สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  เกี่ยวกับเรา
ข้อมูลโครงการ  |  ข้อมูลการใช้ข้อมูล

คู่มือการใช้ข้อมูล

 

1. เนื้อหาสาระงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่จัดเก็บในฐานข้อมูล

หลังจากที่คณะทำงานฯ ได้ศึกษาฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องและมีลักษณะใกล้เคียงกับที่ต้องการอย่างเช่น ฐานข้อมูล The Human Relations Area Files (HRAF)ของ Yale University  ซึ่งได้รวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์วรรณามานานกว่า 50 ปีก่อนจะจัดทำฐานข้อมูลออนไลน์แบบในปัจจุบัน เห็นว่าฐานข้อมูลแต่ละฐานต่างก็มีวัตถุประสงค์การวิเคราะห์การเรียกข้อมูลในของตนเอง และมีขอบเขตตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้

 

ฐานข้อมูลนี้มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สนใจงานวิจัยด้านชาติพันธุ์สามารถใช้ฐานข้อมูลได้เพื่อหาความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาสาระของงานวิจัยทางชาติพันธุ์แต่ละงานในเบื้องต้นเป็นพื้นฐานก่อน หากต้องการอ่านตัวงานใดที่สนใจเป็นพิเศษสามารถค้นคว้าหาอ่านได้เอง   ซึ่งเป็นการช่วยให้นักวิจัยสามารถสืบค้นต่อไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

 

ทางโครงการฯ จึงจัดให้มีผู้สรุปประเด็น (Text Analyst) ของงานแต่ละงานตามหัวข้อ (Subject Categories) ต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ

 

Items

Subject categories

Description

1.

Text Analyst

ระบุชื่อ-สกุล ผู้อ่านสรุปงาน 

2.

Subject

คำสำคัญ ที่บ่งบอกสาระสำคัญครอบคลุมประเด็นหลักของงานวิจัหนังสือหรือบทความ นั้นๆ ตามลำดับความสำคัญดังนี้ ชื่อกลุ่มชาติพันธุ์  ประเด็นหลัก ประเด็นรอง จังหวัด/ภาค

3.

Author

ระบุชื่อผู้แต่ง หรือชื่อบรรณาธิการ ตามที่ปรากฏในหนังสือหรือบทความเอกสารภาษาไทย ระบุชื่อ-สกุลผู้แต่ง (ราชทินนาม ยศ ตำแหน่ง) ระบุไว้ท้ายชื่อสกุล

เอกสารภาษาอังกฤษระบุชื่อสกุล, ชื่อกลาง, ชื่อตัว

4.

Titles

ชื่อเรื่อง (งานที่เขียนด้วยภาษาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษาไทย ให้ใส่ชื่อเรื่องตามภาษาที่ใช้เขียนงาน และใส่ชื่อเรื่องที่แปลเป็นไทยต่อท้าย ยกเว้นงานที่เขียนด้วยภาษาอังกฤษ ไม่ต้องแปล)

5.

Document Type

ระบุประเภทเอกสาร (หนังสือ, บทความ, รายงานวิจัย, วิทยานิพนธ์)

6.

Total pages

ระบุจำนวนหน้า หรือ ช่วงหน้าของงาน

7.

Source

ที่มาของบทความ/งานวิจัย ระบุชื่อหนังสือ/วารสาร ตามหลักของการเขียนบรรณานุกรม

(ชื่อหนังสือ “ชื่อบทความ”, สำนักพิมพ์, สถานที่พิมพ์, หน้า)

8.

Year

ปีที่ตีพิมพ์

9.

Location of Document

แหล่งที่พบและ/หรือจัดเก็บ เอกสาร/งานวิจัย/บทความ ชิ้นนั้นๆ

(เอกสาร/บทความสำเนาให้ระบุว่ามาจากศูนย์ฯ)

10.

Focus

สรุปจุดเน้นของการศึกษาวิจัย

11.

Theoretical Issue

ข้อเสนอหรือแนวคิดที่ผู้เขียนใช้ในการศึกษา

การเชื่อมโยงปรากฏการณ์ต่างๆ ในการศึกษา

12.

Ethnic Group(s) in the Study

ให้ระบุกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นเป้าหมายในงานศึกษาเป็นหลัก

13.

Language and

Linguistic Affiliation

อธิบายและให้ข้อมูลระบบภาษาและการจัดจำแนกตระกูลภาษา ที่ปรากฏในงาน

14.

Community Site and Environment

สถานที่ทำการศึกษาวิจัย ระบุชื่อชุมชน/ตำบล/ อำเภอ/จังหวัด/ประเทศ/ทวีป

(ให้ระบุพิกัดละติจูดลองติจูด หากมีปรากฏในงานศึกษา)

ให้ข้อมูลลักษณะภูมิประเทศโดยสังเขป

15.

Study Period

ช่วงเวลาของการศึกษาวิจัย 

(ระบุด้วยว่าเป็นการเก็บข้อมูลภาคสนาม ในช่วงใด)

16.

History of the Group and community

ประวัติความเป็นมาของชุมชนที่ปรากฏในงานศึกษา

1.       หากเป็นงานศึกษาทางประวัติศาสตร์ ให้ข้อมูลเวลาที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ชุมชน

2.       หากเป็นงานศึกษาชุมชน ให้ระบุเวลาในการศึกษาชุมชน

3.       หากในงานศึกษาปรากฏข้อมูลทั้ง 2 ประเภท ให้ระบุข้อมูลทั้ง 2 ประเภท

17.

Settlement Pattern

ให้ข้อมูลรูปแบบการตั้งถิ่นฐาน ลักษณะการตั้งบ้านเรือนของชนกลุ่มนั้น ตามที่ปรากฏในงานศึกษา

18.

Demography (population number and structure, migration, birth and death) :

ให้ข้อมูลประชากร(ความหนาแน่น/อัตราการเกิด การตาย/จำนวนประชากร) ตามที่ปรากฏในงานศึกษา หากมีข้อมูลหลายระดับให้ใส่รายละเอียดมาด้วย

19.

Economy (natural resources, resource utilization, technology, production, exchange, and consumption)

ให้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบการผลิต การแลกเปลี่ยน การบริโภค ตามที่ปรากฏในงานศึกษา

20.

Social Organization (marriage, family structure types, kinship including descent groups, other kinds of grouping such as client-patron relationship, classes, interested groups and socialization)

ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างทางสังคมที่ปรากฏในงานศึกษา

 

21.

Political Organization (power structure and relations, leadership, factions, conflicts, relationship to state, social control, laws)

ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างทางการเมืองการปกครองที่ปรากฏในงานศึกษา

 

22.

Belief Systems (beliefs, values, ideology, religious rites and practices)

ให้รายละเอียดด้านศาสนา พิธีกรรม ความเชื่อ

23.

Education and Socialization

ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการศึกษา การสืบทอดความรู้ และการเชื่อมโยงกับกระบวนขัดเกลาทางสังคม

24.

Health and Medicine (sanity, beliefs related to health and healing)

อธิบายระบบการสาธารณสุขและการรักษาพยาบาล(ภูมิปัญญาในการรักษา) ที่กล่าวถึงในงานศึกษานั้นๆ

25.

Folklore (myths, legends, stories and play)

ให้ข้อมูลเกี่ยวกับมุขปาฐะ นิทาน ตำนาน ที่ปรากฏในงานศึกษา

26.

Arts and Crafts (architecture, clothing, literature, handicrafts, songs, dances, etc.) 

ให้ข้อมูลด้านสถาปัตยกรรม  ศิลปะการแสดง หัตถกรรม เสื้อผ้า การแต่งกาย

ที่ปรากฏในงานนั้นๆ

27.

Ethnicity (ethnic identity, identification, ethnic maintenance, boundaries and relation)

ให้รายละเอียดความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์กับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ

หรือการธำรงชาติพันธุ์

ให้ใส่รายละเอียดการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีนัยยะของความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกัน

28.

Socio-Cultural Change

อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม

29.

Other Issue

ประเด็นสำคัญอื่นๆ ที่เน้นในงานศึกษาวิจัย

30.

Abstract

สรุปสาระสำคัญของงานศึกษา

31.

Map & Illustrate

ให้ระบุชื่อภาพ แผนที่ ที่ปรากฏในงาน

32.

Date of Report

ระบุวันที่ส่งงานมาให้ตรวจสอบความถูกต้องความครบถ้วนของเนื้อหา

 

2. กลุ่มชาติพันธุ์และขอบเขตพื้นที่ที่จะสรุปงานวิจัยลงฐานข้อมูล

โครงการฯ ได้กำหนดขอบเขตความหมายของกลุ่มชาติพันธุ์ในลักษณะที่กว้างเพื่อที่จะสามารถครอบคลุมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้ในหลายลักษณะเนื่องจากการกำหนดความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กันอย่างเช่น ในช่วงเวลาของทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ งานวิจัยทางชาติพันธุ์ในยุคสมัยต่างจึงสะท้อนความหมายที่มีอยู่แตกต่างกันและแม้ในปัจจุบันก็ยังมีการใช้ในความหมายที่แตกต่าง    

จากการที่โครงการฯ ใช้ในความหมายที่กว้างดังกล่าว จึงทำให้ฐานข้อมูลมีขอบเขตที่กว้างขวางครอบคลุมทุกกลุ่มที่ระบุตัวเองว่ามีความแตกต่างทางวัฒนธรรมจากกลุ่มอื่น หรือถูกระบุว่ามีความแตกต่างทางวัฒนธรรม ในขั้นแรกนี้ทางโครงการฯ จึงพยายามวางกรอบและขอบเขตให้แคบเข้า จึงเลือกเก็บเนื้อหา “กลุ่มชาติพันธุ์” ต่างๆ ที่ถูกมองว่าเป็น “ชนกลุ่มน้อย” ของประเทศไทย จึงอาจจะไม่มีงานวิจัยที่เกี่ยวกับคนไทยภาคกลาง  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ และยังไม่ได้รวมงานวิจัยเกี่ยวกับ “ชาวจีนโพ้นทะเล” ในประเทศไทย ซึ่งได้มีสถาบันวิชาการอย่างเช่น สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีความสนใจและได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับชาวจีนอยู่แล้ว

 

3.ลักษณะข้อมูล

ในฐานข้อมูลจะมี 2 ประเภทคือ

1. สรุปงานวิจัยด้านชาติพันธุ์ ตาม Subject 32 categories

2. การสืบค้นงานวิจัยผ่านแผนที่

 

4.      ปัญหาชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์และการจำแนกชาติพันธุ์ในงานวิจัยทางชาติพันธุ์

เรื่องชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์และการจำแนกชาติพันธุ์เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน เพราะโดยหลักการทั่วไปของการจำแนกสรรพสิ่งต่างๆ (classification) ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ พืชและสิ่งของ จะมีองค์ประกอบสำคัญๆ ดังนี้คือ

 

1. ชื่อเรียกของสิ่งที่ถูกจำแนก

2. ชื่อประเภทหรือหมวดหมู่ของการจำแนก

3. เกณฑ์หรือคุณลักษณะที่ใช้ในการจำแนก

4. ความรู้สึกและท่าทีที่แฝงอยู่กับสิ่งหรือประเภทที่ถูกจำแนก (ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ 2551)

 

แต่การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษจากการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้  ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์  เรื่องนี้จึงเป็นปัญหาในการจัดระบบฐานข้อมูล ซึ่งในบทความนี้จะแยกนำเสนอปัญหา เนื่องจากสำหรับฐานข้อมูลแล้ว   การเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์อาจจะมีความสำคัญมากกว่าการจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในการศึกษาวิจัย เพราะชื่อเรียกชาติพันธุ์จะส่งผลโดยตรงกับการเรียกใช้ข้อมูล

 

5.      ปัญหาการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ในงานวิจัยฯ

การที่ชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ในงานวิจัยฯ มีความหลากหลาย ไม่ลงตัวชัดเจนว่า “ใครเป็นใคร” ได้ส่งผลสำคัญต่อการจัดระบบการเรียกใช้ข้อมูล  ซึ่งฐานข้อมูลนี้ให้ความสำคัญกับการเรียกใช้ข้อมูลตามกลุ่มชาติพันธุ์เป็นอันดับแรก หากชื่อเรียกชาติพันธุ์สับสน  ไม่ชัดเจน  อาจส่งผลต่อการจัดระบบงานวิจัยฯ และการเรียกใช้ข้อมูลตามกลุ่มชาติพันธุ์ เพราะปัญหาการเรียกชื่อชาติพันธุ์ เกิดขึ้นกับทุกกลุ่มชาติพันธุ์ในงานวิจัยฯ ซึ่งในที่นี้จะยกตัวอย่างมาเป็นบางกรณี เช่น

          กรณีชื่อเรียก “ลัวะ”

          โครงการฯ พบว่าในงานวิจัย  “ลัวะ” ถูกใช้เรียกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่เรียกตัวเองต่างๆ กันดังนี้

ลัวะ (มัล และไปร/ปรัย

ที่อยู่ในหมู่บ้านต่างๆ ของ จ.น่าน

ละเวือะ

ที่อยู่ในหลายหมู่บ้าน อ.แม่สะเรียง เช่น บ่อหลวง บ้านจอมแจ้ง

ละว้า

ที่อยู่บ้านละอูบ

ลเวื้อ   

บ้านบ่อหลวง

ละเวีย

บ้านเฮาะ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่

ปลัง

บ้านห้วยน้ำขุ่น เชิงดอยตุง จ.เชียงราย

                            

 

         

และชื่อเรียกเหล่านี้เพิ่มความซับซ้อนและสับสนขึ้นเมื่อพิจารณาชื่อที่เรียกโดยกลุ่มชาติพันธุ์อื่นหรือที่ทางราชการเรียก

                ผู้เรียก                        

ชื่อที่ถูกคนอื่นเรียก       

ชื่อเรียกตัวเอง

ทางราชการ

ถิ่น

  ลัวะ

ไทลื้อในจีน

ข่าวะ

 ลเวือะ

    ไทยล้านนา  

ลัวะ

ลเวือะ

ไทยภาคกลาง

ละว้า

ลเวือะ

พม่า

ปะหล่อง

  ละว้า

   ไต/ไทยใหญ่  

ไตหลอย

ละว้า (นับถือพุทธศาสนา)

ทางราชการ

ลัวะ

ปลัง

ทางราชการ

ลัวะ

อุก๋อง

คนกาญจนบุรี

ละว้า   

อุก๋อง

         

 

สาเหตุสำคัญของตัวอย่างปัญหาดังกล่าวคือ

อิทธิพลของแนวคิดและการนิยามความหมาย “กลุ่มชาติพันธุ์” ที่มีต่อการเรียกชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ ทำให้งานวิจัยจำนวนมากขาดความสนใจในชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง  แต่งานวิจัยเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ตามที่คนนอกกลุ่มเรียกหรือ เรียกตามที่หน่วยงานราชการ ซึ่งมีหลายชื่อ  เช่น กลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า “ปกาเกอะญอ” ถูกเรียกว่า  “ญางเผือก” โดยไทยใหญ่ “ยางกะเลอ” โดยคนล้านนา (คนไทยทางเหนือ) “ปากี” โดยคะยาห์  “กะหร่าง” โดยคนไทยภาคกลางแถบราชบุรี เพชรบุรี และกาญจนบุรี “Sgaw Karen” โดยนักวิชาการตะวันตก และถูกเรียกว่ากะหยิ่น โดยพม่า เป็นต้น

 

นอกจากสาเหตุที่เกิดจากอิทธิพลของแนวคิดแล้ว การที่มีหลายชื่อหรือมีความสับสนในเรื่องชื่อยังอาจเกี่ยวข้องกับการที่สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์บางคนหรือกลุ่มย่อยบางกลุ่ม (ในกลุ่มชาติพันธุ์) สามารถแสดงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ได้มากกว่าหนึ่งขึ้นไปในบริบทและสถานการณ์ที่ต่างกัน (Chavivun Prachuabmoh 1980)

 

นอกจากนี้  กลุ่มชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มล้วนมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน  มีการอพยพย้ายถิ่นฐาน และมีประสบการณ์ในการปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ  ตลอดเส้นทางอพยพ   ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์มีชื่อเรียกหลายชื่อ ในหลายกรณีได้รับเอาชื่อเรียกจากกลุ่มอื่นมาเป็นของตนเองด้วย อย่างเช่น “ผู้ไท” กลายเป็น “ลาวโซ่ง” ซึ่งมีผลเกี่ยวพันกับจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ด้วย เพราะมีพลวัตทางชาติพันธุ์ ทำให้ไม่อาจเหมารวมได้ว่าในปัจจุบัน “ลาวโซ่ง” จะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกับ “ผู้ไท” หรือที่ถูกเรียกว่า “ไทดำ” ในเวียดนามเหนือ (ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ 2549) อีกตัวอย่างหนึ่ง เช่น จากข้อมูลการสำรวจชุมชนชาวอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ถูกเรียกว่า “ลัวะ” จะเรียกตนเองว่า “ไตยวน” แต่ยังมีความสำนึกในเรื่องความแตกต่างเพราะว่าเป็น “ลัวะ” มาแต่เดิมและมีหลายคนที่ไม่ชอบถูกเรียกว่า “ลัวะ” นับว่ามีความซับซ้อนในเรื่องชื่อเรียกชาติพันธุ์แม้ว่าอยู่ในชุมชนเดียวกัน

 

6.      ปัญหาการจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์

ความหมายของการจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ในสาขาวิชามานุษยวิทยา(ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่ได้มีความพยายามและประสบการณ์การจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์มากที่สุด) มีความหมายที่แตกต่างกันใน 3 ลักษณะด้วยกันคือ

 

1. จำแนกประเภทกลุ่มชน โดยมีมโนทัศน์ต่างๆ เช่น กลุ่มชนเร่ร่อน ชนเผ่า/เผ่าพันธุ์ สังคมชาวนาชาวไร่ (peasant society) และกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งขอบเขตความหมายสัมพันธ์กับแนวคิดต่างๆ ในการอธิบายมนุษย์และวัฒนธรรม

 

2. จำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น ม้ง เมี่ยน ลัวะ ลเวือะ ซึ่งสัมพันธ์กับเกณฑ์ในการจำแนกในทางวิชาการและวัตถุประสงค์ของการจำแนก

 

3. การจัดหมวดหมู่กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความเกี่ยวข้องกัน หรือ มีความสัมพันธ์ในทางภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และการเมือง

 

ปัญหาสำคัญ คือ นักวิจัยมักเรียกกลุ่มที่ตนศึกษาด้วยชื่อที่คนอื่นเรียก และยังไม่สนใจการจำแนกชาติพันธุ์ของกลุ่มที่ศึกษา ทำให้ยังขาดข้อมูลสำคัญที่จะนำมาประกอบการพิจารณา ดังนั้นการจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ และการจัดหมวดหมู่กลุ่มจึงยังคงมีปัญหาในทางวิชาการ  และมีกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มไม่พึงพอใจและไม่เห็นด้วยกับชื่อที่ถูกเรียกและกับการจัดหมวดหมู่กลุ่มชาติพันธุ์ของนักวิชาการ

 

ตัวอย่างเช่นนักวิชาการจัดให้ “ตองซู” เป็นกลุ่มย่อยของกะเหรี่ยง แต่ในงานวิจัยที่เกี่ยวกับ “ตองซู” บางงานได้ระบุว่า “ไม่ได้เป็นกะเหรี่ยง” หรือจากการเสวนาทางวิชาการว่าด้วยชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ “กะเหรี่ยง” (2551) ผู้ร่วมเสวนาซึ่งระบุว่าตนเองว่าเป็น “โพล่ง” และ “ปกาเกอะญอ” และบางคนเห็นว่าเป็นได้ทั้งสองกลุ่ม   ได้ถกเถียงกันว่าจะสามารถเรียกรวมเป็น “กะเหรี่ยง” ได้หรือไม่และยังไม่แน่ใจว่ากลุ่มอื่นๆ ที่นักวิชาการคิดว่าเป็น “กะเหรี่ยง” จะถูกต้องหรือไม่   เพราะบางกลุ่มก็ไม่รู้จักกันดีพอ และบางกลุ่มก็ไม่สามารถสื่อสารระหว่างกันได้  

 

อย่างไรก็ตาม ในทางมานุษยวิทยาก็ยังไม่มีการศึกษาการจำแนกชาติพันธุ์ของกลุ่มชาติพันธุ์เอง การจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เป็นการจำแนกโดยอาศัยเกณฑ์ทางภาษาศาสตร์ ซึ่งยังมีความไม่ลงตัวอยู่เช่นกัน (David D. Thomas 1964, David Bradley 1994)

 

7.      ปัญหาในการจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ในฐานข้อมูล

ในระหว่างการรวบรวมงานวิจัยเพื่อจัดทำฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ คณะทำงานฯ ได้เผชิญปัญหาเกี่ยวกับความหมายของชื่อเรียก และการจำแนกชาติพันธุ์ซึ่งมีหลากหลายในงานวิจัยฯ และในหลายกรณีทำให้เกิดความสับสน  ไม่ชัดเจนและส่งผลต่อการจัดระบบฐานข้อมูลฯ คณะทำงานฯ ได้พยายามศึกษาเพื่อแก้ปัญหา ซึ่งก็ได้ทำความเข้าใจไปแล้วบางส่วนโดยโครงการได้นำเสนอผลการศึกษาเรื่องชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเองที่พบในงานวิจัยเผยแพร่ในรูปของตารางเทียบเคียงชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์  คณะทำงานจึงได้จัดทำตารางเทียบเคียงชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทยโดยอาศัยข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ในอนาคตหากมีข้อมูลที่ชัดเจนกว่านี้ อย่างไรก็ตาม ข้อค้นพบดังกล่าวเป็นข้อค้นพบจากงานวิจัยที่รวบรวมในปัจจุบัน  ในอนาคตหากพบข้อมูลอันที่เป็นประโยชน์  โครงการจะนำมาปรับปรุงต่อไป

 

 

 

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง