สมัครสมาชิก   
| |
ค้นหาข้อมูล
ค้นหาแบบละเอียด
  •   ความเป็นมาและหลักเหตุผล

    เพื่อรวบรวมงานวิจัยทางชาติพันธุ์ที่มีคุณภาพมาสกัดสาระสำคัญในเชิงมานุษยวิทยาและเผยแผ่สาระงานวิจัยแก่นักวิชาการ นักศึกษานักเรียนและผู้สนใจให้เข้าถึงงานวิจัยทางชาติพันธุ์ได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

  •   ฐานข้อมูลจำแนกกลุ่มชาติพันธุ์ตามชื่อเรียกที่คนในใช้เรียกตนเอง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

    1. ชื่อเรียกที่ “คนอื่น” ใช้มักเป็นชื่อที่มีนัยในทางเหยียดหยาม ทำให้สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ รู้สึกไม่ดี อยากจะใช้ชื่อที่เรียกตนเองมากกว่า ซึ่งคณะทำงานมองว่าน่าจะเป็น “สิทธิพื้นฐาน” ของการเป็นมนุษย์

    2. ชื่อเรียกชาติพันธุ์ของตนเองมีความชัดเจนว่าหมายถึงใคร มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไร และตั้งถิ่นฐานอยู่แห่งใดมากกว่าชื่อที่คนอื่นเรียก ซึ่งมักจะมีความหมายเลื่อนลอย ไม่แน่ชัดว่าหมายถึงใคร 

     

    ภาพ-เยาวชนปกาเกอะญอ บ้านมอวาคี จ.เชียงใหม่

  •  

    จากการรวบรวมงานวิจัยในฐานข้อมูลและหลักการจำแนกชื่อเรียกชาติพันธุ์ที่คนในใช้เรียกตนเอง พบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์มากกว่า 62 กลุ่ม


    ภาพ-สุภาษิตปกาเกอะญอ
  •   การจำแนกกลุ่มชนมีลักษณะพิเศษกว่าการจำแนกสรรพสิ่งอื่นๆ

    เพราะกลุ่มชนต่างๆ มีความรู้สึกนึกคิดและภาษาที่จะแสดงออกมาได้ว่า “คิดหรือรู้สึกว่าตัวเองเป็นใคร” ซึ่งการจำแนกตนเองนี้ อาจแตกต่างไปจากที่คนนอกจำแนกให้ ในการศึกษาเรื่องนี้นักมานุษยวิทยาจึงต้องเพิ่มมุมมองเรื่องจิตสำนึกและชื่อเรียกตัวเองของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ 

    ภาพ-สลากย้อม งานบุญของยอง จ.ลำพูน
  •   มโนทัศน์ความหมายกลุ่มชาติพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างๆ กัน

    ในช่วงทศวรรษของ 2490-2510 ในสาขาวิชามานุษยวิทยา “กลุ่มชาติพันธุ์” คือ กลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะแตกต่างจากกลุ่มชนอื่นๆ ซึ่งมักจะเป็นการกำหนดในเชิงวัตถุวิสัย โดยนักมานุษยวิทยาซึ่งสนใจในเรื่องมนุษย์และวัฒนธรรม

    แต่ความหมายของ “กลุ่มชาติพันธุ์” ในช่วงหลังทศวรรษ 
    2510 ได้เน้นไปที่จิตสำนึกในการจำแนกชาติพันธุ์บนพื้นฐานของความแตกต่างทางวัฒนธรรมโดยตัวสมาชิกชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ... (อ่านเพิ่มใน เกี่ยวกับโครงการ/คู่มือการใช้)


    ภาพ-หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต บ้านของอูรักลาโว้ย
  •   สนุก

    วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
    ปกาเกอะญอ  อ. แม่ลาน้อย
    จ. แม่ฮ่องสอน


    ภาพโดย อาทิตย์    ทองดุศรี

  •   ข้าวไร่

    ผลิตผลจากไร่หมุนเวียน
    ของชาวโผล่ว (กะเหรี่ยงโปว์)   
    ต. ไล่โว่    อ.สังขละบุรี  
    จ. กาญจนบุรี

  •   ด้าย

    แม่บ้านปกาเกอะญอ
    เตรียมด้ายทอผ้า
    หินลาดใน  จ. เชียงราย

    ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ถั่วเน่า

    อาหารและเครื่องปรุงหลัก
    ของคนไต(ไทใหญ่)
    จ.แม่ฮ่องสอน

     ภาพโดย เพ็ญรุ่ง สุริยกานต์
  •   ผู้หญิง

    โผล่ว(กะเหรี่ยงโปว์)
    บ้านไล่โว่ 
    อ.สังขละบุรี
    จ. กาญจนบุรี

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   บุญ

    ประเพณีบุญข้าวใหม่
    ชาวโผล่ว    ต. ไล่โว่
    อ.สังขละบุรี  จ.กาญจนบุรี

    ภาพโดยศรยุทธ  เอี่ยมเอื้อยุทธ

  •   ปอยส่างลอง แม่ฮ่องสอน

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ปอยส่างลอง

    บรรพชาสามเณร
    งานบุญยิ่งใหญ่ของคนไต
    จ.แม่ฮ่องสอน

    ภาพโดย เบญจพล  วรรณถนอม
  •   อลอง

    จากพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะ
    ทรงละทิ้งทรัพย์ศฤงคารเข้าสู่
    ร่มกาสาวพัสตร์เพื่อแสวงหา
    มรรคผลนิพพาน


    ภาพโดย  ดอกรัก  พยัคศรี

  •   สามเณร

    จากส่างลองสู่สามเณร
    บวชเรียนพระธรรมภาคฤดูร้อน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   พระพาราละแข่ง วัดหัวเวียง จ. แม่ฮ่องสอน

    หล่อจำลองจาก “พระมหามุนี” 
    ณ เมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า
    ชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าเป็นพระพุทธรูป
    คู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม

  •   เมตตา

    จิตรกรรมพุทธประวัติศิลปะไต
    วัดจองคำ-จองกลาง
    จ. แม่ฮ่องสอน
  •   วัดจองคำ-จองกลาง จ. แม่ฮ่องสอน


    เสมือนสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม
    เมืองไตแม่ฮ่องสอน

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ใส

    ม้งวัยเยาว์ ณ บ้านกิ่วกาญจน์
    ต. ริมโขง อ. เชียงของ
    จ. เชียงราย
  •   ยิ้ม

    แม้ชาวเลจะประสบปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย
    พื้นที่ทำประมง  แต่ด้วยความหวัง....
    ทำให้วันนี้ยังยิ้มได้

    ภาพโดยเบญจพล วรรณถนอม
  •   ผสมผสาน

    อาภรณ์ผสานผสมระหว่างผ้าทอปกาเกอญอกับเสื้อยืดจากสังคมเมือง
    บ้านแม่ลาน้อย จ. แม่ฮ่องสอน
    ภาพโดย อาทิตย์ ทองดุศรี
  •   เกาะหลีเป๊ะ จ. สตูล

    แผนที่ในเกาะหลีเป๊ะ 
    ถิ่นเดิมของชาวเลที่ ณ วันนี้
    ถูกโอบล้อมด้วยรีสอร์ทการท่องเที่ยว
  •   ตะวันรุ่งที่ไล่โว่ จ. กาญจนบุรี

    ไล่โว่ หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า ผาหินแดง เป็นชุมชนคนโผล่งที่แวดล้อมด้วยขุนเขาและผืนป่า 
    อาณาเขตของตำบลไล่โว่เป็นส่วนหนึ่งของป่าทุ่งใหญ่นเรศวรแถบอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี 

    ภาพโดย ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  •   การแข่งขันยิงหน้าไม้ของอาข่า

    การแข่งขันยิงหน้าไม้ในเทศกาลโล้ชิงช้าของอาข่า ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ที่บ้านสามแยกอีก้อ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
 
  บทความชาติพันธุ์

วัฒนธรรมอาหารของชาวทวายพลัดถิ่น
โพสเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2563 14:34 น.
 

ชาวทวายได้ข้ามแดนเข้าสู่ประเทศไทยด้วยเหตุผลนานับประการตามบริบทของสังคมแต่ละช่วงสมัย ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นสมัยรัชกาลที่ 1 ถึง 3 สงครามระหว่างรัฐจารีตของราชสำนักสยามกับอังวะคือชนวนเหตุสำคัญของการกวาดต้อนผู้คน และสวามิภักดิ์ของบรรดาผู้นำจากทวาย ทำให้พลเมืองในบางกอกเพิ่มขึ้นพร้อมกับความเป็นพหุสังคมของสยาม

อ่านรายละเอียด >>

วัฒนธรรมอาหารของชาวมุสลิมไทยเชื้อสายยะวา (ชวา)
โพสเมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2562 15:32 น.
 

ชาวไทยมุสลิมเชื้อสายยะวา (ชวา) ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายของชาวมุสลิมในประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นกรุงเทพมหานครซึ่งมีชุมชนไทยชาวมุสลิมเชื้อสายยะวาตั้งอยู่หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ ชุมชนมัสยิดยะวา เขตสาทร, ชุมชนมัสยิดบ้านอู่ เขตบางรัก, ชุมชนมัสยิดบาหยัน (เขตยานนาวา) และ ชุมชนมัสยิดอินโดนีเซีย (ซอยโปโล) เขตปทุมวัน นอกจากนี้ยังมีชุมชนอื่น ๆ ที่ชาวยะวาเข้าไปมีส่วนร่วมและอาศัยอยู่ หรือขยับขยายตัวไปยังที่ต่าง ๆ ตามพัฒนาการของความเป็นเมืองกรุงเทพมหานคร แม้ว่าปัจจุบันชาวมุสลิมเชื้อสายยะวาจะมีจำนวนน้อย แต่อัตลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของชาวยะวาที่ยังตกทอดจนถึงปัจจุบันก็คือ อาหารยะวา ซึ่งยังคงสืบทอดกันรุ่นต่อรุ่นตั้งแต่ครั้งอดีตจนถึงทุกวันนี้

อ่านรายละเอียด >>

วัฒนธรรมอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์จีนฮกจิว (Hockchiu) ในสังคมไทย
โพสเมื่อวันที่ 06 ส.ค. 2562 09:52 น.
 

ลักษณะเด่นของอาหารจีนฮกจิวเน้นการใช้วัตถุดิบสดจากทะเล น้ำซุปรสกลมกล่อม เน้นรสเค็มและเปรี้ยว อนึ่ง ชุมชนชาวจีนฮกจิวในพื้นที่นาบอน มีการประยุกต์การปรุงอาหารปรับเปลี่ยนตามวัฒนธรรมพื้นที่ภาคใต้ของไทย ทำให้อาหารจีนฮกจิวในดินแดนโพ้นทะเลแห่งนี้เน้นความเข้มข้นจากรสชาติเค็มและเผ็ดตามแบบฉบับของการรับรสชาติอาหารของคนใต้

อ่านรายละเอียด >>

หกปี มติ ครม.สามสิงหา สองห้าห้าสาม: ความท้าทายของการยกระดับวีถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง
โพสเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2561 14:40 น.
 

หกปีของการประกาศ มติ ครม. ว่าด้วยการฟื้นฟูวิถีชีวิตกะเหรี่ยง เก็บความจาก เวทีถอดบทเรียนปฏิบัติการเขตพื้นที่วัฒนธรรมพิเศษด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและไร่หมุนเวียนระดับนโยบายและสาธารณะตามมติ ครม. 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อ่านรายละเอียด >>

เมื่อไร่หมุนเวียน หมุนมาถึงตัวฉัน
โพสเมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2561 10:47 น.
 

จากวาทกรรม “ชาวเขาไม่ดีทำไร่เลื่อนลอย ตัดไม้ทำลายป่า” สู่การจัดการพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษ ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและไร่หมุนเวียนของกะเหรี่ยง ระดับนโยบายและสาธารณะตามมติ ครม. 3 สิงหาคม 2553

อ่านรายละเอียด >>

หัวใจสำคัญของวิถีชีวิตวัฒนธรรมกะเหรี่ยง และคุณูปการของการเกษตรแบบไร่หมุนเวียน
โพสเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2560 09:54 น.
 

หัวใจสำคัญของวิถีชีวิตวัฒนธรรมกะเหรี่ยง และคุณูปการของการเกษตรแบบไร่หมุนเวียน โพสเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2560 น. การทำความเข้าใจกับวิถีชีวิตกะเหรี่ยงนั้น จำต้องทำความเข้าใจเรื่องเพาะปลูกแบบไร่หมุนเวียนของชาวกะเหรี่ยง การทำไร่หมุนเวียนนี้ได้ถูกหยิบยกนำถกเถียงระหว่างรัฐบาลกับชาวกะเหรี่ยงเพราะรัฐมองว่าการทำไร่หมุนเวียนเป็นการทำลายป่า ส่วนกะเหรี่ยงอธิบายว่า การทำไร่หมุนเวียนเป็นการเกษตรกรรมที่สองคล้องกับการดำรงชีวิตอยู่ของป่า ทำให้ป่ากลับฟื้นคืนมาได้และเป็นระบบการเกษตรกรรมที่ทำให้ชุมชนพึ่งตนเอง ซึ่งในปัจจุบันนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น เกษตรศาสตร์ วนศาสตร์ นิเวศวิทยา และมานุษยวิทยานิเวศ ต่างก็ยอมรับในความสำคัญในเชิงนิเวศของการทำไร่หมุนเวียน

อ่านรายละเอียด >>

รายงานสรุปผลการเข้าร่วมประชุม พัฒนาความร่วมมือด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม กลุ่มชาติพันธุ์ ชายขอบ และแรงงานข้ามชาติ
โพสเมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2559 11:04 น.
 



อ่านรายละเอียด >>

รายงานสรุปผลการเข้าร่วมประชุมสัมมนาวิชาการ เรื่อง “วิถีชาติพันธุ์ในอีสาน : ‘ภาวการณ์กลายเป็น’ ในกระแสการเปลี่ยนแปลงสู่เสรีนิยมสมัยใหม่”
โพสเมื่อวันที่ 04 พ.ค. 2559 09:37 น.
 



อ่านรายละเอียด >>

ชีวิตมลาบรี-มานิ กับ ''ป่า'' ที่เปลี่ยนไป
โพสเมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2558 13:36 น.
 



อ่านรายละเอียด >>

การขายบริการทางเพศที่ชายแดนเวียดนาม
โพสเมื่อวันที่ 21 เม.ย 2558 09:56 น.
 



อ่านรายละเอียด >>

 

ฐานข้อมูลอื่นๆของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
  ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย
จารึกในประเทศไทย
จดหมายเหตุทางมานุษยวิทยา
แหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย
หนังสือเก่าชาวสยาม
ข่าวมานุษยวิทยา
ICH Learning Resources
ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย
ฐานข้อมูลประเพณีท้องถิ่นในประเทศไทย
ฐานข้อมูลสังคม - วัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  หน้าหลัก
งานวิจัยชาติพันธุ์ในประเทศไทย
บทความชาติพันธุ์
ข่าวชาติพันธุ์
เครือข่ายชาติพันธุ์
เกี่ยวกับเรา
เมนูหลักภายในเว็บไซต์
  ข้อมูลโครงการ
ทีมงาน
ติดต่อเรา
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ช่วยเหลือ
  กฏกติกาและมารยาท
แบบสอบถาม
คำถามที่พบบ่อย


ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เลขที่ 20 ถนนบรมราชชนนี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 
Tel. +66 2 8809429 | Fax. +66 2 8809332 | E-mail. webmaster@sac.or.th 
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2549    |   เงื่อนไขและข้อตกลง