• โครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 2 Pergaduhan Teman | Friendly Quarrel

     

     

    ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้  โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)   

    Written on Friday, 18 January 2019 10:39 in กิจกรรมล่าสุด Read 1475 times Read more...
Wednesday, 18 September 2013 20:57

Le fardeau et la provende

เป็นเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ชาวบ้าน Salmé ในประเทศเนปาล มีชีวิตอยู่ด้วยการทำฟาร์มบริเวณเชิงเขาที่ซึ่งมีพืชพรรณที่เติบโตแตกต่าง กันไปที่ระดับความสูงที่แตกต่างกัน พบเห็นชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาได้จากภาพยนตร์เรื่องนี้

The villagers of Salmé, in Nepal, farm a mountainside where different cereals are grown at different altitudes.

Wednesday, 18 September 2013 20:56

Ma-Gcig-la mere

รายละเอียดของงานหัตถกรรมของผ้าทังกาซึ่งเป็นภาพวาดบนผ้าใบที่แสดงถึงสิ่งศักดิ์ในประเทศเนปาล

Description of the crafting of a tan-ka, a painting on canvas representing a divinity in Nepal.

Wednesday, 18 September 2013 20:55

Un peupel en quest de merites

เป็นเรื่องของพุทธศาสนา และประเพณีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ได้แก่ การบวช การเข้าวัดทำบุญ และกิจปฏิบัติของผู้คนในพุทธศาสนา ทั้งพระสงฆ์ แม่ชี ฆราวาส ในแต่ละเทศกาล รวมทั้งการละเล่น เช่นสงกรานต์ อันแสดงให้เห็นถึงความเหนียวแ่น่นและศรัทธาในพุทธศาสนา ผู้คนจำนวนมากจะมาร่วมชุมนุมในงานบุญแต่ละเทศกาล บางอย่างก็มีความละม้ายคล้ายคลึงกับในประเทศไทย

 

Wednesday, 18 September 2013 20:54

Karsha

Karsha เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ตั้งอยู่บนที่ราบสูงของเทือกเขาหิมาลัยที่ความสูง 4,000 เมตร (ในหุบเขาของจังหวัด Zanskar ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย), ชีวิตของผู้คนบนที่สูงเหล่านี้ต้องผจญกับฤดูหนาวที่ยาวนานถึงแปดเดือน รัฐบาลอินเดียจะทำการก่อสร้างถนนเข้ามาตามแนวแม่น้ำผ่านหุบมายังหมู่บ้าน ชื่อถนน Chaddar road เพื่อให้ผู้คนในหมู่บ้าน Karsha ไม่ได้ถูกทอดทิ้งให้โดดเดี่ยวต่อไป เดิมผู้คนในหมู่บ้านนี้ใช้ชีวิตด้วยความสุขและสงบเดินไปตามวิถีความเป็นอยู่ ที่ควรจะเป็น ผู้ชายจะทำการจักสานและถักทอ ผู้หญิงเตรียมเสบียงและเชื้อเพลิงก่อนที่ฤดูหนาวจะมา เด็กๆนำปุ๋ยไปใส่ต้นไม้ ...ทั้งหมดนี้จะยังคงอยู่หรือไม่ยังไม่รู้เมื่อมีถนนตัดเข้ามา มีการจัดพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อปกป้องหมู่บ้านก่อนฤดูหนาวจะมาถึง รวมทั้งกิจกรรมอื่น ๆ เช่นงานแต่งงาน และงานศพ ก่อนที่ความหนาวเย็นจะเข้ามาเช่นกัน และในช่วงที่ความหนาวเย็นเข้ามาก็เป็นสัญญาณแห่งการเฉลิมฉลองครบรอบ 1 ปี ซึ่งเป็นการเริ่มต้นเดินทางค้าขายที่แสนอันตรายประมาณ 7 วันไปยังกรุง Laddak ของทิเบต ชีวิตของพวกเขาก็จะเป็นอย่างไรไม่ทราบได้เมื่อถนนถูกตัดผ่านเข้ามา

Wednesday, 18 September 2013 20:53

Mangayaw

ในเดือนธันวาคมของแต่ละปีที่หมู่บ้านกลุ่มชาติพันธุ์ Puyuma ที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไต้หวันจะมีงานเฉลิมฉลองพิธีทางศาสนา เรียกว่า Mangayaw พิธีนี้จัดขึ้นเพื่อยืนยันความเป็นเอกภาพทางสังคมและการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในหมู่บ้าน เป็นพิธีกรรมของสังคมโดยรวม พิธีทางศาสนาจัดอย่างต่อเนื่องโดยมีถึงแปดพิธีกรรมด้วยกันในช่วงเวลาสิบวัน โดยในวันแรกของงานผู้คนจะมาช่วยกันซ่อมแซมที่พัก ซุ้มประตูของสถานที่ในหมู่บ้านเพื่อความบริสุทธิ์ มีการอันเชิญผีหรือสิ่งศักสิทธิ์ที่เป็นผู้ปกครองหมู่บ้าน มีการจัดเตรียมข้าวปลาอาหารและ ในพิธีกรรมมีการจัดเตรียมเครื่องมือที่เปรียบเสมือนการล่าไว้รอบๆหมู่บ้าน เพื่อต้อนรับการกลับมาของพวกเขา พิธีจบลงด้วยการเต้นรำ และหลังจากงานเลี้ยงที่จัดขึ้นก็เหมือนกับสิ้นทุกข์และเป็นการอุทิศให้ บรรพบุรุษ

ภาพยนตร์เรื่องนี้นำเสนอพิธีกรรมที่เรียกว่าซูฟี (Sufi) ของมุสลิมประกอบพิธีขึ้นที่ The Damascus branch of the Rifa'iyya Damascus ประเทศซีเรีย พิธีกรรมนี้มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องลึกลับของผู้ก่อตั้งชื่อ Sheikh Ahmad b. 'Ali Al - Rifa`i (1118-1183) กาหลิบ (Caliph) คนปัจจุบันจะเป็นผู้นำในพิธีดังกล่าว ซึ่งจะจัดให้มีในวันพฤหัสบดีตอนเย็น สมาชิกของ Rifa'iyya จะมาร่วมกันปฏิบัติตามขั้นตอนของพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์เพื่อถวายเกียรติ แด่พระศาสดา การร้องเพลง พร้อมการร่ายรำและท่าทาง จะดำเนินไปพร้อมกันท่ามกลางอำนาจลึกลับเพื่อวิงวอนและขอพรจากพระศาสดา แก่ครอบครัวของเขาและนักบุญ มีการสวดมนต์และทบทวนพระคัมภีร์อัลกุรอาน สลับด้วยดนตรี ซึ่งมีกลองและฉาบ การอ่านของ Surah Ya Sin จากคอลเลกชันของ Rifa'a Dhikr จะตรวจสอบเหมาะสมของการปฏิบัติ สุดท้ายก่อนปิดจะมีการอธิษฐานและให้ศีลให้พร

พิธีกรรมฝังศพเด็กจะเริ่มขึ้นในช่วงก่อนตะวันจะตกดินในบริเวณท้ายบ้าน ร่างของเด็กน้อยถูกวางลงในเปลสนาม สมาชิกในครอบครัวร่วมแสดงความอาลัยครั้งสุดท้ายระหว่างที่นักดนตรีบรรเลง เพลงระหว่างพิธี วัวรุ่นตัวหนึ่งจะถูกผูกโยงเข้ากับร่างของเด็ก จากนั้น เป็นการเลี้ยงอาหารสัตว์มื้อสุดท้ายก่อนที่จะถูกสังเวย เมื่อหลุมที่ใช้ในการฝั่งร่างของเด็กได้รับการขุดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะมีการใช้แผ่นไม้บุโดยรอบผนังหลุม ร่างของเด็กที่อยู่ในโรงไม้จะถูกหย่อนลงในหลุม และมีการโยนไม้ที่ใช้ประกอบพิธีลงในหลุมอีกคำรบหนึ่ง จากนั้น เป็นการใช้ดินกลบปากหลุมและกิ่งไม้สุมทับอีกชั้นหนึ่ง ผู้ที่ร่วมในพิธีจะต้องชำระร่างกายก่อนกลับเข้าหมู่บ้าน

Wednesday, 18 September 2013 17:02

La chasse au lion a l'arc

Jean Rouchได้เดินทางติดตามนักล่าสัตว์ไปยังอาฟริกาตะวันตก กลุ่มนายพรานเตรียมการล่าสิงโตพวกเขาต้องเตรียมลูกธนูอาบยาพิษซึ่งกว่าจะ เตรียมการได้เสร็จก็จะต้องมีพิธีกรรมตามความเชื่อก่อนล่าสัตว์ด้วย นอกจากนี้ยังจะต้องมีเครื่องมืออื่นอีก เช่นกับดัก เมื่อทั้งหมดพร้อมก็เป็นเวลาที่จะออกตามล่าสิงโตกันต่อไป เรื่องราวทั้งหมดเป็นวัฒนธรรมของการล่าที่ปฏิบัติกันมา

Director Jean Roche follows bow hunters in West Africa as they track down lions in this informative documentary. The hunters prepare arrows, poison, and the traps that will catch the king of the beasts before the kill. Before the animal is skinned and eaten, Natives exorcise the soul of the lion. As with any cultural group of hunters, stories of previous hunts and tall tales abound.

Wednesday, 18 September 2013 16:59

Honey hunters of Nepal

หมู่บ้านเล็กๆ ในหุบเขาทาพรัง (Taprang) บ้านของคนเก็บน้ำผึ้งชาวเนปาล เชิญสัมผัสการเดินทางไปเยือนหน้าผาซึ่งมีผึ้งยักษ์อาศัยอยู่ พบผึ้งยักษ์ขนาดใหญ่เป็น 2 เท่าของผึ้งยุโรป พบกับความเชื่อเรื่องโชคลางของนักเก็บน้ำผึ้งชาวเนปาลที่จะไม่เก็บน้ำผึ้งใน วันพระจันทร์เต็มดวง ชมวิธีการเก็บน้ำผึ้งแบบดั้ง เดิมที่มีเพียงแค่บันไดเชือก ตะกร้าและไม้ยาวสำหรับแคะรังผึ้ง ด้วยความสามารถนักเก็บน้ำผึ้งชาวเนปาลไม่ได้สวมชุดป้องกันอะไรเลยในการเก็บ น้ำผึ้ง พบภารกิจเสี่ยงตายและท้าทายในการปีนหน้าผาเพื่อขึ้นไปเก็บน้ำผึ้ง โดยตัดส่วนสีเหลือง ซึ่งเป็นตัวอ่อนของผึ้งออก แล้วค่อยเก็บน้ำผึ้งได้ที่ส่วนบนของรังจากนั้นต้องวางตำแหน่งตะกร้ารองน้ำ ผึ้งให้ได้พอดีจึงจะสามารถทำให้ภาระกิจลุล่วงไปด้วยดี

Wednesday, 18 September 2013 16:29

Seto Matsyendranath

เนื่องในโอกาสปี Seto Matsyendranath ในกรุงกาฐมัณฑุประเทศเนปาลจะมีเทศกาลเฉลิมฉลองของชาวฮินดูโดยจะมีการนำรูป ปั้นของเทพเจ้าออกจากวัดมาแห่แหนไปตามถนนเก่าของกรุงกาฐมัณฑุให้ประชาชนได้ สักการะ

On the occasion of the annual Seto Matsyendranath festival in Katmandu, the statue of a divinity is taken out of the temple to be paraded in the streets of the ancient city.