• โครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 2 Pergaduhan Teman | Friendly Quarrel

     

     

    ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้  โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)   

    Written on Friday, 18 January 2019 10:39 in กิจกรรมล่าสุด Read 1486 times Read more...
Monday, 16 September 2013 09:21

Ten minutes older : the Trumpet

ด้วยการใช้นวัตกรรมการนำเสนอผ่านฟีล์ม ผู้กำกับภาพยนตร์จำนวน 7 คน ได้ใช้เวลาประมาณคนละ 10 นาที ในการนำเสนอผลงานของแต่เอง โดยภาพยนตร์เรื่อง Ten Minutes Older เช่น เรื่อง The Trumpet นำเสนอเรื่องราว ประสบการณ์ของมนุษย์ ได้แก่ การเกิด ความตาย ความรัก เพศ ในช่วงเวลาหนึ่ง ในประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังนำเสนอเรื่องราว ตำนานเก่าแก่จากสถานที่หลากหลายทั้งในป่าของทวีปอเมริกาใต้ไปจนสู่ท้องถนน ของมหานครนิวยอร์ก จนกระทั่งมารวมกันเป็นภาพยนตร์เรื่องนี้ จึงเป็นประสบการณ์ใหม่ที่น่าสนใจและน่าตื่นเต้นสำหรับคอภาพยนตร์

Monday, 16 September 2013 09:00

Taking Pictures

นักสร้างภาพยนตร์ชาวออสเตรเลียที่เป็นที่รู้จัก ไม่ว่าจะเป็น Kildea, O'Rourke และ Connolly/Anderson เป็นกลุ่มนักสร้างภาพยนตร์สารคดีที่ใช้ชีวิตอยู่ในเกาะปาปัวนิวกินี ภาพยนตร์ของพวกเขา เต็มไปด้วยเนื้อหาและมุมมอง ที่บอกเล่าพลังและความยอกย้อนของประเทศที่เปลี่ยนผ่านจากประเทศในอาณานิคม ไปสู่ความเป็นรัฐชาติในโลกสมัยใหม่ แต่เรื่องราวที่ปรากฏนั้นเป็นของใคร? เหล่านักสร้างภาพยนตร์เผชิญปัญหาเกี่ยวกับสิทธิทางวัฒนธรรม และอิทธิพลของชาติตะวันตกในการบอกเล่าเกี่ยวกับชนพื้นถิ่น ภาพยนตร์เรื่อง Taking Pictures จึงจุดประเด็นและชี้ให้เห็นกับดักของการถ่ายทำภาพยนตร์ข้ามวัฒนธรรม รูปแบบของการนำเสนอในภาพยนตร์อาศัยการพูดคุยกับนักสร้างภาพยนตร์ชาวออกสเตร เลีย และเลือกภาพยนตร์สารคดีที่ได้รับรางวัลและทรงอิทธิพล เกี่ยวกับปาปัวนิวกินี

Monday, 16 September 2013 08:48

Whose Is This Song?

Adela Peeva ตามค้นหาต้นกำเนิดที่แท้จริงของทำนองเพลง เธอเดินทางไปในตุรกี กรีซ มาเซโดเนีย อัลบาเนีย บอสเนีย เซอร์เบียร์ และบัลกาเรีย การเดินทางกลับเต็บไปด้วยอารมณ์ที่น่าขบขัน ความสงสัย เรื่องเศร้า และความประหลาดใจของพลเมืองในแต่ละประเทศที่ต่างก็อ้างอิงความเป็นเจ้าของ บทเพลง และบอกเล่าเรื่องราวอันเป็นที่มาของบทเพลงนั้น ทำนองได้รับการดัดแปลงเป็นบทเพลงหลากรูปแบบ ทั้งเพลงรัก บทสวดทางศาสนา บทเพลงปฏิบัติ หรือกระทั่งเพลงมาร์ชของทหารหาญ อารมณ์ที่ทรงพลังและความรู้สึกชาตินิยมที่แข็งกร้าวที่เกิดมาจากเพลงๆ เดียวนั้น บางครั้งดูน่าขบขัน แต่บางครั้งกลับดูน่าหวาดกลัว ในคาบสมุทรที่เป็นไปด้วยความเกลียดชังระหว่างเชื้อชาติและสงคราม จากจุดเริ่มต้นที่ต้องการค้นหาความเป็นมา และบทบาทของทำนองเพลงต่อสังคม ภาพยนตร์เรื่องนี้กลับชี้ให้เห็นรากของความเกลียดชังที่ฝั่งลึกบทดิแดนแห่ง นี้.

Sunday, 15 September 2013 23:26

Daughter From Danang

"ลูกสาวจากดานัง" บอกเล่าเรื่องราวและความเจ็บปวดของของการแยกจากระหว่างแม่และลูกสาว เมื่อ ค.ศ. 1975 อันเป็นช่วงสิ้นสุดสงครามเวียดนาม Mai Thi Kim หญิงสาวชาวเวียดนาม ส่งลูกสาววัย 7 ปีไปสหรัฐอเมริกาตามโครงการช่วยเหลือผู้ลี้ภัย ในนาม "Operation Babylift" ภาพยนตร์ฉายให้เห็นการเดินทางของ Hiep จากเวียดนามสู่พูลัสกี (Pulaski) ในรัฐเทนเนสซี ที่ซึ่งหญิงโสดได้รับเลี้ยงเธอ และให้ชื่อใหม่ว่า ไฮดี (Heidi) ในละแวกบ้านของเธอมีผู้อาศัยเชื้อสายเอเชียจำนวนไม่มากนัก และยังมีความขัดแย้งระหว่างคนผิวขาว-ดำ แม่ใหม่ของเธอพยายามกลบเกลือนความเป็นเวียดนามในตัวเธอ และสร้างให้เธอเป็นสายเลือดอเมริกันแบบเกินร้อย อย่างไรก็ตาม ค.ศ. 1997 ไฮดีตัดสินใจเดินทางไปยังเวียดนามเพื่อตามหาแม่ของเธอ และนี่เองเป็นโอกาสที่ผู้สร้างภาพยนตร์ติดตามเธอในวาระดังกล่าว ทั้งแม่และลูกมีความหวังที่จะได้พบกันอีกครั้ง (...) หลายฉากในดานังนั้นงดงาม และแสดงให้เห็นช่วงเวลาหนึ่งสัปดาห์ที่คนทั้งสองได้พบกัน ในขณะเดียวกัน ผู้ชมจะได้เห็นฉากตอนที่น่าเจ็บปวด ช่องว่างระหว่างวัฒนธรรมของคนทั้งคู่ กลับใหญ่มากกว่าจะคาดเดาได้ ซึ่งดูประหนึ่งว่า ยากที่จะสมานช่องว่างนั้น

Sunday, 15 September 2013 21:07

Margaret Mead: Taking Note

เมื่อมาร์กาเร็ต มี้ด เสียชีวิตเมื่อ ค.ศ. 1978 อาจกล่าวได้ว่า เธอเป็นหนึ่งในนักมานุษยวิทยาชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักมาก ที่สุดคนหนึ่ง ภาพยนตร์ฉายให้เห็นความสัมพันธ์ ระหว่างเรื่องราวส่วนตัวกับคุณูปการทางวิชาการของเธอ โดยอาศัยการสนทนากับเธอก่อนการเสียชีวิต เกี่ยวกับครอบครัวและภาพถ่ายจากการทำงานภาคสนาม นอกจากนี้ การพูดคุยยังเกี่ยวข้องกับเพื่อนพ้อง ครอบครัว และนักศึกษารุ่นต่างๆ Born in 1901 in Philadelphia, Mead เกิดเมื่อ ค.ศ. 1901 เมืองฟิลาเดลเฟีย เธอสนใจมานุษยวิทยาครั้งแรก เมื่อเป็นนักศึกษาที่ Barnard ในขณะนั้น เธอได้รับอิทธิพลอย่างมากจาก Franz Boas และ Ruth Benedict เมื่อ ค.ศ. 1925 เธอตัดสินใจออกเดินทางไปซามัว (Samoa) "ฉันเดินทางไปซามัวตามที่อาจารย์ของฉันบอกให้ออกเดินทางไปยังดินแดนที่มี เรือเข้าเทียบท่าทุกๆ สามสัปดาห์)

Caime ชนพื้นถิ่นชาว Xavante แสดงความเห็นไว้ที่ช่วงเกริ่นนำของวิดีโอเกี่ยวกับมูาบ้านของเขา Pimentel Barbosa ในเมือง Mato Grosso ประเทศบราซิล เขาได้เรียนรู้วิธีใช้กล้องวิดีโอ และเป็นจุดเริ่มต้นของการเก็บภาพเพื่อการบันทึก กล้องของเขามีบทบาททางการศึกษา สำหรับสอนให้คนในหมู่บ้านรู้จักพิธีกรรม และการเดินทางออกล่าสัตว์ ซึ่งไม่ใช่ว่าทุกจะมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม นอกจากนี้ กล้องยังเป็นเครื่องมือในการประเมินตนเอง และบันทึกความทรงจำเพื่ออนุรักษ์ประเพณีสำคัญของชุมชน นอกจากนี้ วิดีโอยังทำหน้าที่สื่อสารสำหรับการพบปะในกลุ่มผู้นำ ซึ่งจัดในพื้นที่อันห่างไกล หรือใช้สำหรับบันทึกความพิลึกพิลันของวัฒนธรรมอื่น เช่นวงดนตรีเฮวี่เมทัลเข้ามาแสดงในหมู่บ้าน บทบาทของเขาในการถ่ายทำวิดีโอของ Caime ทำให้เขามีโอกาสเดินทางและหาประสบการณ์ในวัฒนธรรมอื่น

Caime, a Xavante Indian, comments on the introduction of video documentation to his village, Pimentel Barbosa in Mato Grosso, Brazil. He recalls learning to use video equipment and becoming more selective with the images he chooses to record. His camera fills an educational role, teaching the whole village about ceremonies and hunting trips in which not everyone may participate. It also functions as a tool for self-evaluation, and as a collective memory aid in preserving important traditions. Video can communicate meetings between leaders that take place far away or record the idiosyncrasies of other cultures when a heavy metal band comes to visit the village. His role as a video-maker has allowed Caime to travel and experience other cultures.

Friday, 06 September 2013 15:17

Margaret Mead: Portrait by a Friend

Jean Rouch บันทึกภาพของ Margaret Mead นักมานุษยวิทยา อันเป็นที่ัรักและมุขขำๆ และในฐานะผู้สร้างภาพยนตร์ เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1977 ในวาระที่ Jean Rouch เป็นแขกรับเชิญในงานเทศกาลภาพยนตร์มาร์กรเร็ต มี้ด (Margaret Mead Film Festival) ในฐานะสหายและเพื่อนร่วมงาน Rouch เผยให้เราเห็น reveals ชั่วขณะหนึ่งของ "มี้ดผู้เป็นตำนาน" ในช่วงท้ายๆ ของชีวิต (John Marshall นักสร้างภาพยนตร์สมทบทำหน้าที่เป็นผู้บีันทึกเสียงในครั้งนั้น)

Jean Rouch filmed this loving and humorous portrait of anthropologist and filmmaker Margaret Mead in September 1977 while he was a guest of the first Margaret Mead Film Festival. As both a friend and colleague, Rouch reveals a glimpse of the legendary Mead in her later years. (Fellow filmmaker John Marshall was the sound recordist.)

Friday, 06 September 2013 14:59

Screening Room Series - Documentary Collection

Screening Room เป็นรายการโทรทัศน์ของบอสตัน ที่จัดขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ รายการดังกล่าวเป็นเวทีให้ผู้สร้างภาพยนตร์อิสระนำเสนอผลงานของตนเอง และพูดคุยเกี่ยวกับผลงานทางช่องสถานี ABC-TV Robert Gardner (ผู้สร้างภาพยนตร์เรื่อง Dead Birds, Forest of Bliss) เป็นผู้ดำเนินรายการ ในขณะนั้น ดำรงตำแหน่งประธานคณะวิชาด้านโสตทัศน์และสิ่งแวดล้อมศึกษา และผู้อำนวยการ Carpenter Center for Visual Arts ที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด สารคดีชุด จำนวน 11 แผ่น ประกอบด้วย Les Blank (สี, ความยาว 75 นาที, 1975/2005) - ผลงานของเขาแสดงให้เห็นเรื่องราวเกี่ยวกับดนตรีจากแดนใต้ และหัวข้ออื่นๆ นักประพันธ์ดนตรี Peter Guralnick ร่วมในการเสวนาครั้งนั้น บทสนทนาจะแสดงให้เห็นตัวอย่างงานของเขาจากหลายช่วงเวลา Emile de Antonio (สี, ความยาว 79 นาที, 1973/2005)

Page 2 of 2