มานุษยวิทยากายภาพในประเทศไทย

รวบรวมข้อมูลด้านมานุษยวิทยากายภาพของคนในอดีต ที่นักมานุษยวิทยากายภาพ แพทย์ นักโบราณคดี รวมถึงนักวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงกระดูกมนุษย์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย และตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ

OSTEOMETRIC ASSESSMENT OF 20TH CENTURY SKELETONS FROM THAILAND AND HONG KONG

ชื่อเรื่อง
OSTEOMETRIC ASSESSMENT OF 20TH CENTURY SKELETONS FROM THAILAND AND HONG KONG
ผู้แต่ง
คริสโตเฟอร์ คิง
ประเภทเอกสารวิชาการ
วิทยานิพนธ์
ภาษา
อังกฤษ
ตำแหน่งของเอกสาร
ปี
1997
วันที่
เผยแพร่
วิทยาลัยศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ชมิดท์ มหาวิทยาลัยฟลอริดาแอตแลนติก
หัวเรื่อง
บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เปรียบเทียบสัณฐานหรือลักษณะทางกายภาพของประชากร จากการวัดขนาดทั้งกะโหลกศีรษะบนและชิ้นส่วนกระดูกใต้กะโหลกศีรษะ ตามระเบียบวิธีสากลที่ใช้ในงานนิติมานุษยวิทยา โดยใช้กลุ่มตัวอย่างโครงกระดูกคนไทยปัจจุบัน จำนวน 104 โครง ในความดูแลของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และตัวอย่างคนจีนฮ่องกงปัจจุบัน จำนวน 94 โครง ของโรงพยาบาลทันตกรรมพรินซ์ฟิลลิปป์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮ่องกง

วัตถุประสงค์เพื่อตอบคำถามสองประการคือ 1) ความแปรปรวนของลักษณะกายภาพที่ระหว่างกลุ่มประชากรปัจจุบันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไทย) และเอเชียตะวันออก (จีนฮ่องกง) และ 2) ลักษณะความแตกต่างทางเพศภายในกลุ่มประชากร และระหว่างกลุ่มประชากร

ผลการศึกษาพบว่าความแตกต่างทางกายกายภาพระหว่างกลุ่มคนไทยและฮ่องกงทั้งรูปทรงของกะโหลกศีระบน ความยาวของใบหน้า ความกว้างของเบ้าตา และสัณฐานของกระดูกขากรรไกรล่าง คนฮ่องกงมีความยาวของช่วงปลายแขน ขา และความยาวรวมของกระดูกรยางค์มากกว่าคนไทยที่มีขนาดของศีรษะที่ใหญ่กว่า คนไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปัจจุบัน เช่นเดียวกับคนฮ่องกงที่มีลักษณะใกล้เคียงกับคนปัจจุบันในเอเชียตะวันออก

ลักษณะความแตกต่างระหว่างเพศพบคนฮ่องกงทั้งเพศชายและเพศหญิงมีขนาดกระดูกที่ใหญ่กว่าคนไทยทั้งสองเพศ แต่ปรากฏความแตกต่างระหว่างเพศภายในกลุ่มประชากรน้อยกว่าในกลุ่มประชากรไทย เมื่อนำผลการวัดที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติด้วยการจำแนกตัวแปร (stepwise discriminant function) พบว่าการวัดกระดูกต้นแขนและกระดูกต้นขาสามารถใช้จำแนกเพศภายในกลุ่มตัวอย่างคนไทยได้แม่นยำ ร้อยละ 94-96