• โครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 2 Pergaduhan Teman | Friendly Quarrel

     

     

    ต่อเนื่องจากโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” ปีที่ 1 (2560) เยาวชนได้มีโอกาสทำความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม สำรวจอคติ และภาพเหมารวมที่ส่งผลต่อ ทัศนคติในเชิงลบและการเลือกปฏิบัติที่มีต่อคนที่แตกต่าง รวมทั้งเรียนรู้ผลกระทบของสถานการณ์ความรุนแรงในภาคใต้  โดยเฉพาะในกลุ่มที่นับถือศาสนาต่างกัน ทำให้เปลี่ยนมุมมอง หรือทัศนะด้านลบบางอย่างที่เคยมี และเสริมทักษะให้เยาวชนทั้งด้านทักษะวัฒนธรรมและด้านการสื่อสารสาธารณะ มีส่วนร่วมในการสื่อสารมุมมองของเยาวชนต่อสาธารณะในประเด็นทักษะวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกับความขัดแย้งในภาคใต้ ผ่านกระบวนการการทำหนังสั้น ซึ่งโครงการประกวดฯ ในปีที่ 2 นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคี ได้แก่ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สหภาพยุโรป (EU) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS)   

    Written on Friday, 18 January 2019 10:39 in กิจกรรมล่าสุด Read 1485 times Read more...
Sunday, 15 September 2013 20:49

Full Circle

ในช่วงฤดร้อน ค.ศ. 2001 ภายใต้รัฐบัญญัติการปกป้องสุสานของอเมริกันพื้นถิ่นและการส่งคืนสมบัติ วัฒนธรรม, เสาวิญญาณต้นหนึ่งซึ่งเป็นงานสะสมของพิพิธภัณฑ์พีบอดี้ (Peabody Museum) มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ส่งคืนกลับสู่ชมุชนต้นกำเนิด ชุมชน Tlingit ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐอลัสกา การเดินทางของเสาวิญญาณ เริ่มต้นเมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว ในยุคของการสำรวจแฮริแมน (Harriman Expedition) จากมู่บ้านอันไกลโพ้นของ Gash ที่แคปฟอกซ์ (Cape Fox) การเดินทางในครั้งนี้เริ่มต้นจากเมืองแคมบริดจ์ รัฐแมสซาจูเซทท์ จนถึงเมืองแคทชิงแคน อลัสก้า เป็นสถานที่ซึ่งชุมชนแคป ฟอกซ์ ประกอบพิธีต้แนรับเสาวิญญาณคืนสู่เหย้า

In the summer of 2001, under the Native American Graves Protection and Repatriation Act, a totem pole in the Peabody Museum at Harvard University was returned to its original owners' ancestors, a Tlingit community in Southeast Alaska. The journey of the pole began a hundred years ago when it was removed by the Harriman Expedition from the deserted village of Gash at Cape Fox. The totem pole makes its way from Cambridge, Massachusetts to Ketchikan, Alaska, where the Cape Fox community holds a ceremony to welcome home artifacts taken by the Expedition.

Sunday, 15 September 2013 19:55

Naata (The Bond)

Bhau Korde และ Waqar Khan ผู้เป็นทั้งเพื่อนและนักรณรงค์ ทำงานให้กับคณะกรรมการเพื่อสันติ ใน Dharavi, Mumbai เพื่อรณรงค์การหากทางออกให้กับความขัดแย้ง ด้วยการสร้างและใช้สื่อโสตทัศน์ Korde และ Khan อาศัยใน Dharavi เป็นเวลายาวนาน และเป็นผู้อพยกรุ่นแรกที่เข้ามาในเมืองมุมไบ Dharavi เป็นแหล่งชุมชนแออัดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย มีผู้อยู่อาศัยราวแปดแสนคน Dharavi คือแหล่งเสื่อมโทรม อาชญากรรม และความยากจน และเต็มไปด้วยคนย้ายถิ่นเข้ามาอยู่ในเมือง หากแต่สิทธิ์ที่จะอยู่ในเมืองของพวกเขากลับถูกตั้งคำถามจาก คนเมือง และกลุ่มนักการเมืองฝ่ายขวา อย่างไรก็ตาม เรื่องราวการอพยพของคนเหล่านี้ ได้กลายเป็นพื้นที่ที่มี "คุณ" ต่อเศรษฐกิจในเมือง เป็นแหล่งการขายสินค้านอกระบบขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกิน จนถึงการผลิตสินค้าประเภทหนังสำหรับการส่งออกสู่ตลาดนอกประเทศ

Sunday, 15 September 2013 19:35

Moon Children

Wu Yii-Feng ผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้พลังมหาศาลในการสร้างสรรค์ "Moon Children", ซึ่งเป็นการนำเสนอชีวิต "คนเผือก" ทั้งความเป็นอยู่ การทำงาน และการพักผ่อนในโลกไต้หวั่นสมัยใหม่ "เด็กแห่งจันทร์" เป็นฉายาที่คนอินเดีย San Blas เป็นผู้ขนานาม ในอดีต คนเผือกจะถูกแยกตัวจากสังคม และได้รับการอนุญาตให้ทำงานเฉพาะในช่วงเวลากลางคืนเท่านั้น แม้เมื่่อเวลาเปลี่ยน แต่อคติที่มีต่อพวกเขายังปรากฏอยู่ทั่วไป พวกเขายังคงต้องเผชิญหน้ากับการเลือกปฏิบัติและความทารุณ วู ฉายให้เราตระหนักถึงชีวิตของคนกลุ่มนี้ พวกเขาไม่ได้เพียงแต่ฉลาด แต่ก็มีความสามารถไม่ยิ่งหย่อนกว่าเพื่อนร่วมชาติที่มีผิวเข้มกว่า อย่างไรก็ตาม เหตุที่เมลานินที่อยู่ใต้ผิวหนังอย่างจำกัด และสายตาที่ไม่ดีนัก ยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้พวกเขาถูกกีดกันจากสังคม เราจะตามชีวิตของชายเผือกคนหนึ่งที่แตก่างงาน และทำงานเป็น "หมอนวด" ในขณะนั้น เขาตั้งตารอลูกที่กำลังจะเกิดมา

Sunday, 15 September 2013 19:11

Roma Stories (Japigia GagÌ)

ในเมือง Japigia ตั้งอยู่ปริมณฑลของบาริ ประเทศอิตาลี ชุมชนโรมา (ยิปซี - ชนเร่ร่อน) เผยให้เห็นสถานพักพิงที่ผิดกฏหมายและไร้เสถียรภาพ โบสถ์ท้องถิ่นเปิดให้พวกเขาพักพิงบางส่วน ในขณะที่ ศาลาว่าการของเมืองกลับปฏิเสธความช่วยเหลือเช่นนั้น จากเหตุของโครงการพัฒนาสถานีรถไฟในอนาคต อย่างไรก็ตาม ขณะที่พวกเขายังตกอยู่ในอันตรายทุกขณะด้วยนโยบายของการไล้รื้อ และยังชีพอยู่ได้เพียงการเร่ร่อนของทาน ชุมชนโรมาก็รวมพลังต่อสู้ และแสดงให้เห็นถึงพลังทางสังคมที่มีชีวิตอย่างยิ่ง

In Japigia, a neighborhood in the periphery of Bari, Italy, a small community of Roma (Gypsies) carve out an existence in an illegal, ramshackle encampment. The local church has offered them a piece of land with prefabricated houses, but the town hall is preventing this offer due to their own plans for a future a railway station. Continually in danger of evacuation and making a living primarily by begging for money, the Roma still manage to foster a strong community and lively social atmosphere.

Sunday, 15 September 2013 18:57

Bendum: In the Heart of Mindanao

ภาพยนตร์เรื่องนี้แสดงให้เห็นแผ่นดินเกิด และชีวิตประจำวันของชุมชนคนพื้นถิ่นในเขตพื้นที่สูงของมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ ในหมู่บ้านเล็กๆ ที่ชื่อว่า Bendum ชุมชนในพื้นที่สามารถต่อสู้ เพื่อเข้าควบคุมผืนป่าที่เป็นของบรรพชน ภายหลังจากการทำซุงและการทำลายป่าในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ภาพยนตร์เรื่องนี้เหมาะสำหรับการเรียนการสอนทางมานุษยวิทยาที่เกี่ยวข้องกับ โลกาภิวัตน์ สิ่งแวดล้อมศึกษา และเศรษฐศาสตร์และเอเชียศึกษา

This documentary is about the homeland and daily life of an indigenous tribal community in the tropical uplands of central Mindanao, Philippines. In this small village called Bendum, the local community has successfully struggled, after decades of commercialized logging and deforestation, to gain control over their ancestral lands. Suitable for teaching Anthropology, Globalization, Environmental Studies, Economics and Asian Studies

ตั้งแต่ ค.ศ. 1962 รัฐบาลทหารพม่าเข้าปกครองประเทศ ชีวิตของประชาชนเสื่อมทรามลง แม้จะมีความมั่งคั่งและทรัพยากรเป็นจำนวนมาก แต่ เมื่อ ค.ศ. 1987 สหประชาชาติกลับจัดให้พม่าเป็นประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด การคุกคามสิทธิมนุษยชนกลับยิ่งเด่นชัด ประชากรนับแสนต้องจากบ้านของตนเอง มาอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยตามชายแดนประเทศไทยและพม่า และคนอีกนับแสนต้องซ่อนตัวอยู่ในป่า พวกเขาคืนคนกะเหรี่ยง กลุ่มชนที่ใหญ่ที่สุดในพม่า ภาพยนตร์เรื่องนี้กล่าวถึงการต่อสู้ พันตรี แม่รี่ ออน วัย 70 ปี และการต่อสูของผู้คนของเธอ เพื่อการกำหนดชะตากรรมของตนเอง แมรี่บอกเล่าถึงหนทางการต่อสู้เืพื่อความอยู่รอด จุดประสงค์ของรัฐบาลทหารคือ “การประหัตถ์ประหารให้กลุ่มกะเหรี่ยงหมดสิ้น และคุณจะได้เห็นพวกเขาเพียงในพิพิธภัณฑ์ หรือในรูปถ่ายเท่านั้น" การบอกเล่าเรื่องที่อย่างทรงพลังของเธอนี้ จะแสดงให้เห็นคู่กันไปกับภาพหายาก และมุมต่างๆ ในค่ายอพยพที่แอบถ่ายทำไว้

Since 1962, Burma has been ruled by a military junta. Life has deteriorated markedly for its citizens. Despite its former prosperity and its rich resources, it was voted least developed nation by the UN in 1987,

Friday, 23 August 2013 08:50

Dead Birds

"ภาพยนตร์เกี่ยวข้องกับชนเผ่า Dani ที่อาศัยในหุบเขา Baliem ในบริเวณเทือกเขาทางไอเรียนตะวันตก เมื่อผม (โรเบิร์ต การ์ดเนอร์) ถ่ายภาพยนตร์เรื่องนี้ เมื่อ ค.ศ. 1961 ชน Dani ยังคงแบบแผนวัฒนธรรมในแบบกลุ่มชนยุคหินใหม่ พวกเขายังให้คุณค่าตามระบบสงครามและการแก้แค้นระหว่างเผ่า กลุ่มที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงกับโคตรตระกูลของ Dani อันเป็นพื้นที่ที่ไม่มีการเพาะปลูก เข้าร่วมสงครามบ่อยครั้ง เมื่อนักรบคนหนึ่งตายในสนามรบ หรือตายจากบาดแผล หรือกระทั่งเด็กและผู้หญิงที่สูญเสียชีวิตจากการรุกรานของศัตรู ผู้กำชัยชนะจะเฉลิมฉลอง และผู้พ่ายแพ้จะไว้อาลัย เพราะการตายแต่ละครั้ง คือการล้างแค้น ความสมดุลจะเกิดขึ้นเมื่อวิญญาณที่ทนทุกข์จากการตาย และบรรดาจากการฆาตกรรมจะพึงใจเมื่อได้ล้างผลาญวิญญาณของศัตรู ในโลกของ Dani ไม่มีความคิดว่าสงครามจะจบลงเมื่อไร นอกจากว่า ฝนตกหรือฟ้านั่้นมืดค่ำลง หากปราศจากสงคราม ก็ไม่มีทางที่จะทำให้ผีเหล่านั้นพอใจ"

Page 2 of 2