนวคิด “ของขวัญ-การให้” ที่เน้นเพียงผู้ให้และผู้รับเท่านั้น เนื่องจากนอกเหนือไปจากยุทธศาสตร์การเข้าถึงสินค้าในระดับปัจเจกบุคคล แต่เป็นสิ่งของของการแบ่งปันกับสิ่งเฉพาะที่สามารถหาได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขนาดของสิ่งของ ในขณะที่วัตถุที่เปลี่ยนแปลงการแบ่งปัน ได้มีแง่มุมชั่วคราวของชีวิตทางสังคมและโอกาสของนวัตกรรม ดังนั้นหนทางที่รูปแบบของตัวแทนและสิ่งของจากชุมชนของปฏิบัติการไม่เพียงอธิบายถึงความหลากหลายของปฏิบัติการแบ่งปันแต่รวมไปถึงการเรียนรู้และส่งผ่านข้ามสถานการณ์และผู้คนรุ่นต่าง ๆ ไม่ว่าจะได้รับการสนับสนุนอย่างชัดเจนของรหัสที่ถูกกำหนดจากภายนอกหรือไม่ก็ตาม

            วิดล็อคได้ตั้งคำถามถึงการเชื่อมโยงระหว่างชาติพันธุ์วรรณนาเกี่ยวกับผู้เร่ร่อนประเภทผู้ล่า-หาอาหารป่ามาสู่กรณีศึกษาเชิงประจักษ์ของรัฐปัจจุบันที่มีความซับซ้อนกับสังคมโลกาภิวัตน์ที่ตัวแทนต่างๆ  มาร่วมมือกัน ผู้ถือหุ้น และผู้ใช้อินเตอร์เน็ต โดยปัจจุบันมีการบูรณาการของการเมืองและกระบวนการทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง ซึ่งมีร่องรอยของการเปลี่ยนแปลงปฏิบัติการแบ่งปันในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบร่วมสมัยที่จัดให้ชุดของการทดลองทางสังคมอย่างเป็นธรรมชาติ ตัวอย่างของนวัตกรรมที่แนะนำสู่ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมภายใต้ป้ายของ เศรษฐกิจแบ่งปัน ตั้งแต่การแบ่งปันรถ การนำเพลงเข้าสู่ระบบออนไลน์ และรูปแบบอินเตอร์เน็ตอื่นในพื้นที่สาธารณะ การกล่าวถึงการแก้ปัญหาด้านจริยธรรมต่อปัญหาของความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจของมนุษย์เพื่อความสัมพันธ์ของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในปัจจุบันและอนาคต

แนะนำหนังสืออ่านเพิ่มเติม
Plattner, Stuart. 1989. Economic Anthropology. California: Standford. 
Mauss, Marcel. Halls, W.D. (Translator). 2000.  The Gift: the Form and Reason for Exchange in Archic Societies. New York: .W.W. Norton & Company.

user image

ผู้แนะนำ : ดร. กนกรัตน์ ยศไกร


ตำแหน่ง :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

การศึกษา :

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สหวิทยาการ) วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประสบการณ์ :

ความสนใจทางวิชาการ 1. การสื่อสาร 2. ชาติพันธุ์วรรณนา และมานุษยวิทยา 3. การถ่ายภาพ 4. เศรษฐกิจพอเพียง 5. อาเซียนศึกษา 6. อาหาร/ ช้าวปลอดภัย 7. สุขภาวะผู้สูงวัย


ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทร. 0-2880-9429 ต่อ 3702 

แฟ็กซ์ 0-2434-6254 อีเมล์ library@sac.or.th
 

Facebook : ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร-Sac library
Line@ : @sac-library หรือคลิกเพื่อ Add Line http://line.me/ti/p/~@SAC-Library


  

ห้องสมุด (ชั้น 8)

จันทร์ - ศุกร์ : 8:30 – 16:30 น.

เสาร์ : 9:00 – 16:00 น.

ห้องสมุดสุข กาย ใจ

จันทร์ - ศุกร์ : 8:00 – 18:00 น.

เสาร์ : 8:00 – 17:00 น.

หยุดวันนักขัตฤกษ์และวันหยุดตามประกาศราชการ